รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 5038-0773

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
60.00
100
100 / 100
3
75.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน จำนวน 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรักษาความสะอาด ฝ่ายเทศกิจ และฝ่ายโยธา ส่งสำนักงาน ก.ก.เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยงจากที่ประชุม สำนักงาน ก.ก.

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-ดำเนินการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ประจำปี พ.ศ.2562 จำนวน 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรักษาความสะอาด ฝ่ายเทศกิจ และฝ่ายโยธา ส่งสำนักงาน ก.ก.เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง -ดำเนินการส่งผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงให้สำนักงาน ก.ก.ภายในกำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ดำเนินการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ประจำปี พ.ศ.2562 จำนวน 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรักษาความสะอาด ฝ่ายเทศกิจ และฝ่ายโยธา ส่งสำนักงาน ก.ก.เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง -ดำเนินการส่งผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงให้สำนักงาน ก.ก.ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยดำเนินการส่งผลการดำเนินงานของเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2562 เรียบร้อยแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ประจำปี พ.ศ.2562 จำนวน 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรักษาความสะอาด ฝ่ายเทศกิจ และฝ่ายโยธา ส่งสำนักงาน ก.ก.เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง -ดำเนินการส่งผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงให้สำนักงาน ก.ก.ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยดำเนินการส่งผลการดำเนินงานของเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม 2562 เรียบร้อยแล้ว สรุปผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 100

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1.การเสริมสร้างธรรมาภิบาลหรือการกำกับดูแลทีดีในองค์กร (Good Corporate Governance) เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการองค์กรที่ต้องคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องอย่างสมดุล ซึ่งมีความหลากหลาย แต่ล้วนต้องการความสำเร็จ 2.กรณีทุจริตหรือประพฤติมิชอบต่าง ๆ ทีเกิดขึ้นในองค์กรมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ รับรู้ ดังนั้น นอกจากองค์กรจะบริหารความเสี่ยงของงานด้านต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติงานแล้ว องค์กรควรคำนึงถึงความเสี่ยงด้านการทุจริตในกรณีต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในองค์กรด้วย เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลหรือการกำกับดูแลที่ดีในองค์กร 3.การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหา ระบุ วิเคราะห์หรือประเมิน จัดลำดับ จัดการ และติดตามความเสี่ยงด้านการทุจริต เพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด โดยมีทุจริตต่างๆ เกิดน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ 4.คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับกรุงเทพมหานคร และสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานครได้จัดทำทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความเสี่ยงด้านการทุจริตเป็นความเสี่ยงสำคัญด้านหนึ่งในทะเบียนความเสีียง 5.หน่วยงาน/ส่วนราชการฯ พิจารณาความเสี่ยงด้านการทุจริตในทะเบียนความเสี่ยงของกรุงเทพมหานครที่สำนักงานตรวจสอบภายในเวียนแจ้งให้ทราบ โดยสำนักงานเขตกำหนดให้พิจารณาความเสี่ยงด้านการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นกับฝ่ายโยธา และฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายละ 1 หัวข้อ และพิจาณาคัดเลือกอีก 1 ฝ่าย ที่สำนักงานเขตเห็นว่า มีความเสี่ยงด้านการทุจริต

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน ส่วนที่ 1 หน่วยงานสามารถค้นหา ระบุ วิเคราะห์หรือประเมิน จัดลำดับ ระบุกิจกรรม และจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด) และสามารถดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุผลสำเร็จ (ร้อยละ 60) โดยแบ่งการให้คะแนนเป็น 1)หน่วยงานมีการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตที่ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด และผ่านการพิจารณาจากผู้ตรวจประเมิน (ร้อยละ 40) และ 2) หน่วยงานสามารถดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการจัดการความเสี่ยงที่ระบุไว้ในแผนฯ ได้ตามที่กำหนด (ร้อยละ20) ส่วนที่ 2 การประเมินผลสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตามแผนการบริหารความเสี่ยง โดยประเมินจากตัวชี้วัดผลสำเร็จของการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตที่หน่วยงานกำหนดและผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตของหน่วยงานหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการฯ มอบหมายเรียบร้อยแล้ว (ร้อยละ40) ส่วนที่ 3 การประเมินผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตของหน่วยงาน ซึ่งมีผลต่อภาพลักษณ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน โดยหากมีการพบข้อมูลทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกว่า หน่วยงานนั้นๆ มีเรื่องร้องเรียนหรือกรณีที่เกี่ยวข้องกับทุจริต ตามหัวข้อทุจริตที่หน่วยงานได้จัดทำและดำเนินการตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตไว้แล้ว หน่วยงานนั้นๆ จะถูกหักคะแนนร้อยละ 10 จากร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1.แบบฟอร์มแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตของหน่วยงาน ตามรูปแบบที่กำหนด ซึ่งมีข้อมูลครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด 2.เอกสารหรือหลักฐานประกอบที่แสดงถึงการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตของหน่วยงาน 3.เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงผลสำเร็จของการดำเนินการตามตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของหน่วยงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ%
:๗.๔.๑.๔ ปรับปรุงมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านการเงินการบัญชี และการตรวจสอบ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง