รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

3. ร้อยละของทะเบียนความเสี่ยง (Risk Register) ของกรุงเทพมหานครที่ได้รับการปฏิบัติตามแผน : 0407-958

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 70

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 95.52

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
85
85 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
95.52
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างวางแผนการดำเนินการตรวจประเมินความมีประสิทธิผลของทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างวางแผนการดำเนินการตรวจประเมินความมีประสิทธิผลของทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างการรวบรวมผลการประเมินความเสี่ยงจากหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เพื่อจัดทำแผนการตรวจประเมินความมีประสิทธิผลของทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการสอบทานการควบคุมความเสี่ยงตามทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานครในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพิ่มเติมอีก 6 ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม แผ่นดินไหว การก่อการร้าย ความขัดแย้งของคนในชาติ การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ และทรัพยากรบุคคล

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร (Risk Register) ประกอบด้วย ความเสี่ยงที่สำคัญของเมือง จำนวน 13 ความเสี่ยง และมีประเด็นการควบคุมหรือการจัดการความเสี่ยงที่ระบุไว้ทั้งหมด จำนวน 514 ประเด็น การประเมินประสิทธิผลของการควบคุมหรือการจัดการความเสี่ยง คือ การที่สำนักงานตรวจสอบภายในใช้เครื่องมือ คือ แบบ Checklist ในการประเมินผลการปฏิบัติตามการควบคุมที่กำหนดไว้ในทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร โดยให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละความเสี่ยงประเมินตนเองในเบื้องต้น และผู้ตรวจสอบภายในจะเข้าไปตรวจสอบหรือพิจารณาข้อมูลหรือหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่าหน่วยงานผู้รับผิดชอบได้ปฏิบัติตามการควบคุมที่กำหนดไว้จริง โดยผลสำเร็จของการประเมิน สำนักงานตรวจสอบภายในจะพิจารณาเฉพาะประเด็นการควบคุมที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินการเปรียบเทียบกับประเด็นการควบคุมทั้งหมดของทุกความเสี่ยง ทั้งนี้ สำนักงานตรวจสอบภายในจะนับรวมประเด็นการควบคุมที่ได้ประเมินไว้แล้ว ในแต่ละปีและมีผลการปฏิบัติจริง นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2564 (ปัจจุบัน) โดยนับเป็นยอดสะสม

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนประเด็นตามแผนการจัดการหรือควบคุมความเสี่ยงของทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร (Risk Register) ที่ได้รับการประเมินและมีผลการดำเนินการตามการควบคุมที่กำหนด คูณ 100 หารด้วย จำนวนประเด็นตามแผนการจัดการหรือควบคุมความเสี่ยงที่ระบุไว้ในทะเบียนความเสี่ยงฯ ทั้งหมด (จำนวน 514 ประเด็น)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. ทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร (แสดงประเด็นการจัดการหรือควบคุมความเสี่ยงทั้งหมด) 2. Checklist แสดงผลการประเมินตนเองหรือหลักฐานของการปฏิบัติตามประเด็นการควบคุมหรือจัดการความเสี่ยงในทะเบียนความเสี่ยงที่กำหนดไว้ หรือรายงานผลการตรวจประเมินความมีประสิทธิผลของการจัดการหรือควบคุมความเสี่ยงตามทะเบียนความเสี่ยงฯ ที่ผู้ตรวจสอบภายในได้ตรวจประเมินและรายงานให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณา

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ%
:๗.๔.๑.๔ ปรับปรุงมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านการเงินการบัญชี และการตรวจสอบ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง