ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด :
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ส่งแบบสำรวจพื้นที่เป้าหมายพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามศักยภาพของเขต ดังนี้ 1. คอนโดลุมพินี เพลส (LUMPINI PLACEX) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหาคร จำนวน 2 งาน 46 ตร.ว. 2. บ้าน 365 (BAAN 365 BY LPN) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ไร่ 46 ตร.ว. 3. อาคาร TRR TOWER ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 28 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 งาน 42 ตร.ว.
ส่งแบบสำรวจพื้นที่เป้าหมายพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามศักยภาพของเขต ดังนี้ 1. คอนโดลุมพินี เพลส (LUMPINI PLACEX) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหาคร จำนวน 2 งาน 46 ตร.ว. 2. บ้าน 365 (BAAN 365 BY LPN) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ไร่ 46 ตร.ว. 3. อาคาร TRR TOWER ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 28 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 งาน 42 ตร.ว.
- ดำเนินการตามแบบสำรวจพื้นที่เป้าหมายพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามศักยภาพของเขต เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 1. คอนโดลุมพินี เพลส (LUMPINI PLACEX) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหาคร จำนวน 2 งาน 46 ตร.ว. 2. บ้าน 365 (BAAN 365 BY LPN) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ไร่ 46 ตร.ว. 3. อาคาร TRR TOWER ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 28 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 งาน 42 ตร.ว.
– พื้นที่สีเขียวหมายถึง พื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 10 ประเภทแยกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ให้สำนักงานเขตดำเนินการตามเป้าหมายที่ตกลงกับสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี 2. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรปูแบบสวนสาธารณะซึ่งต้องดำเนินการสำรวจ รวบรวมเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 แห่ง/ปี - กรณีข้อ 2 กรณีหากสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้วให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สีเขียว ในพื้นที่เขตรวม 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานสวนฯ กำหนดแทน รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท 1.พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวน 1.1 ความหมาย คือพื้นที่ใด ๆ ในแต่ละพื้นที่เขตที่ไม่เคยถูกพัฒนาเป็นสวนหย่อม/สวนสาธารณะ (กำหนดตามนิยาม 7 ประเภท ของสำนักงานสวนสาธารณะ สสล.) มาก่อนซึ่ง สนข./สสณ. สสล.พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ/ สวนหย่อม ทั้งนี้ อาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่า/เกาะกลางถนน/ริมทาง/ริมคลอง/ใต้ทางด่วน/แนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง/ผนังตึก/รั้ว/สวนบนอาคารสูง ดาดฟ้าอาคาร (Green Roof) ฯลฯสวนบนอาคารสูง/ดาดฟ้า และสวนแนวดิ่ง นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบตดิตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 1.2 การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนต้องพัฒนาให้มีพันธุ์ไม้ปกคลุมขนาดตั้งแต่มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ตร.ม. ขึ้นไป โดยเน้นการปลูกไม้ถาวร อาจดำเนินการ ดังต่อไปนี 1.2.1 ปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม 1.2.2 จัดทำเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ/สวนหย่อม 1.2.3 จัดทำสวนหย่อมในลักษณะสวนบนอาคารสูง (Green Roof) 1.2.4 จัดทำเป็นสวนตามแนวพื้นดินหรือพื้นที่สีเขียวขึ้นตามแนวดิ่ง 1.2.5 จัดทำเป็นสวนป่า หมายถึง การปลูกต้นไม้ในลักษณะเป็นพื้นที่ โดยมีทั้งไม้ ระดับสูง กลาง ระยะปลูกระหว่างต้นเท่ากับ 4X4 เมตร ให้คิดเฉลี่ย 100 ต้นเป็นพื้นที่ 1 ไร่ 1.2.6 การปลูกไม้ยืนต้นในลักษณะต่อเนื่องเป็นแนวยาว เช่นปลูกตามริมถนน รมิคลอง ริมทางเท้า เป็นต้น คดิพื้นที่โดยนำความกว้างของทรงพุ่มคูณความยาวของ ระยะทางที่ปลูก 1.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำนักงานเขตรับผิดชอบและดำเนินการได้หลายลักษณะ กล่าวคือ 1.3.1 สำนักงานเขตเองดำเนินการในรูปแบบที่ใช้และไม่ใช้งบประมาณ 1.3.2 สนับสนุนหน่วยราชการอื่นๆ/บริษัท ห้างร้าน เอกชน หรือประชาชน ฯลฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง 1.3.3 รวบรวมพื้นที่ซึ่งหน่วยงานอื่น บริษัท ห้างร้าน เอกชน วัด หมู่บ้าน จัดสรร ฯลฯ ได้มีการดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่สวนตามนิยามของสวนสาธารณะ 7 ประเภทไว้แล้ว 1.4 สำนักงานเขตจัดทำทะเบียนพื้นที่สวนฯ รายงานเข้าสู่ระบบฯ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.4.1 สวนซึ่งสำนักงานเขตดำเนินการเอง 1.4.2 สวนซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอื่น 1.4.3 อื่น ๆ เช่น หมู่บ้านจดัสรร วัด บริษัท/ห้างร้าน ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ 2.พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวน 2.1 ความหมายคือ พื้นที่สีเขียวตามคำจำกัดความในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546 จำนวน 9 ประเภทซึ่งประกอบด้วย 2.1.1 สนามกีฬากลางแจ้ง หมายถึงสนามกีฬากลางแจ้งที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500 ตร.ม.ขึ้นไป 2.1.2 สนามกอล์ฟ หมายถึง สนามกอล์ฟทุกแห่ง 2.1.3 แหล่งน้ำ หมายถึง สระน้ำ หนองน้ำ บึง ซึ่งมีน ท่วมขังนานกว่า 6 เดือน ต่อปี ที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500 ตร.ม.ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.4 ที่ลุ่ม หมายถึงที่ลุ่มน้ำท่วมขังมีพืชขึ้นปกคลุม เช่นกกที่มีขนาดมากกว่า 500 ตร.ม.ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.5 ที่ว่าง หมายถึงที่ว่างหรือที่โล่งที่มีขนาดมากกว่า 1 ไร่ พื้นที่โล่งหรือพื้นที่ รกร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่เข้าข่ายพื้นที่ประเภทใดและมีขนาดพื้นที่ มากกว่า 500 ตร.ม. 2.1.6 พื้นที่ไม้ยืนต้น หมายถึงพื้นที่มีกลุ่มไม้ยืนต้นขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ขนาด พื้นที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป รวมทั้งสวนผลไม้ 2.1.7 พื้นที่เกษตรกรรม หมายถึงพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว นาหญ้า 2.1.8 พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึงพื้นที่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 2.1.9 พื้นที่อื่นๆ หมายถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการนันทนาการและส่งเสริมคณุภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ริมคลอง พื้นที่ใต้หรือข้างทางด่วนหรือทางพิเศษ เป็นต้น
การวัดผลสัมฤทธิ์ของตัวชี้วัด 1. สำนักสิ่งแวดล้อม (เจ้าภาพหลัก) รับผิดชอบ 1.1 ภาพรวมความสำเร็จการพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่ตรวจประเมินกำหนด ซึ่งในปี 2564คิดเป็น 7.21ตร.ม./คน 1.2 จัดทำค่าเป้าหมายรายเขตเพื่อกำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามศักยภาพพื้นที่ภายใต้ค่าเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปีที่ตรวจประเมินกำหนด 1.3 พัฒนาพื้นที่สีเขียวในส่วนที่รับผิดชอบประกอบด้วย 1) พื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะและสวน 7 ประเภท 1.4 นำเข้าข้อมูลสำรวจ รวบรวม และพัฒนาพื้นที่สีเขียวในส่วนที่รับผิดชอบตามข้อ 1.3 1.5 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลซึ่งปรากฏในฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ได้แก่รายละเอียด ที่ตั้ง และภาพถ่ายของพื้นที่สีเขียวแต่ละแห่ง 2. สำนักงานเขต (เจ้าภาพร่วม) รับผิดชอบ 2.1 สำรวจ รวบรวม และพัฒนาพื้นที่สีเขียวในส่วนที่รับผิดชอบตามรายละเอียดที่กำหนด 2.2 นำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดฯ วิธีคำนวณ 1. สำนักสิ่งแวดล้อม A=B/C A= สัดส่วนพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนต่อประชากร (ตร.ม./คน) B= พื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนเมื่อสิ้นเดือน ก.ย.ของปีที่ตรวจประเมินผล(ตร.ม) C= จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ของกทม. (คน) 2. สำนักงานเขต 1. กำหนดให้พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม และพื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ คิดคะแนนประเภทละ 100 % รวม 200% 2. เฉลี่ยผลลัพธ์ตามข้อ 1 ให้เหลือร้อยละ 100 3. นำผลที่ได้จากข้อ 2 พิจารณาในส่วนความสมบูรณ์ของข้อมูลใน 3 ส่วนคือ 1) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละแห่ง 2) ที่ตั้ง 3) ภาพถ่ายทั้งนี้หักข้อละ 1 % ของคะแนนที่ได้รับ
เอกสารหลักฐาน: -พิจารณาผลสัมฤทธิ์การดำเนินการจาก “โปรแกรมฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” เท่านั้น เกณฑ์การคิดคะแนน: สำนักสิ่งแวดล้อม: 1. พิจารณาผลคะแนนให้พิจารณาจากพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนซึ่งจะต้องดำเนินการตามค่าคาดการณ์ซึ่งกำหนดไว้ 2. พิจารณาการตัดคะแนนที่หน่วยงานได้รับในส่วนความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ปรากฎตามฐานข้อมูลฯ (ณ เดือนกันยายนของปีที่ตรวจประเมิน) โดยดำเนินการใน 3 ส่วนสำคัญคือ 1) สถานที่ตั้งสวนฯ บนแผนที่ฐานข้อมูลฯ 2) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวรายแห่ง 3) ภาพถ่ายสวนฯ ในโปรแกรมฯทั้งนี้หักข้อละ 1 % ของคะแนนที่ได้รับ สำนักงานเขต: 1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดคิด เป็นร้อยละ 100 - กรณีสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้วให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตรวม 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) คิดคะแนนครั้งละ 25 % 2. การตัดคะแนนในส่วนความสมบูรณ์ของฐานข้อมูลฯ ของสำนักงานเขต ดำเนินการใน 3 ส่วนสำคัญคือ1) สถานที่ตั้งสวนฯ บนแผนที่ฐานข้อมูลฯ 2) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวรายแห่ง 3) ภาพถ่ายสวนฯ ในโปรแกรมฯ ทั้งนี้ หักข้อละ 1 % ของคะแนนที่ได้รับ
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่ |
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ% |
:๒.๒.๑.๑ พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่นเพิ่มขึ้นกระจาย ทั่วในพื้นที่ |