ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 4
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1.แต่งตั้งคณะทำงานฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ย่านคลองโอ่งอ่าง เยาวราชและตลาดน้อย 2.เข้าร่วมประชุมร่วมกับสำนักการโยธา เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 3.ร่วมสำรวจพื้นที่ย่านตลาดน้อยร่วมกับเจ้าหน้าที่ สำนักงานบูรณะ สำนักการโยธา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 4.จัดทำแผนการดำเนินงาน 5.นัดหารือร่วมกับสำนักการโยธาวันที่ 25พ.ย.63 6.แต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ย่านคลองโอ่งอ่าง เยาวราช และตลาดน้อย 7.ทบทวนและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 8.สำรวจ ทบทวนผังแม่บทเดิม 9.อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะอำนวยการ และคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
1.แจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานฯ และเชิญประชุม (คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 456/2564 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564) 2.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อมูลโครงการที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง 3.จัดทำร่างแผนแม่บทตลาดน้อย และพื้นที่ต่อเนื่อง 4.จัดทำร่างแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้านโครงข่ายการสัญจร ด้านมรดกวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม 5.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำร่างแผนผังแม่บท การอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อย และพื้นที่ต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564
1.สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำร่าง แผนผังแม่บทการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อย และพื้นที่ต่อเนื่องเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 2.ประสานงานและหารือหน่วยงานเพื่อร่วม จัดทำร่างแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ผ่านกลุ่มไลน์ (Application Line) เฉพาะด้าน 3.จัดประชุมหารือคณะทำงานย่อยเพื่อจัดทำ การปรับปรุงพัฒนาแผนปฏิบัติการในแต่ละด้าน เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2564 12 พ.ค. 2564 และ 14 พ.ค. 2564 4.รวบรวมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในแต่ละด้าน
1. รวบรวมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในแต่ละด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ประชุมสรุปการจัดทำแผนปฏิบัติการ(Action Plan) ผ่านระบบออนไลน์ 3. จัดทำหนังสือและประสานติดตามข้อเสนอ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แต่ละด้านจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง หนังสือเลขที่ กท 1705/ว916 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 4. ปรับปรุงและรวบรวมข้อสรุปแผนปฏิบัติการ แต่ละด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. จัดทำหนังสือแผนปฏิบัติการและขอเชิญประชุม 6. จัดประชุมพิจารณาแผนปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทาง Zoom Meeting 7.จัดทำหนังสือรายงานปลัดกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ
- ตัวชี้วัดมีลักษณะเป็นตัวชี้วัดบูรณาการ (Integration) และการทำงานร่วมกัน (collaboration) ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกรุงเทพมหานครโดยหน่วยงานดำเนินการตามภารกิจของของตนเองภายในพื้นที่เป้าหมายเดียวกัน - การอนุรักษ์ฟื้นฟู หมายถึง การอนุรักษ์ฟื้นฟูตามรายงานการศึกษาผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่า ทั้งนี้นำร่องโดยใช้ผลการศึกษาการอนุรักษ์ ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่องเป็นกรอบแนวทางการในการดำเนินงาน - พื้นที่เป้าหมาย ขอบเขตพื้นที่การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง ประกอบด้วย พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านตลาดน้อย ย่านทรงวาด และย่านจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ พื้นที่ประมาณ 165 ไร่ (ตามแผนที่แนบท้าย) ทิศเหนือ จดถนนทรงวาด ถนนอนุวงศ์ ถนนมหาจักร ถนนวานิช 1 ถนนทรงวาด ถนนตรีมิตร ถนนเจริญกรุง และถนนพระรามที่ 4 ทิศใต้ จดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออก จดคลองผดุงกรุงเกษม ทิศตะวันตก จดคลองรอบกรุง - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย ๑. สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง - หน่วยงานผู้ศึกษาโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูตามผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าและศึกษาการอนุรักษ์ ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่องเป็นหน่วยงานหลัก จัดกระบวนการบูรณาการเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง - จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ซึ่งเกิดจากการบูรณาการ (Integration) และการทำงานร่วมกัน (collaboration) ระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่เป้าหมาย พร้อมรวบรวมรายละเอียดของโครงการ/กิจกรรมสำคัญจากหน่วยงานรายงานนำเสนอผลต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในการผลักดันการดำเนินการสู่การปฏิบัติผ่านแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570) ต่อไป
พิจารณาจากความสำเร็จของการจัดทำแผนปฏิบัติการซึ่งบูรณาการ (Integration) และมีการทำงานร่วมกัน (collaboration) ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูตามผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่า
1. รายงานผลการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง 2. เอกสารแสดงกระบวนการการบูรณาการ (Integration) และการทำงานร่วมกัน (collaboration) ระหว่างหน่วยงานกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาจัดทำโครงการ/กิจกรรม ๓. ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการบูรณาการเพื่อกำหนดกิจกรรม เช่น แผนที่ ข้อมูลประกอบ เป็นต้น ๔. รายงานผลข้อมูลความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมซึ่งบันทึกไว้ในระบบ digital plan ๕. แผนการบูรณาการ (Integration) และการทำงานร่วมกัน (collaboration) โดยมีรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามภารกิจในส่วนที่รับผิดชอบ นำเรียนปลัดกรุงเทพมหานคร
:ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City |
:๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม |
:๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับ% |
:๔.๑.๑.๑ ส่งเสริมการขยายตัวในการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพตามผังเมือง |