ค่าเป้าหมาย ระดับ 5 (20 แนวคลอง) : 100
ผลงานที่ทำได้ ระดับ 5 (20 แนวคลอง) : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและขออนุมัติโครงการเรียบร้อยแล้ว
1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแสนแสบ ที่ 228/2564 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 2. ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานเขตหนองจอก เพื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมจิตอาสา ณ จุดเช็คอิน (Check in) ของโครงการฯ วัดทรัพย์สโมสรนิกรเกษม (วัดคู้) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 คณะผู้บริหารเขตหนองจอก ทำพิธีเปิดจุดเช็คอิน (Check in) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแสนแสบ ณ บริเวณท่าน้ำวัดทรัพย์สโมสรนิกรเกษม และได้ร่วมกันปลูกต้นไม่ริมคลองแสนแสบ
1. ดำเนินการสร้างจุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) จำนวน 1 จุด 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนริมคลองแสนแสบ เรื่อง การคัดแยกขยะและการจัดทำถังหรือบ่อดักไขมัน 3. ปรับปรุงและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองแสนแสบ 4. ประสานการไฟฟ้านครหลวงเข้าซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
นิยาม การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด การดำเนินการของสำนักงานเขต 1. จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความรับผิดชอบของเขตโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 2. บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลองผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน 3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดินข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ 4. สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน 5. สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 6. พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check in ติดตั้งป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ 1 จุดต่อคลอง
นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม
1. เอกสารประกอบการดำเนินการ 2. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digitalplans) หลักฐาน 1. แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 3. ภาพถ่ายกิจกรรมก่อน - หลัง ดำเนินการ ฯลฯ
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ |
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ% |
:๗.๔.๑.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ |