ค่าเป้าหมาย แห่ง : 6
ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 6
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
๑. โครงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร กำหนดวันประชุมคณะกรรมส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2564 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องเอราวัณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ขณะนี้อยู่ในระหว่างจัดทำหนังสือเชิญประชุม และจัดทำระเบียบวาระการประชุม ๒. กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาปรับปรุงข้อมูลความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการประสานพื้นที่เพื่อลงจัดเก็บข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ระหว่างการตอบรับเพื่อลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และสืบค้น รวบรวมข้อมูลปรับปรุงองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในแต่ละสาขาให้ทันสมัยมากขึ้น
1. โครงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร - ดำเนินการจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ที่ประชุมได้คัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำ มภ.2 และขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญากรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 6 รายการ ดังนี้ 1) ตำนานท้าวอู่ทอง เขตบางเขน สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2) นเสบ สาขาศิลปะการแสดง 3) งานประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเซิงหวาย) เขตบางซื่อ สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4) ตำรับอาหารชาววัง พระวิมาดาเธอฯ เขตดุสิต สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5) ขลุ่ยบ้านลาว เขตธนบุรี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6) การแข่งว่าว สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 2. กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการท่องเที่ยว กำหนดสถานที่ลงพื้นที่จัดกิจกรรม 3 แห่ง ดังนี้ 1) ขลุ่ยบ้านลาว เขตธนบุรี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 2) นเสบ สาขาศิลปะการแสดง 3) ศิลปะป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 3. จัดทำวีดีทัศน์รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครที่ได้รับการขึ้นบัญชี จำนวน 3 รายการ อยู่ในระหว่างจัดทำ TOR ดังนี้ 1) ตำราดูลักษณะแมวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ (นวม พุทฺธสโร) วัดอนงคาราม เขตคลองสาน 2) ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 3) ศิลปะป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 4. จัดทำนิทรรศการรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร อยู่ในระหว่างจัดทำ TOR นิทรรศการรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการขึ้นบัญชีในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 6 รายการ ดังนี้ 1) ตำนานจระเข้ดาวคะนอง สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2) สำนักดนตรีไทยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) สาขาศิลปะการแสดง 3) ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4) ขนมตึงตัง เขตบางนา สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5) ผ้าไหมบ้านครัว เขตราชเทวี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6) ศิลปะป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 2. กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนา ปรับปรุงข้อมูลความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร รวบรวมข้อมูลปรับปรุงองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในแต่ละสาขาให้ทันสมัยมากขึ้น จากการสัมภาษณ์จากผู้รู้ในแหล่งเรียนรู้ จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาศิลปะการแสดง สาขาทัศนศิลป์ สาขาดนตรีและการขับร้อง และเตรียมลงพิ้นที่จัดเก็บข้อมูลสาขาสถาปัตยกรรม ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
โครงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร 1. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร - อยู่ระหว่างค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารเพื่อจัดทำ มภ.2 รายการ มรดกภูมิปัญญาฯ ที่ได้รับคัดเลือกขึ้นบัญชี ประจำปี 2564 และกำหนดประชุมอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2. กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการท่องเที่ยว – งดการจัดกิจกรรมเนื่องจากมเป็นการรวมตัวของกลุ่มเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร และต้องมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ยังคงรุนแรงอยู่ 3. กิจกรรมจัดทำวีดีทัศน์รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครที่ได้รับการขึ้นบัญชี – ได้ผู้รับจ้างจัดทำแล้ว อยู่ในระหว่างพิจารณา story board สำหรับการจัดทำวีดิทัศน์ และรูปแบบของนิทรรศการที่จะจัดทำ รวมถึงการวิเคราะห์ และตรวจทานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ ที่จะนำเสนอ 4. กิจกรรมจัดทำนิทรรศการรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร – ได้ผู้รับจ้างจัดทำแล้ว อยู่ในระหว่างพิจารณา story board และรูปแบบของนิทรรศการที่จะจัดทำ รวมถึงการวิเคราะห์ และตรวจทานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ ที่จะนำเสนอ กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนา ปรับปรุงข้อมูลความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร - รวบรวมเนื้อหาองค์ความรู้เพิ่มเติม ทั้ง 9 สาขา ประกอบด้วย สาขาทัศนศิลป์ สาขาศิลปะการแสดง สาขาวรรณศิลป์ สาขาดนตรีและขับร้อง สาขาสถาปัตยกรรม สาขามัณฑนศิลป์ สาขาเรขศิลป์ สาขาภาพยนตร์ และสาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย - ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลองค์ความรู้เพิ่มเติม ทั้ง 9 สาขา โดย ผู้เชี่ยวชาญ
ค่าเป้าหมาย ๖ แห่ง ดังนี้ 1. วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง. 2. ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม 3. วัดอนงคาราม เขตคลองสาน 4. สถาบัน แด๊นซ์ เซ็นเตอร์ เขตวัฒนา 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตธนบุรี 6. เรือนบรรเลง มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เขตพญาไท รายละเอียดโครงการ 1. โครงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร งบประมาณ ๔๘๔,๐๐๐.- บาท (ดำเนินการ) (สธท.) - ดำเนินการจัดทำวีดีทัศน์ และนิทรรศการรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครที่ได้รับการขึ้นบัญชีมรดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว รายละเอียดดังนี้ 1. วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง เรื่อง ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือวัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 โดยกลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ถ่ายทำวีดิทัศน์ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2564 ในการนี้ได้สัมภาษณ์พระครูวิมลสุทธาภิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสุทธาโภชน์ อาจารย์ปราณีต อนงค์ กรรมการและผู้ประสานงานวัด และนายแฉล้ม ระย้า ไวยาวัจกรวัด เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวัด คุณค่าของประเพณี ความร่วมมือของชุมชน ตลอดจนแนวทางการอนุรักษ์ประเพณี 2. ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม เรื่อง ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 โดยกลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ถ่ายทำวีดิทัศน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 2564 ในการนี้ ได้สัมภาษณ์อาจารย์กฤษณ์ ฤทธิ์เดชา และลูกศิษย์ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของค่ายพระยาตาก ประเภท เอกลักษณ์และหลักสูตรการเรียนการสอน ตลอดจนแนวทางการสืบทอดและส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 3. วัดอนงคาราม เขตคลองสาน เรื่อง ตำราดูลักษณะแมวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ (นวม พุทธสโร) วัดอนงคาราม เขตคลองสาน สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ซึ่งเป็นตำราดูลักษณะแมวไทยพันธุ์โบราณ และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2561 โดยกลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ถ่ายทำวีดิทัศน์ เมื่อวันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564 เเละได้รับความกรุณาจากพระมหาคุณัฐ สุภกิจโจ ในการเปิดพื้นที่ภายในพระวิหาร พระอุโบสถให้ได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่และถ่ายทำวีดิทัศน์ รวมถึงการใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ อนงคาราม เป็นสถานที่เล่าเรื่อง โดยมีคุณปู (จิตกร บุษบา) นักวิชาการอิสระด้านศิลปวัฒนธรรม เเละคุณปรีชา วัฒนา ผู้อนุรักษ์แมวไทยโบราณ มาร่วมถ่ายทอดเเละให้ความรู้เกี่ยวกับเเมวไทยโบราณ การดูลักษณะแมวดี และโทษของแมวร้ายตามตำราอันจะเกิดแก่ผู้เลี้ยงหรือเจ้าของ รวมถึงแมวไทยโบราณที่คงเหลือเพียงไม่กี่สายพันธุ์ในปัจจุบันด้วย โดยตลอดการถ่ายทำคำนึงถึงมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การเว้นระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัย ๒. กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาปรับปรุงข้อมูลความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร (ไม่ใช้งบประมาณ) (สธท.) ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงข้อมูลความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ผ่านการเสวนาวิชาการร่วมกับผู้แทนจากแหล่งเรียนรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร 3 สาขา ได้แก่ สาขาดนตรีและการขับร้อง สาขาศิลปะการแสดง และ ดังนี้ 1. สถาบัน แด๊นซ์ เซ็นเตอร์ เขตวัฒนา แหล่งเรียนรู้สาขาศิลปะการแสดง คุณวรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิเพื่อนศิลปะ ผู้ก่อตั้งสถาบัน แด๊นซ์ เซ็นเตอร์ เป็นผู้แทนจากแหล่งเรียนรู้ เข้าร่วมการเสวนาวิชาการสาขาศิลปะการแสดง หัวข้อ “ศิลปะการแสดงร่วมสมัยกับการพัฒนารูปแบบสร้างสรรค์ตามช่วงเวลา” เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตธนบุรี แหล่งเรียนรู้สาขาทัศนศิลป์ รองศาสตราจารย์ พีระพงษ์ กุลพิศาล ประธานหลักสูตรสาขาทัศนศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัยม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นผู้แทนจากแหล่งเรียนรู้เข้าร่วมการเสวนาวิชาการสาขาทัศนศิลป์ หัวข้อ “ทัศนศิลป์ร่วมสมัยกับสังคมและวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ประกอบด้วย กิจกรรมภาพพิมพ์สีจากวัสดุธรรมชาติ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 3. เรือนบรรเลง มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เขตพญาไท นายอัษฎาวุธ สาคริก เลขาธิการ มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้แทนจากแหล่งเรียนรู้เข้าร่วมการเสวนาวิชาการสาขาดนตรีและการขับร้อง หัวข้อ “ดนตรีร่วมสมัยคืออะไร” เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564
นิยาม/คำอธิบาย - แหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร หมายถึง แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร - ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว หมายถึง แหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร ได้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความพร้อมสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
วิธีการคำนวณ นับจากแหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วิธีการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล - จัดเก็บข้อมูลตามแบบจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (มภ.2) - จัดเก็บข้อมูลศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย - แหล่งข้อมูล คือ ฐานข้อมูลของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร *หมายเหตุ มิใช่การปรับปรุงทางกายภาพ
:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
:๓.๔ - สังคมพหุวัฒนธรรม |
:๓.๔.๑ คนกรุงเทพฯที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและ% |
:๓.๔.๑.๑ สร้างเนื้อหาความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |