รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของเกษตรกร/ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรที่ผ่านการฝึกอบรม และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ : 2400-1071

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
0
0 / 0
4
0.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.จัดทำคำสั่งให้เกษตรกรผู้ประกอบการเกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรเข้าสัมมนาศึกษาดูงาน จำนวน 75 คน 2.กำหนดจัดงานสัมมนาศึกษาดูงานวันที่ 7 มกราคม 2564 ณ จังหวัดปทุมธานี

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

สำนักพัฒนาสังคมกำหนดการสัมมนาศึกษาดูงานให้แก่เกษตรผู้ ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร จำนวน 75 คน ในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 ณ จังหวัดปทุมธานี

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ชะลอการศึกษาดูงาน ตามกิจกรรมในโครงการฯ ออกไปก่อน(เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ยังไม่คลี่คลายและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง จึงไม่สามารถจัดสัมมนาศึกษาดูงานได้)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

โครงการส่งเสริมความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตร กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตร - กำหนดจัดอบรมสัมมนาและศึกษา ดูงานให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านการเกษตร จำนวน 75 คน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรเขต จำนวน 26 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำนักพัฒนาสังคมจำนวน 11 คน รวมทั้งสิ้น 112 คน กำหนดดำเนินการวันที่ 7 มกราคม 2564 ณ จังหวัดปทุมธานี แต่ไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้ เพราะสถานการณ์ COVID 19 และต่อมาได้มีหนังสือเลื่อนการจัดสัมมนา -ได้ยกเลิกการศึกษาดูงานเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 (ปัจจุบันได้ส่งคืนเงินงบประมาณแล้ว)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. เกษตรกร/ผู้ประกอบการสินค้าเกษตร หมายถึง เกษตรกร/ผู้ประกอบการสินค้าเกษตร กลุ่มเป้าหมายที่สำนักพัฒนาสังคม คัดเลือกให้เข้ารับการอบรมโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี/เครื่องมือทางการผลิต การบริหารจัดการ ฯลฯ โดยคาดหวังให้เป็นแกนหลักในการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่การเกษตร 2. มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยี/เครื่องมือทางการผลิต การบริหารจัดการ ฯลฯ หมายถึง เกษตรกร/ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี/เครื่องมือทางการผลิต การบริหารจัดการ ฯลฯ จากการจัดฝึกอบรมการจัดศึกษาดูงาน และการให้คำปรึกษาแนะนำโดยสำนักพัฒนาสังคมและผ่านเกณฑ์การประเมินผลด้านความรู้ความเข้าใจตามที่สำนักพัฒนาสังคมกำหนด

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

(จำนวนเกษตรกร/ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการที่สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ / จำนวนเกษตรกรผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด)x 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

เกณฑ์การประเมินผลด้านความรู้ ความเข้าใจ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. การทดสอบความรู้ : การทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และการทดสอบหลังเรียน (Post-test) 2. การนำความรู้ไปปฏิบัติได้ ประเมินผลภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม ประมาณ 3 - 6 เดือน โดยนักวิชาการเกษตรของสำนักพัฒนาสังคมลงพื้นที่/แปลงเกษตร เพื่อติดตามว่าเกษตรกร/ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง