ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ 100 : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อยู่ระหว่างตรวจประเมินรับรองป้ายมาตรฐานอาหารปลอดภัย
อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจประเมินรับรองป้ายมาตรฐานอาหารปลอดภัยตามแผนการดำเนินการ
อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจประเมินรับรองป้ายมาตรฐานอาหารปลอดภัยตามแผนการดำเนินการ
ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีเท่ากับร้อยละ 100 และมีการดำเนินการตรวจอาหารปลอดภัยของสถานประกอบการที่ไม่มีใบอนุญาตได้ร้อยละ 100
8 ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ร้อยละ ๑๐๐ ร้อยละ ๑๐0 ร้อยละ ๑๐ นิยาม 1. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง สถานที่จำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่ 50 เขตที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข 2. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง เกณฑ์ที่ใช้ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารเพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place)ด้านคุณภาพอาหาร (Food)ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) และด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service)ดังนี้ 2.1 ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place)ต้องผ่านเกณฑ์สุขลักษณะตามประเภทของสถานประกอบการอาหาร และการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่าย และบริโภคอาหาร 2.2 ด้านคุณภาพอาหาร (Food)ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย ดังนี้ (1) อาหารและวัตถุดิบ สุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหารที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) พบการปนเปื้อนไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้ จำนวนตัวอย่างที่ตรวจให้เป็นไปตามแนวทางการเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ของแต่ละประเภทสถานประกอบการ กรณีพบการปนเปื้อน ให้เจ้าพนักงานออกคำแนะนำหรือออกคำสั่งให้ผู้ประกอบการอาหารดำเนินการปรับปรุงแก้ไข 2.3 ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler)ต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการสุขาภิบาลอาหาร 2.4 ด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service)ได้แก่ 1) ไม่มีเหตุรำคาญจากควัน กลิ่น และเสียงจากการประกอบกิจการ 2) เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ 3) ไม่ใช้ภาชนะที่ทำจากโฟม 4) มีการคัดแยกขยะ เช่น ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตราย เป็นต้น 5) มีการนำขยะอาหาร วัตถุดิบเหลือใช้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 6) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือการกำจัดแมลง สัตว์นำโรคที่มีวิธีหรือส่วนประกอบจากธรรมชาติ 7) มีนโยบายให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่อาหารเองได้ โดย - เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดีต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place)ด้านคุณภาพอาหาร (Food) และด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) - เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีมาก ต้องผ่านการประเมิน 4 ด้าน คือด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place)ด้านคุณภาพอาหาร (Food)ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) และด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service) ซึ่งต้องผ่านเกณฑ์ด้านบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ 4 ข้อ โดยต้องผ่านข้อมาตรฐานหลักทั้งหมด 3. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการอาหารสามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ต้องมีผลดำเนินการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ร้อยละ 100 และระดับดีมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ผลผลิต - จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ผลลัพธ์ - ร้อยละสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
วิธีคำนวณ 1. จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด 2. จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีมาก คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด การคิดคะแนน คิดคะแนนตามผลการดำเนินการที่ได้ ดังนี้ - ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี คิดคะแนนเป็นร้อยละ 80 ของค่าน้ำหนัก - ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีมาก คิดคะแนนเป็นร้อยละ 20 ของค่าน้ำหนัก
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๔ ประชาชนได้รับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วยขั้นวิกฤต% |
:๑.๖.๔.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน |