ค่าเป้าหมาย ระดับ : 100
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 70
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
การหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ ดังนี้ 1.อาคารโรงจอดเรือวัดสร้อยทอง : ได้รับมอบโอนพื้นที่เรียบร้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างขอความอนุเคราะห์การจัดทำรูปแบบ รายการ การประมาณราคาการปรับปรุงอาคารโรงจอดเรือวัดสร้อยทอง จากสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร 2.พื้นที่บริเวณ ศาลาท่าเทียบเรือเชิงสะพานพุทธยอดฟ้า แขวงวัดกัลยา เขตธนบุรี ขณะนี้ได้ทำหนังสือ ด่วนที่สุดที่ กท 1803/691 ลงวันที่ 7 ธ.ค.63 ถึง กรมเจ้าท่า เรื่องขออนุญาตใช้พื้นที่ดังกล่าว 3.พื้นที่บริเวณ ทางเข้าตลาดยอดพิมาน แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร ขณะนี้ได้ทำหนังสือ ด่วนที่สุดที่ กท 1803/1853 ลงวันที่ 7 ธ.ค.63 ถึง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพระนคร เรื่องขออนุญาตใช้พื้นที่ดังกล่าว 4.พื้นที่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา สุดปลายถนนสวนสาธารณะ ซอยราษฎร์บูรณะ 1 แขวงบางประกอก เขตราษฎร์บูรณะ ขณะนี้ฝ่ายปฏิบัติการพิเศษฯ ได้ทำบันทึกข้อความถึงกลุ่มงานนิติกร สำนักงานเลขานุการ สำนักป้องกันฯ สอบถามแนวทางตามข้อกฎหมายผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตฯ (ซึ่งสำนักงานเขตไม่ขัดข้องในการใช้พื้นที่ แต่สำนักงานเขตไม่มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในทางสาธารณะที่ประชาชนใช้สอยร่วมกัน)
1.พื้นที่บริเวณ ทางเข้าตลาดยอดพิมาน แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร ขณะนี้ได้ทำหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 1803/344 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2564 ถึงผู้อำนวยการเขตพระนคร สอบถามกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณทางเข้าตลาดยอดพิมาน เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการขออนุญาตก่อสรา้งสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำจากกรมเจ้าท่า ต่อไป 2. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 1803/345 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2564 ถึงผู้อำนวยการสำนักการโยธา ขอความอนุเคราะห์ออกแบบ และประมาณราคาก่อสร้าง สถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ จำนวน 2 แห่ง คือ 2.1 ทางเข้าตลาดยอดพิมาน แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร 2.2 สุดปลายถนนสวนสาธารณะ ซอยราษฎร์บูรณะ 1 แขวงบางประกอก เขตราษฎร์บูรณะ
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 1803/345 ลว.15 มี.ค.64 ขอความอนุเคราะห์สำนักการโยธาดำเนินการออกแบบ และประมาณราคางานก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ นั้น สำนักการโยธา ได้มีหนังสือ ที่ กท.0905/อ.788 ลว. 9 มิ.ย. 64 ถึงสำนักป้องกันฯ ขอให้ดำเนินการส่งเอกสารเพิ่มเติมประกอบการออกแบบ รายการ และประมาณราคางานก่อสรา้งสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ ในส่วนของพื้นที่บริเวณทางเข้าตลาดยอดพิมาน เชิงสะพานพุทธฝั่งพระนคร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร ดังนี้ 1. ประสานสำนักงานเขตพระนครออกหนังสือแจ้งไม่ขัดข้องในการใช้พื้นที่ดังกล่าว 2. ประสานกรมเจ้าท่าออกเอกสารเพื่อยืนยันตำแหน่งที่ใช้สำหรับก่อสร้างอาคาร ขนาดพื้นที่ พร้อมรูปแบบจำนวนชั้นที่สามารถก่อสร้างได้ 3. หากดำเนินการแล้ว ขอให้ส่งเอกสารรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ.. 2537) ข้อ 2 (2) ว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
รายงานความคืบหน้าการหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ - เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น. คณะทำงานฯ ได้หารือร่วมกับนายชมชนก ป จันทไทย หัวหน้าฝ่ายโยธา และสถาปนิกเขตพระนคร เกี่ยวกับการออกแบบการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ บริเวณตลาดยอดพิมาน ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพระนคร - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 1803/1050 ลว.23 กันยายน 2564 รายงานผลการดำเนินการของคณะทำงานพิจารณาความเหมาะสมของสถานที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ นำเรียนปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อโปรดทราบต่อไป
คณะทำงาน หมายถึง คณะบุคคลที่สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีคำสั่งแต่งตั้ง และร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะให้ก่อสร้างของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ พื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ หมายถึง พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มต้นจากเขตบางซื่อไปสิ้นสุดที่เขตบางนา ระยะทางรวม 34 กิโลเมตร ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน ที่อนุญาตให้ใช้ได้ แผนการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ หมายถึง แผนการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร โดยเป็นสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำที่เป็นการก่อสร้างใหม่ในแต่ละปีงบประมาณ ระดับความสำเร็จของการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ระดับ 1 คณะทำงานตามคำสั่งที่ได้รับการแต่งตั้ง มีแผนการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ และพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ ระดับ 2 สามารถดำเนินการระดับ 1 ได้สำเร็จ และคณะทำงานจัดประชุม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของสถานที่ก่อสร้างกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง จำนวน 2 แห่ง ระดับ 3 สามารถดำเนินการระดับ 2 ได้สำเร็จ และประสานเจ้าของผู้ถือครองที่ดินในการก่อสร้างสถานี ฯ ระดับ 4 สามารถดำเนินการระดับ 3 ได้สำเร็จ และประชุมหารือร่วมกับ ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในการอนุญาต ให้ใช้พื้นที่ เพื่อก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ ระดับ 5 สามารถดำเนินการระดับ 4 ได้สำเร็จ และสรุปปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงาน พร้อมนำเสนอหัวหน้าหน่วยงาน/ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาสั่งการการใช้ที่ดิน
เทียบผลการดำเนินงานกับเกณฑ์ที่กำหนด
1. คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ 2. แผนการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ 3. หนังสือขอความอนุเคราะห์และอนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้าง 4. รายงานการประชุมคณะทำงานฯ 5. หนังสือสั่งการการใช้ที่ดินจากผู้ว่า กทม. 6. รูปถ่ายประกอบพื้นที่ก่อสร้าง
:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |