ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการตรวจสุขลักษณะ และสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อน ประกอบด้วย สารฟอร์มาลิน สารบอเรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง สารกันรา ของเดือนตุลาคม 2563 - กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 86 ราย (275 ตัวอย่าง) จากเป้าหมาย 140 แห่ง
ดำเนินการตรวจสุขลักษณะ และสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อน ประกอบด้วย สารฟอร์มาลิน สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง สารกันรา ของเดือนตุลาคม 2563 - เดือนพฤษภาคม 2564 จำนวน 113 ราย (309 ตัวอย่าง) จากเป้าหมาย 140 แห่ง
ดำเนินการตรวจสุขลักษณะ และสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อน ประกอบด้วย สารฟอร์มาลิน สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง สารกันรา ของเดือนตุลาคม 2563 - สิงหาคม 2564 จำนวน 129 ราย (363 ตัวอย่าง) จากเป้าหมายใหม่ 129 แห่ง (ลดเป้าหมายจากเป้าหมายเดิม 140 แห่ง เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายปิดสถานที่ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19)
สถานประกอบการอาหาร หมายถึง ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่เขตหนองจอก เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1. ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความสะอาดและสุขลักษณะของสถานที่ตามประเภทของสถานประกอบการอาหาร และการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ ที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายและบริโภคอาหาร 2. ด้านคุณภาพอาหาร (Food) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย 3. ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler)ต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการสุขาภิบาลอาหาร
จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่
-
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |