รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชนแออัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 1900-6501

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
75
75 / 0
2
30.00
100
100 / 100
3
60.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ลงนามหนังสือแล้ว เวียนแจ้ง กปก.1-6 แล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดการสำรวจข้อมูลชุมชนแออัด ดำเนินการสำรวจชุมชน และส่งแบบสำรวจข้อมูล ตามแบบ 2 ให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย ในวันที่ 12 มีนาคม 2564 เพื่อสำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย จะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ และจัดระดับความเสี่ยงต่อไป กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1 ส่งแบบสำรวจข้อมูล ตามแบบ 2 เรียบร้อยแล้วครบทั้ง 2 ชุมชน กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 ส่งแบบสำรวจข้อมูล ตามแบบ 2 เรียบร้อยแล้วครบทั้ง 19 ชุมชน กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 3 ส่งแบบสำรวจข้อมูล ตามแบบ 2 เรียบร้อยแล้วครบทั้ง 28 ชุมชน กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 4 ส่งแบบสำรวจข้อมูล ตามแบบ 2 เรียบร้อยแล้วครบ 1 ชุมชน กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 5 ส่งแบบสำรวจข้อมูล ตามแบบ 2 จำนวน 73 ชุมชน จากทั้งหมด 74 ชุมชน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย กลุ่มงานนโยบายและแผน นำแผนที่จะส่งมาวิเคราะห์และจัดลำดับความเส่ยง และได้รับการประสานจากสำนักงานเขตคลองสานว่ามีการยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานครชุมชนแออัดในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว จำนวน 2 ชุมชน คือ ชุมชนซอยเจริญนคร 24/1 แขวงบางลำภูล่าง และชุมชนปากคลองต้นไทร แขวงคลองต้นไทร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหนังสือที่ กท 1802/1786 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 แจ้งให้ กปก. 1-6 จัดทำแผนสำรวจชุมชนแออัดเป้าหมายที่ยังไม่ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยง จำนวน 122 ชุมชน โดยให้ส่งรายชื่อผู้รับผิดชอบในการสำรวจข้อมูล ส่งให้ สยภ. ภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2563 และดำเนินการสำรวจชุมชนแออัดเป้าหมาย โดยกรอกข้อมูลตามแบบที่กำหนด ส่งให้ สยภ. ภายในวันที่ 12 มีนาคม 2564 2. เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัยผู้รับผิดชอบ ดำเนินการสำรวจชุมชนแออัดเป้าหมายตามแผนฯ และส่งแบบสำรวจข้อมูลชุมชนแออัด ตามแบบสำรวจข้อมูลความเสี่ยงให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย เรียบร้อยแล้ว 3. สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย นำแบบสำรวจข้อมูลความเสี่ยง มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประเมินและจัดระดับความเสี่ยงสาธารณภัย จำนวน 122 ชุมชน 4. รายงานการประเมินความเสี่ยงสาธารณภัยในชุมชนแออัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การประเมินความเสี่ยงสาธารณภัย คือ กระบวนการที่นำองค์ประกอบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสาธารณภัยมาพิจารณารวมกัน เพื่อช่วยให้บุคคลชุมชนและสังคมสามารถต่อสู้หรือรับมือกับสาธารณภัยได้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสาธารณภัยที่นำมาพิจารณา ประกอบด้วยโอกาสที่จะเป็นอันตรายผลกระทบและศักยภาพในการป้องกันตอบโต้และบรรเทาช่วยเหลือหากเกิดสาธารณภัย การประเมินและจัดระดับความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการประมาณ ระดับความเสี่ยงของภัยหรืออันตราย เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงและตัดสินใจในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อลดความเสี่ยง ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ผลลัพธ์ของโอกาสที่จะเกิดภัยหรืออันตรายและผลกระทบจากภัยหรืออันตรายโดยคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันตอบโต้และบรรเทาฟื้นฟูจากภัยหรืออันตรายนั้น ๆ ในที่นี้ไม่รวมถึงความเสี่ยงภัยหรืออันตรายที่เกิดจากความตั้งใจหรือจงใจของ บุคคลหนึ่งบุคคลใด ร้อยละความสำเร็จ หมายถึง ร้อยละของจำนวนชุมชนแออัดที่ได้รับการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากสาธารณภัยเทียบกับจำนวนชุมชน แออัดเป้าหมายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สาธารณภัย หมายถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแกทรัพย์สินของประชาชนหรือ ของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และก่อวินาศกรรมด้วย ชุมชนแออัด หมายถึง ชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชน และกรรมการชุมชน พ.ศ. 2555 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กำหนดดำเนินการทั้งหมด 106 ชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนที่ยังไม่ได้รับการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงอัคคีภัยหรือสาธารณภัยจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนชุมชนแออัดที่ได้รับการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากอัคคีภัย หาร จำนวนชุมชนแออัดเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการประเมินความเสี่ยง x 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. จัดทำแบบสำรวจความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชนแออัด 2. หนังสือสั่งการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแบบสำรวจ ความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชนแออัดเป้าหมายที่กำหนด 3. หนังสือประสานงาน / การมอบหมายเจ้าหน้าที่ 4. สรุปภาพรวมการสำรวจชุมชนเป้าหมาย 5. รายงานผลการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยในชุมชนแออัด พร้อมข้อเสนอแนะ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง