รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

2. ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนา Coach,Mentoring : 0409-0947

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
95
95 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
5.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย และจัดทำแบบประเมินการฝึกอบรม

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินการจัดเตรียมโครงการ และประสานวิทยากรกลุ่มเป้าหมายกำหนดเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ และประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ – ชำนาญการพิเศษ ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน - อาวุโส สังกัดสำนัก สำนักงานเขต และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัด-กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการจัดทำคำลั่งผู้เข้ารับการฝึกอบรม

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการฝึกอบรมรุ่นที่ 1 เสร็จสิ้นแล้ว - ระดับผลผลิต ร้อยละ 91.67 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามคำสั่งฯ ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรที่กำหนด โดยมีผลการประเมินฯ ภายหลังการฝึกอบรม(Post-test)สูงกว่า(Pre-test) จำนวน 33 คน - ระดับผลลัพธ์ อยู่ระหว่างการติดตามผลการใช้ทักษะ Coaching&Mentoring ของผู้ผ่านการฝึกอบรม และแบบติดตามผลประเมิน (สำหรับผู้ได้รับการ Coach/Mentor) อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการฝึกอบรม รุ่นที่ 2 และ 3

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ผลสำเร็จระดับ 5 คะแนนรวม 15 คะแนน ระดับความสำเร็จที่ 1 ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการประเมินทักษะ Coaching/Mentoring ก่อนเข้ารับการฝึกอบรม (Pre-test) ระดับความสำเร็จที่ 2 มีการนำผลการประเมินฯ ก่อนการฝึกอบรม (Pre-test) มาออกแบบกิจกรรมการพัฒนาตามหลักสูตร ระดับความสำเร็จที่ 3 ร้อยละ 93.59 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามคำสั่งฯ ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรที่กำหนด โดยมีผลการประเมินฯ ภายหลังการฝึกอบรม (Post-test) สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม (Pre-test) ระดับความสำเร็จที่ 4 ร้อยละ 96.15 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถทำหน้าที่ Coach/Mentor ในหน่วยงานได้โดยระบุผู้ได้รับการ Coaching/Mentoring ระดับความสำเร็จที่ 5 ร้อยละ 100 ของผู้ได้รับการ Coaching/Mentoring ประเมินตนเองว่ามีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานดีขึ้น หลังจากที่ได้รับการ Coaching/Mentoring

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม ความสำเร็จของการพัฒนา Coach, Mentor หมายถึง การพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ให้มีความรู้และทักษะการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน โดยใช้ทักษะการสอนงาน (Coach) หรือพี่เลี้ยง (Mentor)โดยแบ่งความสำเร็จ เป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1. มีการประเมินทักษะการสอนงานหรือพี่เลี้ยงก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (Pre-test) ระดับที่ 2. มีการนำผลการประเมินฯ ก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม(Pre-test)มาออกแบบกิจกรรมการพัฒนาตามหลักสูตรฯ ระดับที่ 3. ดำเนินการพัฒนาตามหลักสูตรที่กำหนด โดยมีผลการประเมินฯ ภายหลังการเข้ารับการฝึกอบรม (Post-test) ดีขึ้น/สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม (Pre-test) ระดับที่ 4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถทำหน้าที่ Coach/Mentor ในหน่วยงานได้ โดยต้องระบุผู้ได้รับการสอนงาน(Coachee) ระดับที่ 5. ผู้ได้รับการสอนงาน (Coachee)ประเมินตนเองว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการทำงานดีขึ้น หลังจากที่ได้รับการสอนงาน(Coach)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ค่าเป้าหมายระดับ 5 วิธีการคำนวณ - ความสำเร็จระดับที่ 1 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 20 (3คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 40 (6คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 60 (9คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3+4 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 80 (12คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3+4+5คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 100 (15คะแนน)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

หลักฐาน 1. สรุปผลประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนการฝึกอบรม(Pretest) และหลังการฝึกอบรม(Post-test) 2. หลักสูตรการฝึกอบรม 3. เอกสารการดำเนินการฝึกอบรมต่าง ๆ 4. แบบประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อประเมินว่าสามารถทำหน้าที่ Coach ในหน่วยงานได้ 5. แบบประเมินตนเองของผู้ที่ได้รับการสอนงาน (Coachee)ว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง