รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีพัฒนาการสมวัย : 2400-1082

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 85

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
0
0 / 0
4
97.63
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครได้โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2564 ไปยังสำนักงานเขต 23 เขต เป็นเงิน 4,793,200.- บาท 2.กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ดำเนินการประสานวิทยากร และสถานที่ในการจัดกิจกรรมและทำบันทึกถึงสำนักงานเขตเพื่อขอรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน ได้แก่ รุ่นที่ 1 วันที่ 11 - 12 มีนาคม 2564 รุ่นที่ 2 วันที่ 18 - 19 มีนาคม 2564 รุ่นที่ 3 วันที่ 25 - 26 มีนาคม 2564

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1.ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน ได้แก่ รุ่นที่ 1 วันที่ 11 - 12 มีนาคม 2564 รุ่นที่ 2 วันที่ 18 - 19 มีนาคม 2564 รุ่นที่ 3 วันที่ 25 - 26 มีนาคม 2564 2.ขณะนี้อยู่ระหว่างปิดศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานครเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. สำนักงานเขตที่มีศูนย์พัฒนาเด็กก่อน วัยเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ จำนวน 45 เขต 2. มีสำนักงานเขตที่ส่งข้อมูลมาแล้ว จำนวน 35 เขต (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 2564) - มีเด็ก จำนวน 12,265 คน - มีพัฒนาการสมวัย จำนวน 11,974 คน - มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน 291 คน และได้ประสานส่งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาล เป็นต้น ครบทุกราย

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

เด็กก่อนวัยเรียน หมายถึง เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร จำนวน 292 ศูนย์ จาก 45 สำนักงานเขต พัฒนาการสมวัย หมายถึง เด็กที่ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ ประเมินและเฝ้าระวังโดยวิธีสังเกตของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) ฉบับสรุปสาระสำคัญจาก DSPM ฉบับสมบูรณ์ พัฒนาการสงสัยล่าช้า หมายถึง เด็กที่ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ ประเมินและเฝ้าระวังโดยวิธีสังเกตของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ตามคู่มือ DSPM ฉบับสรุปสาระสำคัญจาก DSPM ฉบับสมบูรณ์ และผลการตรวจผ่านไม่ครบทุกด้าน การเข้าสู่กระบวนการพัฒนา หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการประสานส่งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

(เด็กที่ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ ประเมินและเฝ้าระวังโดยวิธีสังเกตของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กและพบว่ามีพัฒนาการสมวัย / เด็กที่ได้รับการตรวจประเมินทั้งหมด) x 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
:๓.๑ - ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลอย่างครบวงจร
:๓.๑.๒ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสสามารถดำารงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี%
:๓.๑.๒.๑ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง