ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1. สรรหาและประสานผู้รับจ้างเหมาจัดทำสื่อรณรงค์การใช้ห้องน้ำสาธารณะที่ถูกวิธี 2. แต่งตั้งคณะกรรมการจ้างเหมาจัดทำสื่อรณรงค์การใช้ห้องน้ำสาธารณะที่ถูกวิธี
ประสานสำนักงานเขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรรหาห้องน้ำสาธารณะเข้าร่วมการประกวดสุดยอดห้องน้ำแห่งปีของกรุงเทพมหานคร
1. ประสานสำนักงานเขต เพื่อจัดส่งสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำสาธารณะที่ถูกวิธี ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ให้สถานที่กลุ่มเป้าหมาย 12 กลุ่มเป้าหมาย 2. ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ได้อนุมัติงดการจัดกิจกรรมการประกวดสุดยอดห้องน้ำแห่งปีของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ทำให้เจ้าหน้าที่มีภารกิจต้องดำเนินการมากมาย ประกอบกับสถานที่กลุ่มเป้าหมายได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว
ผู้อำนวยการสำนักอนามัยได้อนุมัติงดการตรวจประเมินสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะในสถานที่กลุ่มเป้าหมายประจำปี 2564 แล้ว เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ดังนั้น การดำเนินการตามตัวชี้วัดที่กำหนดตามกิจกรรมดังกล่าวจึงไม่สามารถดำเนินการได้ แต่อย่างไรก็ตามได้ประสานสำนักงานเขตรณรงค์เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะแล้ว งบประมาณที่ได้รับในกิจกรรม จำนวน 472,550 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 199,800 บาท และคืนงบประมาณ จำนวน 272,750 บาท
ห้องน้ำสาธารณะ หมายถึง ห้องน้ำสาธารณะในที่สาธารณะหรือสถานประกอบการหรือสถานบริการที่จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง ห้องน้ำสถานะ จำนวน 12 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศาสนสถาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตลาดสด ร้านอาหาร โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า สถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะ สถานศึกษา สถานีขนส่ง และห้องน้ำริมทางเกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง เกณฑ์มาตรฐานห้องน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
จำนวนห้องน้ำสาธารณะ 12 กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านเกณฑ์ X 100 หาร จำนวนห้องน้ำสาธารณะ 12 กลุ่มเป้าหมาย
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
:๑.๖.๑.๕ สถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูงได้มาตรฐานด้านอาชีวอนามัย |