รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

2.1 ร้อยละความสำเร็จของการใช้จ่ายงบประมาณ : 5032-0771

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 76.23

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
8.00
100
100 / 100
2
40.40
100
100 / 100
3
50.81
0
0 / 0
4
76.23
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-การใช้จ่ายงบประมาณ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เบิก-จ่ายงบประมาณในภาพรวมได้ 50.81% 1) เงินเดือนและค่าจ้างประจำ 37.07% 2) ค่าจ้างชั่วคราว 36.04% 3) ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ 59.24% 4) ค่าสาธารณูปโภค 51.80% 5) ค่าครุภัณฑ์ 24.54% 6) ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 100% 5) เงินอุดหนุน 71.54% 6) รายจ่ายอื่น 77.46%

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-การเบิกจ่ายงบประมาณร่างจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวม 5 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น รวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ณ 15 กันยายน 2563 เบิก-จ่ายงบประมาณรวมได้ 76.237%

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม หมายถึง หน่วยงานสามารถดำเนินการเบิกจ่าย งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวม 5 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่ำครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น รวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 (ไม่รวมงบประมาณ รายจ่ายประจำปี หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการ และลูกจ้าง งบกลาง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเงินกัน ไว้เบิกเหลื่อมปี) 2. จำนวนเงินงบประจำปีที่เบิกจ่ายจริงสะสม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 หมายถึง ผลรวมของการเบิกจ่าย งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวม 5 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่ำตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่ำครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น รวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 (ไม่รวมงบประมาณ รายจ่ายประจำปี หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้าชั่วคราว งบกลาง รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการ และลูกจ้าง งบกลาง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเงินกัน ไว้เบิกเหลื่อมปี) 3. งบประจำปีหลังปรับโอน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 หมายถึง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวม 5 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่ำตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น รวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับ จัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 (ไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินเดือน และค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง งบกลาง รายการ เงินบำเหน็จลูกจ้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม = จำนวนเงินงบประจำปีที่เบิกจ่ายจริงสะสม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 หาร งบประจำปีหลังปรับโอน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 x 100 = ก% *นำร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ได้ (ก%) มาเทียบกับเกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน : ช่วงการปรับเกณฑ์การให้คะแนน +/- ร้อยละ 10 ต่อ 1 คะแนน 1 = 60 2 = 70 3 = 80 4 = 90 5 = 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

การดำเนินการ : 1. หน่วยงานเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ รวมถึงบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศของ กรุงเทพมหานครให้เป็นปัจจุบันเสมอ 2. สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณจากระบบสารสนเทศของ กรุงเทพมหานคร ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 และประเมินผลสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณของแต่ละหน่วยงาน ตามกรอบการประเมินผลและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดที่ 2.1 ส่งให้สำนักงาน ก.ก. หรือคณะกรรมการตรวจติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร แนวทางการประเมินผล และเอกสาร/หลักฐานประกอบการพิจารณาประเมินผล : สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร จะตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณจากระบบสารสนเทศของ กรุงเทพมหานคร หากระบบสารสนเทศฯ ขัดข้อง ไม่สามารถเข้าตรวจสอบข้อมูลได้ ให้หน่วยงานผู้รับการประเมิน จัดเตรียมเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณไว้ที่หน่วยงาน พร้อมให้ผู้ประเมินผลตรวจสอบ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการประเมินผล เกณฑ์การประเมินผลอาจมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ดังนี้ 1. กรณีสถานการณ์การจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานครถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไม่เป็นไปตาม ประมาณการที่ตั้งไว้ ตลอดจนสภาวการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ 2. กรณีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ%
:๗.๔.๑.๓ กรุงเทพมหานครสามารถรักษาวินัยทางการเงินการคลังทั้งในระยะสั้นและ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง