รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร้จของการพัฒนาฐานข้อมูล : 5024-0938

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
75.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมฝึกอบรมหลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ดังนี้ 1. หลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเบื้องต้น ได้แก่นายภูษณะ ฝักบัว เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ฝ่ายปกครอง วันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00-16.00 น ณ ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 สำนักการศึกษา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 2. หลักสูตรประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภุมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร ได้แก่นางสาวถนอม ตาลสถิตย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ฝ่่ายปกครอง วันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00-16.00 น ณ ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 สำนักการศึกษา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 3. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจการเงินและการคลัง) เชิญประชุมนักวิเคราะห์นโยบายและแผนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานด้านแผนของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร (การปชุมแนวดิ่ง) ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.30 น ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 ในระเบียบวาระที่ 4 แนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ดำเนินการทบทวนสถานะข้อมูลเชิงพื้นที่ปัจจุบัน พร้อมจัดลำดับความสำคัญแผนพัฒนาฐานข้อมูล และจัดทำปฏิทินการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขต และส่งแบบรายงานดังกล่าวให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลตามหนังสือที่ กท 6301/885 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยนำข้อมูลที่สำนักงานเขตเก็บเองเชิงพื้นที่ บันทึกเข้าในระบบฐานข้อมูล และส่งเอกสารหน้าแรกของรายการข้อมูลที่นำเข้าทั้งหมดให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือที่ กท 6301/2823 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 และปรับปรุงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลรายเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยนำข้อมูลที่สำนักงานเขตเก็บเองเชิงพื้นที่ บันทึกเข้าในระบบฐานข้อมูล และส่งเอกสารหน้าแรกของรายการข้อมูลที่นำเข้าทั้งหมดให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือที่ กท 6301/2823 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 และปรับปรุงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลรายเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงทีเกิดขึ้น และได้มีการรวบรวมเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ในสื่อต่าง ๆ ฐานข้อมูล (Databast) หมายถึงกลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data File) เดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล (Data File) ความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การจัดการฐานข้อมูล (Databast) โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

แนวทางการประเมินผล พิจารณาจากกระบวนการในการดำเนินงาน ทั้งการทบทวนระบบข้อมูลที่ต้องการในการปฏิบัติงานและติดตามผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ การจัดทำแผนพัฒนาระบบข้อมูล การพัฒนาฐานข้อมูล และการนำเข้าข้อมูลของหน่วยงาน โดยมีวิธีวิธีการดำเนินการทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นตอนที่ 1 หน่วยงานทบทวนสถานะข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล หรือฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากนโยบาย แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร มาตรฐานบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร เป้นต้น 2. ขั้นตอนที่ 2 หน่วยงานนำข้อมูลตามขั้นตอนที่ 1 ซึ่งเป็นข้อมูลจำเป็นตามภารกิจหลักมาจัดลำดับความสำคัญและพิจารณาคัดเลือกภารกิจหลัก ที่จะดำเนินการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล จำนวน 1 ฐานข้อมูล 3.ขั้นตอนที่ 3 เมื่อการพิจารณาจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว หน่วยงานต้องจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลภายในเดือนมกราคม 2563 โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ 3.1 จัดทำรายละเอียดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ 3.2 กำหนดแหล่งข้อมูลในการจัดเก็บขอมูล 3.3 ออกแบบการจัดเก็บข้อมูล 3.4 กำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของหน่วยงาน 3.5 กำหนดเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล 3.6 จัดทำปฏิทินการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนที่ 4 หน่วยงานดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูล ซึ่งสามารถเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศกรุงเทพมหานคร ที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 ขั้นตอนที่ 5 หน่วยงานนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลตามขั้นตอนที่ 4 โดยเริ่มนำข้อมูลเข้าครั้งแรกในเืดอนมิถุนายน 2563 ซึ่งการดำเนินงานตามตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลต้องเป็นไปตามแนวทางและปฏิทินที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด และต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนโดยไม่ข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานตามรูปแบบที่ สยป กำหนด 2. การนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลของหน่วยงาน 3. การรายงานผลการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลจากระบบติดตามประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร Daily Plans และ BMA Monitor Application ซึ่งหน่วยงานผู้รับการประเมินต่องดำเนินการ ดังนี้ 3.1 มีการกำหนดโครงการ/กิจกรรมรองรับการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามขั้นตอนของโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด บันทึกเข้าสู่้ระบบติดตามประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร Daily Plans เป็นประจำทุกเดือน 3.2 รายงานผลตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร Daily Plans อย่างต่อเนื่องเป็นรายไตรมาส 3.3 ผลการดำเนินงานตัวชี้วัด โครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานที่รายงานเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร Daily Plans ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ถือว่าเป็นข้อมูลผลดำเนินงานตามตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลที่สำนักยุทธศ่าสตร์และประเมินผลใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๓ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีประสิทธิภาพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง