รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระยะเวลาเฉลี่ยของการเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามแผนป้องกันอุบัติภัยทางน้ำตามเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนด : 1900-6502

ค่าเป้าหมาย นาที : 5

ผลงานที่ทำได้ นาที : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(นาที)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
7.00
75
75 / 100
2
15.00
100
100 / 100
3
60.00
0
0 / 0
4
5.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างดำเนินการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. ในรอบเดือนที่ผ่านมา ไม่มีเหตุแต่อย่างใด 2. จัดเจ้าหน้าที่พร้อมเรือดับเพลิง ล่องตรวจการณ์ดูแลรักษาความปลอดภัย ตามลำน้ำเจ้าพระยา

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

สรุปเหตุการออกปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนประจำเดือนเมษายน 2564 จำนวน 2 เหตุ 1.เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2654 เวลา 19.53 น. รับแจ้งเหตุชายจะกระโดดสะพานพระราม 8 เจ้าหน้าที่พร้อมเรือดับเพลิงออกปฏิบัติหน้าที่เวลา 19.55 น ถึงที่เกิดเหตุเวลา 19.58 น. กลุ่มเจ้าหน้าที่นักเรียนพยาบาลได้ทำการเกลี่ยกล่อม ปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บวรมงคลนำตัวกลับไปที่ สน.บวรมงคล รอให้ญาติมารับตัว 2.เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 เวลา 23.05 น. รับแจ้ง ญ กระโดดสะพานพระปิ่นเกล้าฯ (กระโดดลงไปแล้ว) เจ้าหน้าที่พร้อมเรือดับเพลิงออกปฏิบัติหน้าที่เวลา 23.07 น. ถึงที่เกิดเหตุเวลา 23.11 น. เรือดับเพลิง เรือกู้ชีพ รพ.วชิระ ร่วมทำการค้นหาประมาณ 30 นาที ไม่พบ 25/05/2564 : รายางยการออกปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 2 เหตุ 1. เมื่อเวันที่ 4 พ.ค.64 เวลา 21.41 น. ได้รับแจ้งว่ามีหญิงขู่ทำร้ายตัวเองจะกระโดดสะพานพระปกเกล้า เจ้าหน้าที่ได้นำเรือดับเพลิงออกปฏิบัติหน้าที่ เวลา 21.45 น. ขณะนำเรือดับเพลิงถึงสะพานพระราม 8 (เวลา 21.49) ได้รับแจ้งจากอาสาสมัครที่ร่วมตรวจสอบบนสะพาน ยืนยันไม่พบ จึงยกเลิกภาระกิจ 2. เมื่อวันที่ 17 พ.ค.64 เวลา 21.16 น. ได้รับแจ้งว่ามีคนกระโดดสะพานพระราม 8 (กระโดดลงไปแล้ว) ลอยคอมุ่งหน้ามาทางท่าเทเวศน์ เจ้าหน้าที่ได้นำเรือดับเพลิงออกปฏิบัติหน้าที่ เวลา 21.17 น. ถึงบริเวณท่าเทียบเรือเทเวศน์เวลา 21.21 น. ทำการค้นหาร่วมกับเรือกู้ชีพวชิระพยาบาล ใช้เวลาค้นหาประมาณ 30 นาที ไม่พบ จึงยกเลิกภาระกิจ 25/06/2564 : สรุปเหตุการออกปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน จำนวน 4 เหตุ 1. เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.64 เหตุคนผลัดตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วสูญหายบริเวณเอเชียทีค ฝั่งพระนคร เจ้าหน้านำเรือดับเพลิงพระนคร ออกไปที่เกิดเหตุเวลา 17.30 น. ถึงเวลา 17.49 น. ใช้เวลาถึงที่เกิดเหตุ 19 นาที ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่อาสาได้ดำเนินการค้นหาใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ไม่พบ จึงยกเลิกการค้นหา 2. เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.64 เวลา 09.56 น. รับแจ้งมีหญิงจะกระโดดสะพานพุทธ เจ้าหน้านำเรือดับเพลิงพระนคร ออกไปที่เกิดเหตุเวลา 09.58 น. ขณะเดินทางไปที่เกิดเหตุรับแจ้งจากเจ้าหน้าที่อาสา ว่ามีพลเมืองดีเข้าทำการช่วยเหลือปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปากคลองสานรับดำเนินการต่อ นำตัวหญิงดังกล่าว กลับ สน. จึงยกเลิกภาระกิจ 3. เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.64 เวลา 23.18 น. รับแจ้งมีชายกระโดดสะพานพระปิ่นเกล้า ลอยคออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าหน้านำเรือดับเพลิงพระนคร ออกไปที่เกิดเหตุเวลา 23.20 น. ถึงเวลา 23.26 น. ใช้เวลาถึงที่เกิดเหตุ 6 นาที ระยะทางประมาณ 2.8 กิโลเมตร ชายดังกล่าวได้กระโดดลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาและได้ว่ายน้ำเข้าฝั่งเอง เจ้าหน้าอาสาพยาบาลเข้าช่วยปฐมพยาบาล และนำส่ง รพ.ศิริราช 4. เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.64 เวลา 14.32 น. รับแจ้งหญิงจะกระโดดสะพานพุทธ ขณะเจ้าหน้านำเรือดับเพลิงพระนคร ออกไปที่เกิดเหตุเวลา 14.33 น ได้รับแจ้งจากอาสาว่ามีพลเมืองดีช่วยเหลือไว้ทัน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปากคลองสาน รับตัวหญิงดังกล่าวไปที่ สน. จึงยกเลิกภาระกิจ และเมื่อเวลา 15.40 น.ของวันเดียวกัน หญิงคนเดิมได้กลับมาจะกระโดดสะพานพุทธ อีกครั้ง แต่มีพลเมืองดีช่วยไว้ทัน ญาติ และเจ้าหน้าที่ สน.ปากคลองสาน ทำการเกลี่ยกล่อม และนำตัวไป สน.

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สรุปเหตุการออกปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน จำนวน 3 เหตุ 1. เมื่อวันที่ 28 ส.ค.64 เวลา 09.27 น.รับแจ้งเหตุจากApplication Line กลุ่มช่วยเหลือฉุกเฉินทางน้ำ เหตุชายพยายามกระโดดสะพานพระราม 8 เจ้าหน้าที่นำเรือดับเพลิงพระนครออกไปที่เกิดเหตุเวลา 09.28 น.ถึงที่เกิดเหตุเวลา 09.31 น. ใช้เวลาเดินทาง 3 นาที พลเมืองดีและเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บวรมงคล ได้เกลี่ยกล่อม และนำตัวกลับ สน.บวรมงคล 2. เมื่อวันที่ 4 ก.ย.64 เวลา 15.49 น.รับแจ้งเหตุจากApplication Line กลุ่มช่วยเหลือฉุกเฉินทางน้ำ เหตุเหตุมีคนกระโดดสะพานพระปกเกล้า (กระโดดลงไปแล้ว) เจ้าหน้าที่นำเรือดับเพลิงดุสิตออกไปที่เกิดเหตุเวลา 15.57 น.ถึงที่เกิดเหตุเวลา 16.03 น. ใช้เวลาเดินทาง 6 นาที เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการพิเศษและกู้ภัยทางน้ำ นำเรือดับเพลิงดุสิต ออกตรวจสอบตั้งแต่งวัดกัลยาณมิตรวรวิหารถึงสะพานพระปกเกล้า ไม่พบ จึงยกเลิกภาระกิจ 3. เมื่อวันที่ 7 ก.ย.64 เวลา 15.18 น.รับแจ้งเหตุจากApplication Line กลุ่มช่วยเหลือฉุกเฉินทางน้ำ เหตุหญิงพยายามกระโดดสะพานพระราม 7 เจ้าหน้าที่นำเรือดับเพลิงดุสิตออกไปที่เกิดเหตุเวลา 15.19 น.ถึงที่เกิดเหตุเวลา 15.25 น. ใช้เวลาเดินทาง 6 นาที 7 เจ้าหน้าที่อาสาสมัครได้ทำการล็อคตัว นำตัวลงจากสะพาน ส่งให่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางกรวย ดำเนินการต่อ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

อุบัติภัยทางน้ำ หมายถึง ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ไม่มีผู้ใดจงใจหรือทำให้เกิดขึ้น ทั้งนี้เป็นอุบัติภัยที่เกิดในแม่น้ำเจ้าพระยาหรือบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แผนป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ หมายถึง การเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาภัยจากอุบัติภัยทางน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นในแม่น้ำ และบริเวณริมฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งในช่วงปกติ และช่วงเฉพาะกิจ สำหรับช่วงเฉพาะกิจ ได้แก่ 1. การเตรียมความพร้อมในช่วงการจัดพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ฯลฯ 2. การเตรียมความพร้อมในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น เทศกาลลอยกระทง ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น การเตรียมความพร้อม หมายถึง การจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะต่าง ๆ รองรับการปฏิบัติงาน เกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนด หมายถึง เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อใช้ออกปฏิบัติหน้าที่ เมื่อได้รับการแจ้งเหตุอุบัติภัยทางน้ำ โดยกำหนดระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับการแจ้งเหตุอุบัติภัยทางน้ำ และออกปฏิบัติหน้าที่ถึงพื้นที่เกิดเหตุภายในระยะเวลาเฉลี่ยไม่เกิน 5 นาที ภายในรัศมีระยะทาง ไม่เกิน 2 กิโลเมตร ดังนี้ 1. นับจากสถานีดับเพลิงและกู้ภัยบวรมงคล ถึง โรงพยาบาลศิริราช 2. นับจากฝ่ายปฏิบัติการพิเศษและกู้ภัยทางน้ำ (สามเสน) ถึง รัฐสภาแห่งใหม่

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ผลรวมของระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุทั้งหมด หารจำนวนครั้งที่เกิดเหตุอุบัติภัยทางน้ำทั้งหมด (ระยะทางไม่เกิน 2 กิโลเมตร)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. ดำเนินการจัดทำแผนป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ 2. เวียนแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงาน 3. คำสั่งมอบหมายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามแผนฯ 4. รายงานการเกิดเหตุและเข้าระงับเหตุผ่านศูนย์วิทยุพระราม 5. สถิติเวลาเข้าระงับเหตุอุบัติภัยทางน้ำ (ระยะเวลาไม่เกิน 2 กิโลเมตร) ตั้งแต่ ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง