ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
- สำนักงานเขตจตุจักรได้ลงสำรวจคลองเปรมประชากร และคลองลาดพร้าว เพื่อจัดทำแผนการปฏิบัติการปรับปรุงคลองฯส่งสำนักการระบายน้ำ - สำนักงานเขตจตุจักรได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมย่อยในการพิจารณาการจัดทำแผนฯเพื่อปรับปรุงคลองฯโดยในที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานเขตจตุจักรดำเนินการพัฒนาคลองบางซื่อไปด้วย - สำนักงานเขตจตุจักรได้จัดทำแผนปฏิบัติการปรับปรุงภูมิทัศน์ฯ จัดทำแบบสรุปผลการสำรวจพื้นที่คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว และคลองบางซื่อ รวมทั้งได้จัดทำโครงการพัฒนา และอนุรักษ์คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว ในพื้นที่เขตจตุจักร
คลองในพื้นที่ที่สำนักงานเขตรับผิดชอบ 3 คลอง (คลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อ) สำนักงานเขตได้ดำเนินการตามภารกิจของหน่วยงานดังนี้ ประชุมร่วมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานสำนักระบายน้ำ นำผลการสำรวจมาวิเคราะห์แล้วจัดทำแผนส่งสำนักการระบายน้ำแล้ว ในส่วนสำนักงานเขตต้องดำเนินงานในภาพรวมบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ ได้สำรวจพื้นที่คลองลาดพร้าว และคลองเปรมประชากรร่วมกับ สนน. สนย. สจส. สวล.และสนท.เพื่อกำหนดจุดเช็คอิน 2 จุด - คลองลาดพร้าว กำหนดจุดเช็คอินตรงพื้นที่ว่างริมคลองลาดพร้าวหลัง PAR 3 (ระหว่างชุมชนพหลโยธิน 32 และชุมชนหลัง วค.จันทรเกษม) - คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว กำหนดจุดเช็คอินตรง พื้นที่ว่างชุมชนประชาร่วมใจ 2
คลองในพื้นที่ที่สำนักงานเขตรับผิดชอบ 3 คลอง (คลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อ) สำนักงานเขตได้ดำเนินการตามภารกิจของหน่วยงานดังนี้ ประชุมร่วมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานสำนักระบายน้ำ นำผลการสำรวจมาวิเคราะห์แล้วจัดทำแผนส่งสำนักการระบายน้ำแล้ว ในส่วนสำนักงานเขตต้องดำเนินงานในภาพรวมบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ ได้สำรวจพื้นที่คลองลาดพร้าว และคลองเปรมประชากรร่วมกับ สนน. สนย. สจส. สวล.และสนท.เพื่อกำหนดจุดเช็คอิน 2 จุด - คลองลาดพร้าว กำหนดจุดเช็คอินตรงพื้นที่ว่างริมคลองลาดพร้าวหลัง PAR 3 (ระหว่างชุมชนพหลโยธิน 32 และชุมชนหลัง วค.จันทรเกษม) - คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว กำหนดจุดเช็คอินตรง พื้นที่ว่างชุมชนประชาร่วมใจ 2 - คลองบางซื่อ กำหนดจุดเช็คอิน หลังตลาด อตก.
สำนักงานเขตจตุจักรได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองในพื้นที่ จำนวน 3 คลอง ได้แก่ คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว และคลองบางซื่อ คลองเปรมประชากรสามารถดำเนินการได้ ระหว่าง(สะพานรถไฟสายใต้ถึงชุมชนประชาร่วมใจ 1 หลังวัดเสมียนนารี) รวมระยะทาง 2.4 ก.ม. ได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองโดยจิตอาสาฯ และภาคีเครือข่าย เช่น ประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง ประชาสัมพันธ์ไม่วางสิ่งของกีดขวางทางเดินรวมทั้งตัดและตกแต่งกิ่งไม้ริมคลอง ตรวจซ่อมสะพานข้ามคลองชุมชนสวนและสะพานข้ามคลองชุมชนประชารวมใจ 2 ให้มีความมั่นคงปลอดภัย นอกจากนี้สำนักงานเขตยังได้ดำเนินการสำรวจและติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างแบบอัตโนมัติโซล่าเซลล์ ริมคลองชุมชนประชาร่วมใจ 2 จำนวน 40 ดวง และยังสร้างจุดเช็คอินบริเวณ จุดสะพานข้ามคลองชุมชนประชาร่วมใจ 2 เพื่อเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่และสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในโอกาศต่อไป คลองลาดพร้าว สำรวจแล้วพบพื้นที่ที่มีดำเนินการได้ ระยะทาง 900 เมตร ระหว่างชุมชนหลัง วค.จันทรเกษม - พื้นที่ว่าง หลัง Pa 3 การดำเนินการในพื้นที่นี้ได้ประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนได้ทิ้งขยะลงคลอง ประกอบกับติดป้ายประชาสัมพันธ์ไม่ทิ้งขยะ ในพื้นที่ยังได้ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่ว่างให้เป็นที่พักผ่อน และสร้างจุดเชคอินไว้ให้บริการในการเก็บภาพและส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนาคตส่วนในด้านความปลอดภันนั้นสำนักงานเขตจตุจักรได้สำรวจและติดตั้งไฟฟ้าส่งสว่างแบบอัตโนมัติโซล่าเซลล์ บริเวณพื้นที่จุดเช็คอินไปตลอดถึงหลังชุมชน หลัง วค.จันทรเกษม จำนวน 20 ดวง อีกทั้งยังได้ประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตกับสำนักระยายน้ำในการซ่อมแซมท่าน้ำจุดหลังชุมชนหลัง วค.จันทรเกษม คลองบางซื่อสำรวจแล้วพบพื้นที่ที่มีดำเนินการได้ ระยะทาง 380 เมตร หลังตลาด อตก. ตลอดแนวคลองบางซื่อส่วนใหญ่จะติดกับบ้านพักอาศัยของประชาชนที่มีการก่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วและคลองบางซื่อนั้นใช้เป็นคลองสำหรับระบายน้ำในการดำเนินงานกระทำได้ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนริมคลองได้แก่ชุมชนโชคชัยร่วมมิตรไปจนถึงตลาด อตก. เพื่อไม่ให้ทิ้งขยะและปล่อยของเสียลงคลองตลอดจนประชาสัมพันธ์ไม่ให้วางสิ่งของลุกล้ำทางเดินทั้งนี้สำนักงานเขตได้ติดป้ายประชาสัมพันธ์ไม่ให้ทิ้งขยะลงคลอง การปรับภูมิทัศน์ได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ร่วมกับเครือข่ายประชาคมตลาด อตก. พื้นพัฒนาพื้นที่ริมคลองโดยปลูกผักกินได้จากการมีส่วนร่วมของประชาชนมาร่วมกันปลูกภายใต้ชื่อโครงการ บางซื่อ@จตุจักร คลองนี้มีรักปลูกผักแบ่งปัน จึงได้ทำกำหนดจุดเช็คอินไว้ตรงหลังตลาด อตก.
การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด ตามเอกสารแนบ 1 การดำเนินการของแต่ละหน่วยงานประกอบด้วย ๑. สำนักการระบายน้ำ 1.๑ ดำเนินการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2563 ๑.๒ ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองสายหลัก ตามแผนที่กำหนด คลองละ 2 จุด ทั้งก่อนและหลังดำเนินการกิจกรรมด้านการรักษาความสะอาด เพื่อหาค่าออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen : DO) ค่าปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand : BOD) และค่าแอมโมเนียไนโตรเจน (Ammonia Nitrogen : NH3N) ๑.๓ เก็บขยะในคลองและทางเดินริมคลอง และขัดล้างทำความสะอาดเขื่อนผนังกั้นน้ำ บริเวณคลองสายหลักของกรุงเทพมหานคร ๑.๔ ขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหล หรือดูดตะกอนดินเลน ๑.๕ ตรวจสอบและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบตลอดแนวคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น เช่น ราวกันตกริมคลองสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ ฯลฯ ๒. สำนักสิ่งแวดล้อมจัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามแนวคลองโดยมีรายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม เพื่อดำเนินการ สร้างความร่มรื่นหรือตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ 3. สำนักการโยธาจัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมายเพื่อซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลองที่อยู่ในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 4. สำนักการจราจรและขนส่งจัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ ตรวจสอบและซ่อมแซมท่าเทียบเรือและติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV โดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ติดตั้งป้ายบอกทาง ตรวจสอบและซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 5. สำนักเทศกิจจัดทำแผนการตรวจและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลอง เพื่อเสนอแนะโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อใช้เป็นมาตรการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันการเกิดพื้นที่เสี่ยงอาชญากรรม 6. สำนักงานเขต 6.1 จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความรับผิดชอบของเขตโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 6.2 บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลองผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน 6.3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชน ในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดินข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ 6.4 สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน 6.5 สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพาน ข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 6.6พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check inติดตั้ง ป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ 1 จุดต่อคลอง สัดส่วนความสำเร็จในการบูรณาการการดำเนินการ ประกอบด้วย 1. ความสำเร็จตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน หมายถึง ความสำเร็จซึ่งเป็นไปตามแผนฯ ที่หน่วยงานนำเสนอ คิดเป็นร้อยละ 60 2.ความสำเร็จในภาพรวมหมายถึง ความสำเร็จซึ่งเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามข้อ 1. ของทุกหน่วยงาน และส่งผลให้สภาพของคลอง มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัย สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากสภาพภูมิทัศน์ของคลองซึ่งเป็นไปตามที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 40 ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการกับคลองเป้าหมาย ตามเอกสารแนบ 1 โดยจัดทำแผนการดำเนินงานตามภารกิจที่รับผิดชอบ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2563 และรายงานผลผ่านระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digital plans)
นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงาน ตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม
1. เอกสารประกอบการดำเนินการ 2. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digitalplans) หลักฐาน 1. แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 2. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 3. ภาพถ่ายกิจกรรมก่อน - หลัง ดำเนินการ ฯลฯ
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ |