รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร : 5038-0790

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 99.47

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.56
100
100 / 100
2
31.49
100
100 / 100
3
94.75
100
100 / 100
4
99.47
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

-สำรวจและตรวจสอบจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ จำนวน 355 แห่ง -ส่งเสริมสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 73 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20.56

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-สำรวจและตรวจสอบจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ จำนวน 362 แห่ง -ส่งเสริมสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบสถานประกอบการด้านอาหาร ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ และสุขวิทยาส่วนบุคคล การมีบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร และการตรวจสุขภาพประจำปีผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 114 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 31.49

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-สำรวจและตรวจสอบจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ จำนวน 362 แห่ง -ส่งเสริมสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบสถานประกอบการด้านอาหาร ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ และสุขวิทยาส่วนบุคคล การมีบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร และการตรวจสุขภาพประจำปีผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 343 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 94.75

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-สำรวจและตรวจสอบจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ จำนวน 377 แห่ง ได้แก่ ร้านอาหาร จำนวน 251 แห่ง ตลาด 14 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต 6 แห่ง และมินิมาร์ท 106 แห่ง -ส่งเสริมสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบสถานประกอบการด้านอาหาร ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ และสุขวิทยาส่วนบุคคล การมีบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร และการตรวจสุขภาพประจำปีผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 375 แห่ง ได้แก่ ร้านอาหาร จำนวน 251 แห่ง ตลาด 12 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต 6 แห่ง และมินิมาร์ท 106 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.47

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

๑. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง สถานที่จำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ตและมินิมาร์ท ในพื้นที่ ๕๐ เขต ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ๒. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง เกณฑ์ที่ใช้ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารเพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัยของอาหาร และด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหาร ๓. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการอาหารสามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ : จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครคูณด้วย ๑๐๐ หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต สูตรการคำนวณ จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร x ๑๐๐ หารด้วย จำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1.โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 กิจกรรมที่ 3 การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. เอกสารการขอรับ และส่งป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง