ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 75
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1.จัดทำแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการออกตรวจประเมินด้านกายภาพสถานประกอบการจำหน่ายอาหารและแผนปฏิบัติงานค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในการออกตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหารโดยเก็บตัวอย่างอาหารพร้อมทั้งแนะนำด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ 2.สำรวจและรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายสถานที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ 3.ตรวจแนะนำด้านกายภาพตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2545 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทาง สาธารณะ พ.ศ.2545 4.ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น 5.ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเก็บตัวอย่างอาหารในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ 6.จัดทำสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารและรายงานผลการตรวจให้กองสุขาภิบาล
การดำเนินงาน 1.ดำเนินการตรวจแนะนำด้านกายภาพตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2545 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทาง สาธารณะ พ.ศ.2545 2.ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น 3.ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเก็บตัวอย่างอาหารในสถานประกอบการพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ 4.จัดทำสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารและรายงานผลการตรวจให้กองสุขาภิบาล ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการดำเนินงาน - ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 1. ร้านอาหาร 2. แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี 3.ตลาด 4.ซูเปอร์มาร์เก็ต 5.มินิมาร์ท ในพื้นที่เขต คิดเป็นร้อยละ 50
การดำเนินงาน 1.ดำเนินการตรวจแนะนำด้านกายภาพตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2545 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทาง สาธารณะ พ.ศ.2545 2.ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น 3.ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเก็บตัวอย่างอาหารในสถานประกอบการพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ 4.จัดทำสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารและรายงานผลการตรวจให้กองสุขาภิบาล ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการดำเนินงาน - ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 1. ร้านอาหาร 2. แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี 3.ตลาด 4.ซูเปอร์มาร์เก็ต 5.มินิมาร์ท ในพื้นที่เขต คิดเป็นร้อยละ 75
สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. มีสถานประกอบการอาหารที่ได้รับใบอนุญาตในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ จำนวน 217 แห่ง ตรวจแล้วและผ่านเกณฑ์ฯ ระดับดี จำนวน 217 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2. ได้ดำเนินการตรวจอาหารปลอดภัยของสถานประกอบการที่ไม่มีใบอนุญาตในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ จำนวน 121 แห่ง ตรวจแล้ว จำนวน 94 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 77.6 3. สถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์ Green Service จำนวน 52 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 23.96
1. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต 2. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 2.1 ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความสะอาดและสุขลักษณะของสถานที่ตามประเภทของสถานประกอบการอาหาร และการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายและบริโภคอาหาร 2.2 ด้านคุณภาพอาหาร (Food) ต้องผ่านเกณฑ์ด้าน ความปลอดภัย ได้แก่ (1) อาหารและวัตถุดิบ สุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหารที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู
วิธีคำนวณ 1. จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด
1. โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2. ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. ระบบสารสนเทศงานสุขาภิบาลอาหาร และ BMA Food Safety Application
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |