รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

(New) จำนวนภาคเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือช่องทางที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม (ระดับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย)(สจน) : 1100-0841

ค่าเป้าหมาย บริษัท : 10

ผลงานที่ทำได้ บริษัท : 17

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 95

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(บริษัท)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
2.00
80
80 / 100
3
17.00
95
95 / 100
4
17.00
95
100 / 50

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลครั้งที่ 1 ระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2563 -โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมทุนและลงทุนดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย และ โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารเพื่อของบประมาณจากกองทุนฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

รายงานผลครั้งที่ 2 ระหว่างเดือน ตุลาคม 2563-มีนาคม 2564 -โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมทุนและลงทุนดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย และ โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารเพื่อของบประมาณจากกองทุนฯ -กิจกรรมสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย มีภาคเอกชนและหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมการมีส่วนร่วม จำนวน 2 ราย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

รายงานผลครั้งที่ 3 ระหว่างเดือน ตุลาคม 2563-พฤษภาคม 2564 -โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมทุนและลงทุนดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย อยู่ระหว่างทำหนังสือยืนยันการรับจัดสรรเงินจากกองทุนฯ และปรับปรุงเอกสารที่เกี่ยวข้อง และ โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุน และโครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน อยู่ระหว่างทำหนังสือยืนยันการรับจัดสรรเงินจากกองทุนฯ และปรับปรุงเอกสารที่เกี่ยวข้อง -กิจกรรมสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย มีภาคเอกชนและหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมการมีส่วนร่วม จำนวน 17 ราย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

รายงานผลครั้งที่ 4 ระหว่างเดือน ตุลาคม 2563-สิงหาคม 2564 -โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมทุนและลงทุนดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย อยู่ระหว่างดำเนินการลงนามใน TOR ของคณะกรรมการ และ โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดิน ตามข้อเสนอแนะของ สคร. -กิจกรรมสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย มีภาคเอกชนและหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมการมีส่วนร่วมจำนวน 17 ราย

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ระดับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ - ระดับที่ 1 การให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) หมายถึง ภาคเอกชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครอย่างสม่ำเสมอ - ระดับที่ 2 การให้คำปรึกษาหรือรับฟังความคิดเห็น (To Consult) หมายถึง ภาคเอกชน ได้ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นแก่กรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย - ระดับที่ 3 การเข้าร่วมกิจกรรม (To Involve) หมายถึง ภาคเอกชนได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการหรือร่วมเป็นคณะกรรมการ/คณะทำง่านเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร - ระดับที่ 4 ความร่วมมือ (To Collaborate) หมายถึง ภาคเอกชนร่วมเป็นหุ้นส่วนกับกรุงเทพมหานครในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ด้วยการร่วมลงทุนเป็นผู้ให้บริการ บริหารระบบหรือก่อสร้างงานโยธา - ระดับที่ 5 การให้อำนาจตัดสินใจ (To Empower) หมายถึง ภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย โดยกรุงเทพมหานครเป็นผู้ให้การสนับสนุน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1) หน่วยงานมีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้ภาคเอกชนทราบเป็นประจำทุกไตรมาส คะแนน (ร้อยละ) 20 2) หน่วยงานจัดให้มีช่องทางให้ภาคเอกชนได้แสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลหรือคำปรึกษาในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คะแนน (ร้อยละ) 30 3) หน่วยงานจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับภาคเอกชนหรือให้ภาคเอกชนร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย คะแนน (ร้อยละ) 40 4) หน่วยงานดำเนินการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนหรือเป็นหุ้นส่วนกับกรุงเทพมหานครในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย (เช่น ร่วมลงทุนเป็นผู้ให้บริการ บริหารระบบ หรือก่อสร้างงานโยธา) คะแนน (ร้อยละ) 10

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
:๑.๑.๑.๑ คุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีคุณภาพดีขึ้น

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง