ค่าเป้าหมาย 1 ฉบับ : 1
ผลงานที่ทำได้ 1 ฉบับ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลการร่วมกับสำนักการโยธาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร อาทิ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง ออกสำรวจถนนพระราม 1 เพื่่อจัดทำแผนผังต้นแบบทางเท้าสาธารณะให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น มีความปลอดภัยและความสวยงามแก่ประชาชนผู้สัญจร
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลโดยกองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐานได้จัดทำแบบสอบถามในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (survey123) เพื่อสอบถามความต้องการและความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสภาพปัญหาของทางเท้าของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันโดยมีเป้าหมายมากกว่า 400 ผู้ตอบแบบสอบถามขึ้นไป
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ทำการประมวลผลการจัดทำแบบสอบถามในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (survey123) ต่อประชาชน ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนกว่า 1,208 คน เรียบร้อยแล้ว โดยมีประเด็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาของทางเท้าของกรุงเทพมหานคร เช่น สภาพปัญหาของทางเท้าที่เป็นอุปสรรคต่อการสัญจร บริเวณทางเท้าที่เห็นควรให้แก้ไขโดยเร่งด่วน ความต้องการของประชาชนที่มีต่อทางเท้าของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ได้นำเรียนผู้บังคับบัญชาเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อนำเรียนผู้บริหารกรุงเทพมหานครต่อไป
ภูมิทัศน์เมือง หมายถึง ภาพรวมของเมืองซึ่งเกิดจากการรวมองค์ประกอบทางกายภาพ ที่ก่อให้เกิดผลทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้รับรู้องค์ประกอบ (Yoshinobu, 1983) ในปัจจุบันมีองค์ประกอบที่กำหนดคุณลักษณะของเมือง 4 ด้าน ได้แก่ ความมีสุนทรียภาพ (Aesthetics) การใช้ประโยชน์ (Function) การมีอัตลักษณ์ (Identity) และคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งมีผลมาจากการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม (Ecology) (Keshtkaran, 2019 ; Pataki, 2015; Steiner, 2014) ยุทธศาสตร์การจัดการภูมิทัศน์เมือง หมายถึง กรอบแนวทางการพัฒนาเมืองเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ เพื่อให้ได้องค์ประกอบภูมิทัศน์เมืองทั้ง 4 ด้าน อันนำไปสู่ความยั่งยืน เครือข่าย หมายถึง การรวมตัวของกลุ่ม ที่มีการประสานงานหรือทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีระยะเวลานานพอสมควร มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกัน และหากบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่งแล้ว อาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มวัตถุประสงค์ใหม่ได้ วัตถุประสงค์ของเครือข่าย เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ในการจัดการภูมิทัศน์เมืองในรูปแบบบูรณาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 1.สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล 2.สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 3.สำนักการจราจรและขนส่ง 4.สำนักการโยธา 5.สำนักการระบายน้ำ 6.สำนักสิ่งแวดล้อม 7.สำนักเทศกิจ 8.สำนักพัฒนาสังคม 9.สำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว 10.ผู้แทนกลุ่ม 6 เขต
แผนแม่บทการพัฒนายุทธศาสตร์บูรณาการการจัดการภูมิทัศน์เมืองเฉพาะพื้นที่เป้าหมาย ระยะ 5 ปี 1 ฉบับ
1.คำสั่งแต่งตั้งเครือข่ายความร่วมมือการจัดการภูมิทัศน์เมือง 2.รายงานการประชุม 3.แผนแม่บทการพัฒนายุทธศาสตร์บูรณาการการจัดการภูมิทัศน์เมืองเฉพาะพื้นที่เป้าหมาย ระยะ 5 ปี
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม |
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า% |
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต |