รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

จำนวนโลหิตที่ได้รับจากการบริจาค (โครงการบริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) (ผลผลิต) : 0700-0802

ค่าเป้าหมาย ยูนิต : 6800

ผลงานที่ทำได้ ยูนิต : 9

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ยูนิต)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
4.00
100
100 / 100
2
6.00
100
100 / 100
3
8.00
0
0 / 0
4
9.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รพ.ในสังกัดสำนักการแพทย์ 4 แห่ง (รพก. รพต. รพจ. และ รพส.) ดำเนินการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และดำเนินการรับบริจาคโลหิตในโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.62 – 30 พ.ย. 62 ได้จำนวนผู้บริจาคโลหิตแล้วทั้งสิ้น 4,438 ยูนิต คิดเป็นร้อยละ 65.26

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-สำนักการแพทย์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูล และเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ขาดแคลนโลหิตขึ้น ประกอบกับเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิต โดยเชิญชวนบุคลากรกรุงเทพมหานครและประชาชนที่มีสุขภาพดีร่วมทำความดี บริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล และให้การบริจาคโลหิตเป็นกิจกรรมหนึ่งในการทำความดีด้วยหัวใจ โดยมีจำนวน ผู้บริจาคโลหิตแล้วทั้งสิ้น 6,636 ยูนิต คิดเป็นร้อยละ 96.17

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-สำนักการแพทย์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูล และเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ขาดแคลนโลหิตขึ้น ประกอบกับเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิต โดยเชิญชวนบุคลากรกรุงเทพมหานครและประชาชนที่มีสุขภาพดีร่วมทำความดี บริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล และให้การบริจาคโลหิตเป็นกิจกรรมหนึ่งในการทำความดีด้วยหัวใจ โดยมีจำนวน ผู้บริจาคโลหิตแล้วทั้งสิ้น 8,106 ยูนิต คิดเป็นร้อยละ 117.48

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-เนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ด้วยสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีต่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ประกอบกับในปัจจุบัน ประเทศไทยเกิดภาวการณ์ขาดแคลนโลหิต เนื่องจากจำนวนผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้โลหิตมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งหากปริมาณโลหิตสำรองที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ อาจส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากภาวการณ์ขาดแคลนโลหิตดังกล่าวได้ สำนักการแพทย์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการบริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ดำเนินการโดยโรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และโรงพยาบาลสิรินธร จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตทั้งในและนอกสถานที่ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 – 30 กันยายน 2563 โดยเชิญชวนบุคลากรกรุงเทพมหานครและประชาชนที่มีสุขภาพดีร่วมทำความดี บริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล และให้การบริจาคโลหิตเป็นกิจกรรมหนึ่งในการทำความดีด้วยหัวใจ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักการแพทย์จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตามคำสั่งสำนักการแพทย์ ที่ 354/2562 ลงวันที่ 22 เมษายน 2562 และมีการจัดประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและติดตามผลการดำเนินงาน ซึ่งจากการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 – 31 สิงหาคม 2563 สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง ดำเนินการรับบริจาคโลหิตได้จำนวน 2,277 Unit 2. โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการรับบริจาคโลหิตได้จำนวน 2,102 Unit 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการรับบริจาคโลหิตได้จำนวน 2,554 Unit 4. โรงพยาบาลสิรินธร ดำเนินการรับบริจาคโลหิตได้จำนวน 2,972 Unit รวมได้จำนวนโลหิตทั้งสิ้น 9,905 unit

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

จำนวนโลหิตที่ได้รับจากการบริจาค หมายถึง จำนวนโลหิตนับเป็น unit ที่ได้รับจากผู้ที่สามารถบริจาคโลหิต ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2563

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

นับจำนวน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
:๑.๖.๑.๘ ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง