รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพเเวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน : 5040-0841

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
100
100 / 100
2
40.00
100
100 / 100
3
70.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ประเมินความเสี่ยงในสถานที่ทำงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ควบคุมให้มีการดำเนินการจัดการความเสี่ยงในสถานที่ทำงานให้เป็นไปตามขั้นตอน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

กำกับและควบคุมให้มีการดำเนินการจัดการความเสี่ยงตามขั้นตอน และรายงานความคืบหน้าสำนักอนามัย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-กำกับและควบคุมให้มีการดำเนินการจัดการความเสี่ยงตามขั้นตอน -สรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารและส่งเอกสารตัวชี้วัดให้กับสำนักอนามัย

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงินและการบริหาร การจัดการความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกรควบคุมดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพการงานให้มีสภาวะสมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี รวมทั้งมีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม อันตรายและความเสี่ยงตางๆ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. ร้อยละ 100 ของเจ้าหน้าที่ฉีดพ่นยุง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สามารถปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง และปลอดภัย ไม่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน 2. ร้อยละ 100 ของเจ้าหน้าที่งานตัดแต่งต้นไม้ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สามารถปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง และปลอดภัย ไม่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน 3. ร้อยละ 100 ของเจ้าหน้าที่งานตรวจสุขาภิบาลอาหารด้วยชุดทดสอบอาหารเบื้องต้นฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ปลอดภัยจากอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีจากชุดทดสอบอาหารเบื้องต้นและไม่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน การคำนวณ ร้อยละตัวชี้วัด = จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน x 100 จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ปฏิบัติงานนั้นๆ ร้อยละตัวชี้วัด = จำนวนเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง x 100 จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ปฏิบัติงานนั้นๆ ร้อยละตัวชี้วัด = จำนวนเจ้าหน้าที่ปลอดภัยจากการสัมผัสสารเคมีจากชุดทดสอบอาหารเบื้องต้น x 100 จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ปฏิบัติงานนั้นๆ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

- ขั้นตอนการปฏิบัติงานของงานนั้นๆ - สถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานนั้นๆ - รายงานการดำเนินงานจากการทำงานนั้นๆ - ภาพประกอบการดำเนินงานการจัดการความเสี่ยงในงานนั้นๆ - รายงานผลการดำเนินโครงการการจัดการความเสี่ยงในการทำงาน ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล%
:๗.๓.๒.๒ การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลและระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง