รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

จำนวนการปลูกต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่เขตที่ได้รับการพัฒนาจากกิจกรรมของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร : 5034-0884

ค่าเป้าหมาย ต้น : 75

ผลงานที่ทำได้ ต้น : 240

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ต้น)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
240.00
0
0 / 0
4
240.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

สำรวจพื้นที่ในการปลูกต้นไม้เเละจัดทำแผนการจัดกิจกรรม

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ จำนวน 3 ครั้ง - จัดกิจกรรมถ่ายทอดทักษะทางการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป หัวข้อ “การปฏิบัติดูแลรักษาพืชยืนต้นสำหรับชุมชนเมือง” วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชน 3 ชุมชน ชุมชนสุเหร่าจรเข้ขบ ชุมชนจรเข้ขบ (เกาะล่าง) ชุมชนมัสยิดดอกไม้ จำนวน 42 คน ณ โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ - จัดกิจกรรมถ่ายทอดทักษะทางการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป หัวข้อ “การปฏิบัติดูแลรักษาพืชยืนต้นสำหรับชุมชนเมือง” วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชน 11 ชุมชนที่อยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์ จำนวน 67 คน ณ โรงเรียนสุเหร่าทางควาย - จัดกิจกรรมถ่ายทอดทักษะความรู้ทางการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป หัวข้อ “การปฏิบัติดูแลรักษาพืชยืนต้นสำหรับชุมชนเมือง” วันที่ 26 กรกฎาคม 2563 จำนวน 41 คน ณ ชุมชนกระทุ่มเสือปลา

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ยืนต้น(ต้นทองอุไร) จำนวน 120 ต้น บริเวณพื้นที่ว่างริมคลองประเวศบุรีรมย์ในพื้นที่ชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563 - จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ยืนต้น(ต้นทองอุไร) จำนวน 120 ต้น วันที่ 26 กรกฎาคม 2563 ณ ชุมชนกระทุ่มเสือปลา

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

บันทึกข้อมูลเพิ่มพื้นที่สีเขียวของ กทม. จำนวน 2 แห่ง 1. สวนชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ เนื้อที่ 2 งาน 2. สวนชุมชนกระทุ่มเสือปลา เนื้อที่ 2 งาน

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร หมายถึง จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือจุดสาธิตการเกษตรทั้งด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ เกษตรผสมผสาน 2. กิจกรรมของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก คือ 2.1 กิจกรรมการอบรม ถ่ายทอดความรู้ สาธิตพิจารณาเฉพาะด้านการบำรุง ดูแล และปลูกต้นไม้ยืนต้น และความหลากหลายทางชีวภาพ 2.2 กิจกรรมผลักดันการถ่ายทอดความรู้ตามข้อ 1 สู่การปฏิบัติโดยเพิ่มพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่เอกชนด้วยการดำเนินความร่วมมือกับกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบส่วนป่า หรือ Green Corridors คือการปลูกต้นไม้คู่ขนานไปกับแนวทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นถนน ทางจักรยาน ทางเท้า และริมคลองในพื้นที่ชุมชนเมืองทำให้เกิดแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมือง 3. พื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน หมายถึงพื้นที่สีเขียวตามนิยามของสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด ซึ่งมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งได้รับการดูแลบำรุงรักษาให้คงอยู่อย่างถาวรและเมื่อโตเต็มที่ทรงพุ่มให้ร่มเงาครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด 4. กลุ่มเป้าหมาย หมายถึง เกษตรกร ข้าราชการ ลูกจ้าง นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

นับจำนวนไม้ยืนต้นในพื้นที่เขตที่ได้รับการพัฒนาจากกิจกรรมของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

เก็บข้อมูลจำนวนต้นไม้ที่ปลูกตามกิจกรรมของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre
:๖.๑ - เมืองแห่งโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน
:๖.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ%
:๖.๑.๑.๑ สนับสนุนการประกอบธุรกิจ และพัฒนาผลิตผลการเกษตร

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง