รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2560 : 5033-0795

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 30

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 119.58

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
100
100 / 100
2
43.88
0
0 / 0
3
93.41
0
0 / 0
4
119.58
0
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1. จัดทำโครงการและได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว 2. เจ้าหน้าที่ได้จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการจัดทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำยาอเนกประสงค์ เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน และเพื่อใช้ในการจัดอบรมสาธิตการดำเนินการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์ให้กับประชาชนและชุมชนในพื้นที่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. จัดทำโครงการ “ส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์” และจัดทำแผนการอบรมสาธิตให้ความรู้กับประชาชนและชุมชนในพื้นที่ตามที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด จำนวน 12 ครั้ง/ปี 2. ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 และเจ้าหน้าที่ได้จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำยาเอนกประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชน และใช้ในการอบรมสาธิตการดำเนินการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์ให้กับประชาชนและชุมชนในพื้นที่ 3. เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่อบรมสาธิตให้ความรู้แก่ประชาชน จำนวน 2 ครั้ง (จากทั้งหมด 12 ครั้ง) 4. ดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยอินทรีย์จากแหล่งกำเนิดเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 ได้จำนวน 15,192.87 ตัน คิดเป็นร้อยละ 43.88 จากค่าเป้าหมายที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. โครงการ “ส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์” จัดทำแผนอบรมสาธิตให้ความรู้กับประชาชน เป้าหมาย 12 ครั้ง/ปี ดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในการอบรมสาธิตและแจกจ่ายให้กับประชาชน และดำเนินการอบรมสาธิตให้ความรู้กับประชาชนแล้ว จำนวน 4 ครั้ง และมีการปรับแผนการลงพื้นที่เพื่ออบรมสาธิตให้ความรู้แก่ประชาชนจากเดิมให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2564 เป็นให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2564 2. การคัดแยกขยะมูลฝอยอินทรีย์จากแหล่งกำเนิดเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ เป้าหมายที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด คือ 34,621.84 ตัน/ปี สำนักงานเขตคลองเตยได้บันทึกข้อมูลในระบบ Google Drive ของสำนักสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – มิถุนายน 2564 ได้จำนวน 32,340.86 ตัน คิดเป็นร้อยละ 93.41

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. จัดการมูลฝอยตามแนวทางของเสียเหลือศูนย์ (ZEROWASTE) “ขยะถูกคัดแยกไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เหลือขยะที่ต้องส่งไปกำจัดให้น้อยที่สุด” – สำนักงานเขตคลองเตยดำเนินกิจกรรมสำนักงานเขตปลอดขยะ (Zero Waste District) เป็นประจำทุกเดือน โดยรณรงค์ให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการลดและคัดแยกขยะรีไซเคิล ขยะเศษอาหารนำกลับมาใช้ประโยชน์ และคัดแยกขยะอันตรายและขยะทั่วไปนำไปกำจัด – สำนักงานเขตคลองเตยดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะและนำกลับไปใช้ประโยชน์ ดังนี้ 1) กิจกรรมขยะรีไซเคิลแลกไข่ 2) กิจกรรมกล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ โดยคัดแยกกล่องเครื่องดื่มจากโรงเรียนนำไปรีไซเคิล 3) กิจกรรมการรณรงค์การรับรู้ปัญหาขยะและการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีตามหลัก 3R 2. จัดให้มีภาชนะใส่ขยะแยกประเภทใช้ประโยชน์หรือแยกไว้ส่งกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะโดยจัดให้มีถังรองรับขยะประจำวัน 2 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล 1 จุด ต่อ 1 ฝ่าย/กลุ่มงาน และฝ่าย/กลุ่มงานมอบผู้รับผิดชอบเก็บขยะรีไซเคิลขาย และนำขยะทั่วไปทิ้งยังจุดทิ้งขยะของหน่วยงาน พร้อมบันทึกน้ำหนักเพื่อส่งรายงานผลประจำเดือน – สำนักงานเขตคลองเตย ตั้งวางถังพลาสติกตามโครงการ “วน” เพื่อลดขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าลิฟท์ ชั้น 1 และจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายจากขยะพลาสติก เพื่อประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ – ตั้งถังรองรับขยะแยกประเภท 2 ประเภท ในที่สาธารณะ สถานที่ท่องเที่ยว และสวนสาธารณะ ดังนี้ 1) MRT ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษก 2) ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนพระราม 4 3) สวนเบญจสิริ 3. ตั้งจุดรับขยะอันตราย อย่างน้อย ส่วนราชการละ 1 จุด สำหรับ “ขยะอันตรายชิ้นเล็ก” เช่น ถ่านไฟฉาย กระดาษคาร์บอน ปากกา ฯ ส่วน “ขยะอันตรายชิ้นใหญ่” เช่น กระป๋องสเปรย์ หลอดไฟ หมึกพิมพ์ ฯ นำทิ้งที่จุดรวมขยะอันตรายที่ส่วนราชการกำหนด และประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนทราบจุดทิ้งขยะอันตราย มอบหมายเจ้าหน้าที่รวบรวมส่งให้เจ้าหน้าที่เก็บขนมูลฝอยจากสำนักงานเขต ตามวัน/เวลาที่กำหนด - สำนักงานเขตคลองเตยตั้งจุดทิ้งมูลฝอยอันตรายภายในสำนักงานเขต จำนวน 3 จุด ดังนี้ 1) ภายในอาคารสำนักงานเขตจำนวน 3 จุด ได้แก่ บริเวณหน้าลิฟท์ ชั้น 1 บริเวณทางเดินชั้น 2 และหน้าเรือนเพาะชำ 2) สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 4 จุด ได้แก่ ปั๊มเชลล์ ถนนพระราม 4 ปั๊มเอสโซ่ ถนนพระราม 4 ปั๊มเอสโซ่ ถนนสุขุมวิท และปั๊ม ปตท. ถนนพระราม 4 3) ชุมชนเขตคลองเตย จำนวน 1 จุด/ชุมชน (ทั้งหมด 39 ชุมชน) 4) ศาสนสถาน จำนวน 1 จุด ได้แก่ วัดสะพาน เขตคลองเตย 5) สถานศึกษา จำนวน 7 จุด ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก โรงเรียนดาราคาม โรงเรียนวัดสะพาน โรงเรียนปทุมคงคา โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ โรงเรียนวัดคลองเตย และโรงเรียนชุมชนหมูบ้านพัฒนา 6) ห้างสรรพสินค้า/โรงแรม จำนวน 2 จุด ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าดิเอ็มโพเรียม และโรงแรมดิเอมโพริโอ 4. ตั้งภาชนะใส่กระดาษใช้แล้ว 1 หน้า ไว้ใช้หน้าถัดไป โดยประทับตราหน้าที่ใช้แล้วด้วยตัวอักษรสีแดง เช่น “กระดาษใช้สองหน้า รักษาสิ่งแวดล้อม” - สำนักงานเขตคลองเตยดำเนินการตั้งภาชนะใส่กระดาษใช้แล้ว 1 หน้า ไว้ใช้หน้าถัดไป จำนวน 1 จุด/ฝ่าย 5. ตั้งภาชนะใส่กระดาษใช้แล้ว 2 หน้า “แยกไว้เป็นขยะรีไซเคิล” ไม่ทิ้งกระดาษลงถังขยะรีไซเคิล หรือถังขยะทั่วไป เพราะจะทำให้กระดาษเปียกชื้นสูญเสียสภาพไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ - สำนักงานเขตคลองเตยดำเนินการตั้งถังรองรับมูลฝอยแยกประเภท จำนวน 1 จุด/ฝ่าย 6. จัดจุด “ถุงผ้าให้ยืม” ปฏิเสธการใช้กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก “ใช้กล่องข้าว กระบอกน้ำ แก้วน้ำส่วนตัว” - สำนักงานเขตคลองเตยจัดจุด ถุงผ้าให้ยืม และประชาสัมพันธ์ให้เปลี่ยนจากการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วและกล่องโพม เป็นถุงผ้า แก้วน้ำส่วนตัวและกล่องใส่ข้าวแทน 7. สร้างลักษณะนิสัยแยกก่อนทิ้ง ด้วยการรณรงค์สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรและ ผู้มาติดต่อให้ “คิดก่อนทิ้ง ทิ้งขยะให้ถูกถัง” - สำนักงานเขตคลองเตยจุดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด โดยการให้ความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีตามหลัก 3R และให้ “คิดก่อนทิ้ง ทิ้งขยะให้ถูกถัง” แก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ 8. การคัดแยกขยะมูลฝอยอินทรีย์จากแหล่งกำเนิดเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ เป้าหมายที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด คือ 34,621.84 ตัน/ปี สำนักงานเขตคลองเตยได้บันทึกข้อมูลในระบบ Google Drive ของสำนักสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 ได้จำนวน 41,400.51 ตัน คิดเป็นร้อยละ 119.58

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. มูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิด หมายถึง มูลฝอยที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ซึ่งคัดแยกจากบ้านเรือน ชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลาด สถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ 2. นำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ตามคุณสมบัติของมูลฝอย เช่น ขาย ทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงสัตว์ แปรรูป ถมที่ ฯลฯ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละของปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เท่ากับปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 256๔ ลบ ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 หาร ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 คูณ 100 (ปริมาณมูลฝอยตั้งแต่ ต.ค.63 - ก.ย. 64)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. รายงานผลตามแบบประเมินที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด 2. แบบรายงานการเก็บรวบรวมปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ประจำปี 2564 3. ภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรม

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
:๑.๑.๒.๑ ลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง