ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1.ลงพื้นที่สำรวจคลองและปัญหาที่พบ 2.ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติการฯ โครงการ เพื่อดำเนินการตามตัวชี้วัด
- จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลอง - รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำ - บริหารจัดการขยะ ติดตะแกรงขยะ - สำรวจไฟฟ้า กล้อง CCTV และซ่อมแซมสะพานให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น และพัฒนาจุดเช็คอิน
องค์ประกอบที่ 1 ด้านความสวยงาม - สำรวจข้อมูลเบื้องต้นวันที่ 8 มกราคม 2564 - ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธา ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ฝ่ายปกครอง และผู้บริหารลงพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เชิญชวนประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาคลองสวนหลวง 2 - ประชุมโครงการ ณ ที่ทำการชุมชน วันที่ 14 มกราคม 2564 , เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ วันที่ 16 มกราคม 2564 - เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธา และฝ่ายรักษาความสะอาดฯ มีการพัฒนาสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์และสร้างจุด Check in 1 จุด - ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงบ้านเรือน ริมคลองให้สวยงามหรือมีสภาพดีขึ้น องค์ประกอบที่ 2 ด้านความสะอาด - มีการประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ ห้ามทิ้งขยะลงคลอง โดยการเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ - ดำเนินการจัดเก็บขยะในคูคลอง กำจัดวัชพืชในคลองเปิดทางน้ำไหลตามจุดที่มีน้ำท่วมขัง - เก็บขยะบริเวณทางเดินริมคลองตลอดแนวคลอง -จัดกิจกรรมจิตอาสา 5 ครั้ง14 ม.ค.64 , 18 ก.พ.64 , 11 มี.ค.64 , 8 เม.ย.64 ,23 เม.ย.64 - ติดตั้งตะแกรงเหล็กหน้ามัสยิดอัลอะติ๊ก,แยกคลองสวนหลวง, สามแยกปลายคลองสวนหลวง,ปากซอยเจริญกรุง 85แยก 16 องค์ประกอบที่ 3 ด้านความปลอดภัย - สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น - เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธามีการตรวจสอบและซ่อมแซม สิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลอง (ราวกันตกและสะพานข้ามคลองในความรับผิดชอบ) ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น -เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธาประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อแก้ไขไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณทางเดินริมคลองตามที่ได้มีการสำรวจ เพื่อให้เส้นทางริมคลองมีแสงสว่างอย่างเหมาะสมในเวลากลางคืน
ดำเนินการตามแผนและส่งรายงานสรุปผลการดำเนินงานให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เรียบร้อยแล้ว
นิยาม การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด การดำเนินการของแต่ละหน่วยงานประกอบด้วย 1. จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความรับผิดชอบของเขตโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 2. บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลองผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน 3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชน ในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดินข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ 4. สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน 5. สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพาน ข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 6. พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check inติดตั้งป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ 1 จุดต่อคลอง
วิธีคำนวณ นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงาน ตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน 1. เอกสารประกอบการดำเนินการ 2. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digitalplans) หลักฐาน 1. แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 2. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 3. ภาพถ่ายกิจกรรมก่อน - หลัง ดำเนินการ ฯลฯ
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม |
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า% |
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต |