รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

6. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร : 5020-0993

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 96.06

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
29.43
100
100 / 100
2
53.09
100
100 / 100
3
63.44
0
0 / 0
4
96.06
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1. ขออนุมัติโครงการ 2. ขออนุมัติเงินงวด 3. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือน 4. ดำเนินการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบการอาหาร จำนวน 78 แห่ง ตลาดประเภท 1 จำนวน 4 แห่ง ตลาดประเภท 2 จำนวน 10 แห่ง ร้านอาหาร 54 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 2 แห่ง และมินิมาร์ท 8 แห่ง 5. สุ่มตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร จำนวน 880 ตัวอย่าง 6. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารให้พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 78 แห่ง แยกเป็น สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน 54 แห่ง ซูเปอร์มาเก็ต จำนวน 2 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 8 แห่ง ตลาดประเภท 1 จำนวน 4 แห่ง ตลาดประเภท 2 จำนวน 10 แห่ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือน 2. ดำเนินการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบการอาหาร จำนวน 66 แห่ง แยกเป็น 2.2 ตลาดประเภท 2 จำนวน 9 แห่ง 2.3 ร้านอาหาร 51 แห่ง 2.4 มินิมาร์ท 6 แห่ง 3. สุ่มตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร จำนวน 880 ตัวอย่าง 4. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารให้พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 66 แห่ง แยกเป็นสถานที่ต่างๆ ดังนี้ 4.1 สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน 51 แห่ง 4.2 มินิมาร์ท จำนวน 6 แห่ง 4.3 ตลาดประเภท 2 จำนวน 9 แห่ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- มีหนังสือให้ชะลอการตรวจสถานประกอบการอาหารตามโครงการฯ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) และสถานประกอบการอาหารบางส่วนปิดตามคำสั่งกรุงเทพมหานคร เรื่อง ให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 4 ,5,6 ทำให้ไม่สามารถตรวจประเมินสถานที่เพื่อต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยได้ แต่ทั้งนี้ได้ลงพื้นที่เพื่อสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการอาหารที่ยังเปิดทำการในช่วงการระบาดของโควิด 19 และทำการเบิกจ่ายค่าจัดซื้อตัวอย่างอาหาร จำนวน 12,000.- บาท - มีหนังสือแจ้งให้ดำเนินการตามโครงการต่อไป และปรับเกณฑ์เนื่องจากสถานการณ์ COVID 19 จากร้อยละเป็นร้อยละ 80 - มีการดำเนินการดังนี้ 1. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือน 2. ดำเนินการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบการอาหาร จำนวน 33 แห่ง แยกเป็น 2.1 ตลาดประเภท 1 จำนวน 9 แห่ง 2.2 ร้านอาหาร 5 แห่ง 2.4 มินิมาร์ท 19 แห่ง 3. สุ่มตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร จำนวน 880 ตัวอย่าง 4. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารให้พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 33 แห่ง แยกเป็นสถานที่ต่างๆ ดังนี้ 4.1 สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน 5 แห่ง 4.2 มินิมาร์ท จำนวน 19 แห่ง 4.3 ตลาดประเภท 1 จำนวน 9 แห่ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือน 2. ดำเนินการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบการอาหาร จำนวน 93 แห่ง แยกเป็น 2.1 ร้านอาหาร 66 แห่ง 2.2 ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 1 แห่ง 2.4 มินิมาร์ท 26 แห่ง 3. สุ่มตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร จำนวน ตัวอย่าง 4. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารให้พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 26 แห่ง แยกเป็นสถานที่ต่างๆ ดังนี้ 4.1 สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน 66 แห่ง 4.2 ซูปเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 1 แห่ง 4.2 มินิมาร์ท จำนวน 26 แห่ง

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

๑.สถานประกอบการอาหาร หมายถึง สถานที่จำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ๒.เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง เกณฑ์ที่ใช้ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารเพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัยของอาหารและด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหารดังนี้ 2.1 ด้านอาคารสถานที่ ต้องผ่านเกณฑ์สุขลักษณะ สถานประกอบการอาหาร 2.2 ด้านความปลอดภัยของอาหาร ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย ดังนี้ (1) อาหารและวัตถุดิบสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหาร ที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารเกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2)ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-๒) พบการปนเปื้อนไม่เกินร้อยละ 5 กรณี พบการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย หรือโคลิฟอร์ม แบคทีเรีย ให้ออกคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือคำแนะนำ ให้ผู้ประกอบการอาหารดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยโดยสุ่มตรวจวิเคราะห์ซ้ำ 2.3 ด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร และผ่านการทดสอบความรู้โดยได้รับหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร ๓. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึงร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการอาหารสามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนสถานประกอบการ อาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต สูตรคำนวณ จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร X 100 / จำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. ข้อมูลใบอนุญาตสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตตลิ่งชัน 2. ข้อมูลสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตตลิ่งชันที่ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยในปี 2562

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง