ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
มีหนังสือเวียนแจ้งให้ กปก.1-6 ดำเนินการแล้ว
(สืบเนื่องจากการดำเนินการสำรวจชุมชนเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2563) ที่มีความเสี่ยงสูง 10 ลำดับแรก สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหนังสือที่ กท 1802/1786 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 แจ้งให้ กปก. 1-6 โดยให้สถานีดับเพลิงและกู้ภัย ตรวจสอบชุมชนที่มีความเสี่ยงสูง 10 ลำดับแรก จากการดำเนินการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงชุมชนเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ จัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยของชุมชน ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เช่น แผนภาพ ที่ตั้งชุมชน แหล่งน้ำสาธารณะ จุดรวมพล เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน บัญชีรายชื่ออาสาสมัครเฝ้าระวังภัยของชุมชน ขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยของชุมชน ฯลฯ (ตัวอย่างที่ได้เวียนแจ้งไปในหนังสือ) ส่งให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย ภายในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัยในพื้นที่รับผิดชอบดำเนินการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยร่วมกับชุมชน
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหนังสือที่ กท 1802/1786 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 แจ้งให้กองปฏิบัติการดับเพลิง 1-6 ตรวจสอบชุมชนที่มีความเสี่ยงสูง 10 อันดับแรก จากการประเมินความเสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ จัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยชุมชน ส่งให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย ภายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 มีรายละเอียด ดังนี้ 1. กองปฏิบัติการดับเพลิง 4 ส่งแผนเตรียมความพร้อมรับอัคคีภัยของชุมชน ตามเอกสาร ข และ 8 เรียบร้อยแล้ว จำนวน 5 ชุมชน คงเหลือ 1 ชุมชนคือ ชุมชนสันประเสริฐ อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสถานีดับเพลิงหัวหมาก ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเกิดสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 2. กองปฏิบัติการดับเพลิง 6 จำนวน 4 ชุมชน ไม่สามารถดำเนินการได้
ดำเนินการได้ 5 ชุมชน และอีก 5 ชุมชน ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
อัคคีภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากไฟ ไฟไหม้ ในที่นี้ไม่รวมถึงไฟไหม้จากการวางเพลิง ไฟป่า หรือไฟไหม้จากการเผาหญ้า แผนเตรียมความพร้อมรับอัคคีภัย หมายถึง แผนการเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัย ของชุมชน เป็นการให้ชุมชนเกิดความตระหนัก (Public Awareness) และมีส่วนร่วม (Participation) ในการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงจากอัคคีภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบและบูรณาการระหว่างสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเขตและชุมชน ที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงจากอัคคีภัย โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันและการเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยให้กับ ชุมชนที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ จัดตั้งอาสาสมัคร เพื่อ เฝ้าระวัง และมีแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยของตน
จำนวนชุมชนเป้าหมายที่มีแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัย หารด้วยจำนวน ชุมชนแออัดที่ผ่านการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงจากอัคคีภัย คูณ 100
1. สรุปแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยของชุมชน 2. รูปถ่ายการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันและเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยของชุมชน
:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |