รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) : 5021-0834

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
55.00
100
100 / 100
3
80.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ 2.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินงาน พร้อมมอบหมายภารกิจ 3.สร้างเครือข่ายโครงการเที่ยวท่องล่องคลองภาษีเจริญสวย สะอาด ด้วยศาสตร์พระราชา จำนวน 1 ครั้ง 4.จัดประชุมเครือข่าย สรุปแนวทางการดำเนินการและติดตามผล จำนวน 1 ครั้ง 5.ประสานเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการตามแผน จำนวน 1 ครั้ง 6.บังคับใช้กฎหมายกับผู้รุกล้ำในคลองภาษีเจริญ จำนวน 1 ครั้ง 7.ประชาสัมพันธ์โครงการเที่ยวท่องล่องคลองภาษีเจริญสวย สะอาด ด้วยศาสตร์พระราชาผ่านสื่อต่างๆ ให้ประชาชนรับทราบ จำนวน 1 ครั้ง 8.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และส่งเสริมการคัดแยกขยะบริเวณริมคลองภาษีเจริญ จำนวน 1 ครั้ง 9.ติดตั้งจุดคัดแยกขยะในชุมชน จำนวน 1 ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 23 ธ.ค.2562)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1.สำนักงานเขตภาษีเจริญร่วมกับชุมชนในพื้นที่ร่วมกันคัดแยกขยะและทิ้งขยะตามจุดคัดแยกขยะที่สำนักงานเขตฯ ติดตั้งไว้ให้ จำนวน 1 ครั้ง 2.ประชาสัมพันธ์กิจกรรมคลองภาษีเจริญปลอดการรุกล้ำ และวางมาตรการบังคับทางกฎหมายอย่างเข้มงวด จำนวน 1 ครั้ง 3.สำนักงานเขตภาษีเจริญร่วมกับสถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้รุกล้ำในคลองภาษีเจริญ จำนวน 1 ครั้ง 4.สำนักงานเขตภาษีเจริญร่วมกับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ดำเนินการจัดระเบียบจุดจอดเรือของบริษัทฯ จำนวน 2 ครั้ง 5.ประชาสัมพันธ์กิจกรรม "เพิ่มพื้นที่สีเขียว 1,000 ต้น 1,000 ชื่อ จำนวน 1 ครั้ง 6.สำนักงานเขตภาาีเจริญร่วมกับเดอะเพรสซิเดนท์ คอนโดมิเนียมและชุมชนในพื้นที่ ร่วมกันปลูกต้นไม้ปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองให้สวยงาม จำนวน 1 ครั้ง 7.สำนักงานเขตภาษีเจริญร่วมกับชุมชนในพื้นที่ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มไล่น์เฝ้าระวังการทิ้งขยะบริเวณคลองภาษีเจริญ จำนวน 1 ครั้ง 8. สำนักงานเขตภาษีเจริญร่วมกับสำนักการระบายน้ำ ดำเนินการเพิ่มรอบการจัดเก็บขยะในคลองภาษีเจริญประจำเดือน มีนาคม 63 จำนวน 1 ครั้ง 9.สำนักงานเขตภาษีเจริญร่วมกับสถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ ดำเนินการเพิ่มมาตรการทิ้งจับปรับ จำนวน 1 ครั้ง 10.สำนักงานเขตภาษีเจริญร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สภาวัฒนธรรม ศิลปินในพื้นที่ ครูศิลปะ ร่วมกันออกแบบเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้วยการสร้างกำแพงเรื่องราวชาวภาษีเจริญ 11.สำนักงานเขตภาษีเจริญร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สภาวัฒนธรรม ศิลปินในพื้นที่ ครูศิลปะ นักเรียนร่วมกันวาดภาพ"กำแพงเรื่องราวชาวภาษีเจริญ" ให้เป็นจุด Check in และร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณท่าเรือบางหว้าให้เป็นจุด Check in 12.ดำเนินการตัดแต่งต้นไม้และเพิ่มพื้นที่สีเขียวริมคลองภาษีเจริญและบริเวณท่าเรือ (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มีนาคม 2563)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ลงนามในเงื่อนไขประกอบกการอนุญาตกระทำการใดๆ ในเขตทางของกรมทางหลวงชนบท (เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563) -ศิลปินในพื้นที่เขตภาษีเจริญ ร่วมกันวาดภาพในกิจกรรม"กำแพงเรื่องราว ชาวภาษีเจริญ" บริเวณท่าเรือบางหว้าและ ฝั่งตรงข้าม โดยดำเนินการเสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 -ลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมหารือกับตัวแทนภาคเอกชน ที่ดำเนินการปรับภูมิทัศน์ใต้สะพานถนนราชพฤกษ์ฝั่งขาเข้าตัดถนนเทอดไท ตรงข้ามท่าเรือบางหว้า ริมคลองภาษีเจริญ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์เป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจ และถ่ายรูปเช็คอิน (เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563) -ดำเนินการทาสีราวสะพานทางเดินริมคลองภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563และติดตั้งซ่อมแซมเสาปูนราวกันตกจำนวน 19 แห่ง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 -ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเที่ยวท่องล่องคลองภาษีเจริญสู่คลองบางหลวงชมวิถีชุมชนริมคลอง ทางเพจ facebook เที่ยวท่องล่องคลองภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2563 -ดำเนินการเพิ่มรอบการจัดเก็บขยะในคลองภาษีเจริญประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 (เดือนละ 1 ครั้ง) -รายงานผลการดำเนินโครงการฯ ประจำเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 ให้ผู้อำนวยการเขตภาษีเจริญทราบ(เดือนละ 1 ครั้ง)และอยู่ระหว่างการรายงานผลการดำเนินโครงการฯ ประจำเดือนมิถุนายน 2563 ให้ผู้อำนวยการเขตภาษีเจริญทราบ -เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้มีประกาศ เรื่อง การควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด 19 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2563 ขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐงดการจัดกิจกรรมรวมคนหรือกิจกรรมที่จะทำให้มีคนมารวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาด เช่น การประชุม สัมมนา อบรม ฯลฯ สำนักงานเขตภาษีเจริญ จึงงดการประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่ายโครงการฯ ครั้งที่ 2 และส่งรายงานการประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่ายโครงการฯ ครั้งที่ 1 ตลอดจนผลการดำเนินงาน ณ เดือนมิถุนายน 2563 ให้เครือข่ายโครงการฯ ทราบ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่ายโครงการฯ ครั้งที่ 3 เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการฯ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 -ดำเนินการเพิ่มรอบการจัดเก็บขยะในคลองภาษีเจริญประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563 (เดือนละ 1 ครั้ง) -รายงานผลการดำเนินโครงการฯ ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563 ให้ผู้อำนวยการเขตภาษีเจริญทราบ (เดือนละ 1 ครั้ง)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. โครงการให้บริการที่ดีที่สุด หมายถึง โครงการที่หน่วยงานคิดค้น/พัฒนา/ปรับปรุงระบบการให้บริการตามภารกิจ/อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนหรือผู้รับบริการ โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 2. การรักษาหรือคงไว้หรือพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) ที่หน่วยงานนำเสนอ เพื่อขอรับการประเมินในปีงบประมาณที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2562) (คะแนน ร้อยละ 29) เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์ต่อผู้รับบริการอย่างยั่งยืน โดยหน่วยงานต้องคัดเลือกโครงการให้บริการที่ดีที่สุดที่เคยนำเสนอ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2562 ที่มีความโดดเด่นและสำคัญอย่างน้อย 1 โครงการ เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีที่สุดของกรุงเทพมหานครพิจารณา และสำนักงาน ก.ก. จะตรวจติดตามผลการดำเนินการโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ว่าหน่วยงานยังสามารถรักษามาตรฐานการให้บริการหรือมีการพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุดให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องหรือไม่ โดยหน่วยงานต้องดำเนินการให้ได้ผลตามเป้าหมายของตัวชี้วัดโครงการที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีที่สุดของกรุงเทพมหานครกำหนด 3. การดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (คะแนนร้อยละ 69) เพื่อให้การบริการมีความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ หน่วยงานต้องดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 อย่างน้อย 1 โครงการ โดยพิจารณาจากสภาพปัญหา/ความต้องการของผู้รับบริการ โดยโครงการที่กำหนดอาจมีลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในภาคผนวกตัวชี้วัด หรือนอกเหนือจากที่ระบุในภาคผนวก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละหน่วยงาน ผู้รับบริการ หมายถึง 1. ประชาชนผู้มารับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร หรือ 2. บุคลากรหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานครที่ได้รับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. ผลคะแนนการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (คะแนนร้อยละ 98) ผลรวมของผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด หารด้วย จำนวนตัวชี้วัดทั้งหมด = ผลคะแนนการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด คิดตามสูตรการคำนวณดังนี้ ผลงานที่ทำได้จริง หารด้วย เป้าหมายของตัวชี้วัด x 100 = ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด 2. การยกระดับโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (คะแนนร้อยละ 2) โดยวัดจากการยกระดับ/การพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุดของหน่วยงานที่เคยดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2562 จนได้รับรางวัลใดรางวัลหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. โครงการให้บริการที่ดีที่สุดที่มีความโดดเด่น และ/หรือ 2. รางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร และ/หรือ 3. รางวัลเลิศรัฐ และ/หรือ 4. รางวัลอื่นๆ ที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้หากหน่วยงานไม่เคยได้รับรางวัล จะไม่ได้คะแนนในองค์ประกอบที่ 2

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. ประเมินผลสำเร็จโครงการตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในโครงการ 2. หน่วยงานต้องกำหนดตัวชี้วัดไม่เกิน 3 ตัวชี้วัด ที่สามารถวัดถึงประสิทธิภาพ และคุณภาพที่จะเกิดขึ้น จากการดำเนินโครงการ เช่น จำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น ระยะเวลาลดลง ความผิดพลาดน้อยลง มีความคุ้มค่าและประหยัดทรัพยากร ตลอดจนผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากขึ้น

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง