รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน : 5032-0777

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
70.00
100
100 / 100
3
70.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ยังไม่สามารถประมวลผลความก้าวหน้าได้

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ยังไม่มีรายลเอียดผลการดำเนินงานจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-1. รายงาน่ผลการดำเนินงานตาม แบบรายงาน OCC3(63) 1.1 กำหนดข้อปฏิบัติ แนวทางการทำงานว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.2 สำรวจจำนวน และบันทึกประวัติโดยย่อของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน 1.3 จัดฝึกอบรม เรื่อง อันตรายที่อาจจะเกิดจากการทำงาน อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยและการดูแลสสุขภาพอนามัย 1.4 บันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุหรือการประสบอันตรายจากการทำงาน หรือการเจ็บป่วยจาการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งสรุปรายงานประจำเดือน 1.5 จัดทำบันทึกการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 2. รายงานการใช้ข้อปฏิบัติฯ กลาง (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 2 (แบบ R2(63)) 3. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมฯ รายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานและส่งสำนักอนามัยภายในวันที่ 30 เมษายน 2563

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีสุขภาพอนามัยที่ดีปลอดโรคปลอดภัยในการทำงาน โดยการจัดสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สะอาดปลอดโรค ปลอดภัย ส่งเสริมการมีสุขภาพอนามัยในการทำงานที่ดี โดยนำหลักการด้านอาชีวอนามัยมาประยุกต์ใช้ได้แก่ การสืบค้น (Identify) การประเมินอันตรายหรือการประเมินความเสี่ยง (Evaluation) และการควบคุม (Control) เพื่อนำไปสู่การจัดการ ควบคุมและป้องกันอันตรายจากการทำงานอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ โดยได้ กำหนดสิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงาน จำนวน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1. สิ่งคุกคามด้านกายภาพ (physical hazard) 2. ด้านเคมี (chemical hazard) 3. ด้านชีวภาพ (biological hazard) 4. ด้านการยศาสตร์ (ergonomic hazard) 5. ด้านจิตวิทยาสังคม (psychosocial health hazard) 6.ด้านความปลอดภัย (safety hazard) 7. ด้านอัคคีภัย และ 8. ด้านอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายตามที่กล่าวมาในปีนี้ กำหนดแผนการดำเนินงานในลักษณะต่อเนื่อง โดยเป็นการต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) และขยายผลการดำเนินงานจัดการงานที่มีความเสี่ยงสูง (เพิ่มเติม) โดยมุ่งหวังให้มีการคุ้มครองสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานครอย่างครอบคลุมครบถ้วนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนแรก ต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) ที่ดำเนินการในปีที่ผ่านมา และขยายผลการดำเนินงานจัดการงานที่มีความเสี่ยงสูง (เพิ่มเติม) ส่วนที่สอง นำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลางสำหรับการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูง เวียนทราบและถือปฏิบัติในหน่วยงานโดยทั่วกัน ทั้งนี้ ในส่วนของการประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัดที่ 4.2 ในปีนี้ ยังคงวัดความสำเร็จเป็นแบบผสมผสาน (Hybrid) คือ ประเมินความสำเร็จจากความก้าวหน้าขั้นตอนการดำเนินงาน และประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน คัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูงนำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน คัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงในปีที่ผ่านมา นำมาต่อยอดพัฒนางาน อย่างน้อย 1 งาน และนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ดำเนินโครงการตามแผนงานและกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัยภายในเดือนเมษายน 2563 ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ขั้นตอนที่ 4 จัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน พร้อมติดตามและประเมินผลการใช้งานข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานฯที่ดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลาง การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัยและจัดส่งผลการดำเนินการและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน : ระดับที่ 1 ประกอบด้วย 4 ส่วน ส่วนที่ 1 มีการทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน พร้อมกับคัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาดำเนินการจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน ส่วนที่ 2 มีการพิจารณาคัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงไปแล้วในปีที่ผ่านมา โดยนำมาต่อยอดพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น อย่างน้อย 1 งาน ส่วนที่ 3 มีการนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน ส่วนที่ 4 มีการรายงานผลการดำเนินงานพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่ 1 ถึง 3 ให้สำนักอนามัยภายในเดือนธันวาคม 2562 ระดับที่ 2 ประกอบด้วย 4 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ระดับที่ 1 ครบถ้วน ส่วนที่ 2 มีโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ส่วนที่ 3 มีการดำเนินโครงการและกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ส่วนที่ 4 มีการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัย ภายในเดือนเมษายน 2563 ระดับที่ 3 ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ระดับที่ 1 และ 2 ครบถ้วน ส่วนที่ 2 มีการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ระดับที่ 4 ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ระดับที่ 1 ถึง 3 ครบถ้วน ส่วนที่ 2 มีการจัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน ส่วนที่ 3 มีการติดตามและประเมินผลการใช้งานข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระดับที่ 5 ประกอบด้วย 4 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ระดับที่ 1 ถึง 4 ครบถ้วน ส่วนที่ 2 มีการดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 มีการสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ ส่วนที่ 4 มีการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัย พร้อมจัดส่งผลการดำเนินการและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

แนวทางการประเมินผล : 1. ดำเนินการครบถ้วนตามขั้นตอนและเป็นไปตามเงื่อนไขที่สำนักอนามัยกำหนด : ได้คะแนนเต็ม 2. ไม่เป็นไปตามขั้นตอน / ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่สำนักอนามัยกำหนด 2.1 เกินกำหนดเวลา หักวันละ 0.2 คะแนนต่อวันทำการ (พิจารณาจากวันประทับเรื่องจากสำนักอนามัยหรือ ตามที่สำนักอนามัยกำหนด) 2.2 ไม่ถูกต้อง / ไม่ครบถ้วน / ไม่เรียบร้อย - สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย ประสานแจ้งผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด 4.2 ของหน่วยงานให้มารับเรื่องปรับแก้ ภายใน 3 วันทำการนับจากที่ได้รับการประสาน กรณีไม่มารับเอกสารภายในเวลาที่กำหนดหักคะแนน 0.2 คะแนนต่อวันทำการ - ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด 4.2 ของหน่วยงาน มารับเอกสารพร้อมลงลายมือชื่อรับเอกสารที่จะปรับแก้ ณ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย ชั้น 8 อาคารสำนักงานเขตราชเทวี กำหนดระยะเวลาในการแก้ไข 5 วันทำการนับถัดจากวันที่รับเรื่อง เมื่อปรับแก้แล้วเสร็จให้นำส่งคืนที่สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัยเกินเวลาที่กำหนดหักคะแนน 1 คะแนน กำหนดให้แก้ไข 1 ครั้ง เท่านั้น หลักฐานประกอบการพิจารณาประเมินผล : 1. หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน การคัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาดำเนินการจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน และหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการพิจารณาคัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงไปแล้วในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะนำมาต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) อย่างน้อย 1 งาน โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 2. หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย จำนวน 3 ครั้ง (ครั้งแรก : ภายในเดือนธันวาคม 2562 ครั้งที่สอง : ภายในเดือนเมษายน 2563 และครั้งสุดท้าย : ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563) 3. สำเนาโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 4. หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินโครงการฯ และการกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 5. หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 6. หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการจัดทำและการนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน โดยจัดส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 7. หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการติดตามและประเมินผลการใช้งานตามแนวทาง ข้อปฏิบัติฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 8. หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 9. หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงหัวหน้าหน่วยงานรับทราบผลการดำเนินงานทั้งหมด โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ทั้งนี้ เงื่อนเวลาที่กำหนดในข้อ 1 ถึง 9 จะพิจารณาจากวันประทับเรื่องจากสำนักอนามัย หรือ ตามที่สำนักอนามัยกำหนด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง