รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ตัวชี้วัดเจรจา (4) พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น : 5042-2004

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 85

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
95
95 / 100
2
76.26
100
100 / 100
3
85.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ผลงานไตรมาส 1 คิดเป็น 20 % (ค่าเป้าหมายเท่ากับ 88,806.48 ตารางเมตร) - เพิ่มพื้นที่สีเขียว (7 ประเภท) บริเวณหมู่บ้านชัยพฤกษ์ จตุโชติ-วัชรพล ถนนจตุโชติซอย 10 จำนวน 19 ไร่ 3 งาน 31.36 ตร.วา คิดเป็นพื้นที่ 31,725.44 ตร.ม.

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- สำนักงานสวนสาธารณะ ปรับลดค่าเป้าหมายของสำนักงานเขตสายไหม จากเดิม 88,806.48 ตารางเมตร ลดลงเหลือ 41,600 ตารางเมตร - ผลงานไตรมาส 2 คิดเป็น 76.26 % - เพิ่มพื้นที่สีเขียว (7 ประเภท) บริเวณหมู่บ้านชัยพฤกษ์ จตุโชติ-วัชรพล ถนนจตุโชติซอย 10 จำนวน 19 ไร่ 3 งาน 31.36 ตารางวา คิดเป็นพื้นที่ 31,725.44 ตารางเมตร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ผลงานไตรมาส 3 คิดเป็น 85% - เพิ่มพื้นที่สีเขียว (7 ประเภท) ได้แก่ 1.บริเวณหมู่บ้านชัยพฤกษ์ จตุโชติ-วัชรพล ถนนจตุโชติซอย 10 จำนวน 19 ไร่ 3 งาน 31.36 ตารางวา คิดเป็นพื้นที่ 31,725.44 ตารางเมตร 2.บริเวณหมู่บ้านวิลล่า โนวา วัชรพล-สายไหม อยู่ระหว่าง 64/1 และซอยเรือนไทย ถ.สายไหม จำนวน 13 ไร่ 2 งาน 53.27 ตร.วา คิดเป็นพื้นที่ 21,813.08 ตารางเมตร - เพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ไม่ใช่รูปแบบสวนสาธารณะ (9ประเภท) จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ 1.บริเวณถนนสายไหม ซอย 81 แขวงสายไหม เขตสายไหม (พื้นที่เกษตรกรรม) 2.บริเวณซ.พหลโยธิน 54 แยก 4-49 (ซ.จิระมะกร) แขวงสายไหม กทม. (พื้นที่เกษตรกรรม) 3.บริเวณข้างหมู่บ้านชัยพัฒน์ ถนนวัดเกาะ แขวงสายไหม เขตสายไหม กทม. (พื้นที่เกษตรกรรม) 4. บริเวณถนนสุขาภิบาล 5 ซอย 34 แขวงออเงิน เขตสายไหม (พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์) 5.บริเวณที่ว่าง ซอยวัชรพล 4 ถนนวัชรพล หลังโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 75 (ที่ว่าง) 6.บริเวณพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซอยวัชรพล 4 ถนนวัชรพลหลังโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 75 (พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) 7.บริเวณถนนสายไหม 46 แขวงสายไหม เขตสายไหม (สนามกีฬากลางแจ้ง) 8.บริเวณตรงข้ามซอยเพิ่มสิน 46 ถ.สายไหม แขวงสายไหม (ที่ว่าง) 9.บริเวณสายไหมซอย 81 แขวงสายไหม เขตสายไหม (ที่ว่าง) 10.บริเวณท้ายซอยสายไหม 46 ถ.สายไหม แขวงสายไหม (ที่ว่าง) 11.บริเวณท้ายซอยสายไหม 46 ถ.สายไหม แขวงสายไหม (พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) 12.บริเวณระหว่างซอยจตุโชติ 23กับ25 แขวงออเงิน เขตสายไหม (พื้นที่เกษตรกรรม) และอยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติม

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- ผลงานไตรมาส 4 คิดเป็น 100% - เพิ่มพื้นที่สีเขียว (7 ประเภท) ได้แก่ 1.บริเวณหมู่บ้านชัยพฤกษ์ จตุโชติ-วัชรพล ถนนจตุโชติซอย 10 จำนวน 19 ไร่ 3 งาน 31.36 ตารางวา คิดเป็นพื้นที่ 31,725.44 ตารางเมตร 2.บริเวณหมู่บ้านวิลล่า โนวา วัชรพล-สายไหม อยู่ระหว่าง 64/1 และซอยเรือนไทย ถ.สายไหม จำนวน 13 ไร่ 2 งาน 53.27 ตร.วา คิดเป็นพื้นที่ 21,813.08 ตารางเมตร - เพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ไม่ใช่รูปแบบสวนสาธารณะ (9ประเภท) จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ 1.บริเวณถนนสายไหม ซอย 81 แขวงสายไหม เขตสายไหม (พื้นที่เกษตรกรรม) 2.บริเวณซ.พหลโยธิน 54 แยก 4-49 (ซ.จิระมะกร) แขวงสายไหม กทม. (พื้นที่เกษตรกรรม) 3.บริเวณข้างหมู่บ้านชัยพัฒน์ ถนนวัดเกาะ แขวงสายไหม เขตสายไหม กทม. (พื้นที่เกษตรกรรม) 4. บริเวณถนนสุขาภิบาล 5 ซอย 34 แขวงออเงิน เขตสายไหม (พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์) 5.บริเวณที่ว่าง ซอยวัชรพล 4 ถนนวัชรพล หลังโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 75 (ที่ว่าง) 6.บริเวณพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซอยวัชรพล 4 ถนนวัชรพลหลังโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 75 (พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) 7.บริเวณถนนสายไหม 46 แขวงสายไหม เขตสายไหม (สนามกีฬากลางแจ้ง) 8.บริเวณตรงข้ามซอยเพิ่มสิน 46 ถ.สายไหม แขวงสายไหม (ที่ว่าง) 9.บริเวณสายไหมซอย 81 แขวงสายไหม เขตสายไหม (ที่ว่าง) 10.บริเวณท้ายซอยสายไหม 46 ถ.สายไหม แขวงสายไหม (ที่ว่าง) 11.บริเวณท้ายซอยสายไหม 46 ถ.สายไหม แขวงสายไหม (พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) 12.บริเวณระหว่างซอยจตุโชติ 23กับ25 แขวงออเงิน เขตสายไหม (พื้นที่เกษตรกรรม) และอยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติม

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

พื้นที่สีเขียวหมายถึง พื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 10 ประเภทแยกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อมให้สำนักงานเขตดำเนินการตามเป้าหมายที่ตกลงกับสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี 2. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรปูแบบสวนสาธารณะซึ่งต้องดำเนินการสำรวจ รวบรวมเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 แห่ง/ปี - กรณีข้อ 2 กรณีหากสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้วให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สีเขียว ในพื้นที่เขตรวม 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานสวนฯ กำหนดแทน รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท 1.พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวน 1.1 ความหมาย คือพื้นที่ใด ๆ ในแต่ละพื้นที่เขตที่ไม่เคยถูกพัฒนาเป็นสวนหย่อม/สวนสาธารณะ (กำหนดตามนิยาม 7 ประเภท ของสำนักงานสวนสาธารณะ สสล.) มาก่อนซึ่ง สนข./สสณ. สสล.พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ/ สวนหย่อม ทั้งนี้ อาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่า/เกาะกลางถนน/ริมทาง/ริมคลอง/ใต้ทางด่วน/แนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง/ผนังตึก/รั้ว/สวนบนอาคารสูง ดาดฟ้าอาคาร (Green Roof) ฯลฯสวนบนอาคารสูง/ดาดฟ้า และสวนแนวดิ่ง นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบตดิตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 1.2 การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนต้องพัฒนาให้มีพันธุ์ไม้ปกคลุมขนาดตั้งแต่มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ตร.ม. ขึ้นไป โดยเน้นการปลูกไม้ถาวร อาจดำเนินการ ดังต่อไปนี 1.2.1 ปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม 1.2.2 จัดทำเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ/สวนหย่อม 1.2.3 จัดทำสวนหย่อมในลักษณะสวนบนอาคารสูง (Green Roof) 1.2.4 จัดทำเป็นสวนตามแนวพื้นดินหรือพื้นที่สีเขียวขึ้นตามแนวดิ่ง 1.2.5 จัดทำเป็นสวนป่า หมายถึง การปลูกต้นไม้ในลักษณะเป็นพื้นที่ โดยมีทั้งไม้ ระดับสูง กลาง ระยะปลูกระหว่างต้นเท่ากับ 4X4 เมตร ให้คิดเฉลี่ย 100 ต้นเป็นพื้นที่ 1 ไร่ 1.2.6 การปลูกไม้ยืนต้นในลักษณะต่อเนื่องเป็นแนวยาว เช่นปลูกตามริมถนน รมิคลอง ริมทางเท้า เป็นต้น คิคิดพื้นที่โดยนำความกว้างของทรงพุ่มคูณความยาวของ ระยะทางที่ปลูก 1.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำนักงานเขตรับผิดชอบและดำเนินการได้หลายลักษณะ กล่าวคือ 1.3.1 สำนักงานเขตเองดำเนินการในรูปแบบที่ใช้และไม่ใช้งบประมาณ 1.3.2 สนับสนุนหน่วยราชการอื่นๆ/บริษัท ห้างร้าน เอกชน หรือประชาชน ฯลฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง 1.3.3 รวบรวมพื้นที่ซึ่งหน่วยงานอื่น บริษัท ห้างร้าน เอกชน วัด หมู่บ้าน จัดสรร ฯลฯ ได้มีการดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่สวนตามนิยามของสวนสาธารณะ 7 ประเภทไว้แล้ว 1.4 สำนักงานเขตจัดทำทะเบียนพื้นที่สวนฯ รายงานเข้าสู่ระบบฯ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.4.1 สวนซึ่งสำนักงานเขตดำเนินการเอง 1.4.2 สวนซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอื่น 1.4.3 อื่น ๆ เช่น หมู่บ้านจดัสรร วัด บริษัท/ห้างร้าน ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ 2.พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวน 2.1 ความหมายคือ พื้นที่สีเขียวตามคำจำกัดความในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546 จำนวน 9 ประเภทซึ่งประกอบด้วย 2.1.1 สนามกีฬากลางแจ้ง หมายถึงสนามกีฬากลางแจ้งที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500 ตร.ม.ขึ้นไป 2.1.2 สนามกอล์ฟ หมายถึง สนามกอล์ฟทุกแห่ง 2.1.3 แหล่งน้ำ หมายถึง สระน้ำ หนองน้ำ บึง ซึ่งมีน ท่วมขังนานกว่า 6 เดือน ต่อปี ที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500 ตร.ม.ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.4 ที่ลุ่ม หมายถึงที่ลุ่มน้ำท่วมขังมีพืชขึ้นปกคลุม เช่นกกที่มีขนาดมากกว่า 500 ตร.ม.ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.5 ที่ว่าง หมายถึงที่ว่างหรือที่โล่งที่มีขนาดมากกว่า 1 ไร่ พื้นที่โล่งหรือพื้นที่ รกร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่เข้าข่ายพื้นที่ประเภทใดและมีขนาดพื้นที่ มากกว่า 500 ตร.ม. 2.1.6 พื้นที่ไม้ยืนต้น หมายถึงพื้นที่มีกลุ่มไม้ยืนต้นขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ขนาด พื้นที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป รวมทั้งสวนผลไม้ 2.1.7 พื้นที่เกษตรกรรม หมายถึงพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว นาหญ้า 2.1.8 พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึงพื้นที่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 2.1.9 พื้นที่อื่นๆ หมายถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการนันทนาการและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ริมคลอง พื้นที่ใต้หรือข้างทางด่วนหรือทางพิเศษ เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

การดำเนินงาน 1. สำรวจ รวบรวม และพัฒนาพื้นที่สีเขียวในส่วนที่รับผิดชอบตามรายละเอียดที่กำหนด 2. นำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดฯ วิธีคำนวณ 1. กำหนดให้พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม และพื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ คิดคะแนนประเภทละ 100 % รวม 200% 2. เฉลี่ยผลลัพธ์ตามข้อ 1 ให้เหลือร้อยละ 100 3. นำผลที่ได้จากข้อ 2 พิจารณาในส่วนความสมบูรณ์ของข้อมูลใน 3 ส่วนคือ 1) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละแห่ง 2) ที่ตั้ง 3) ภาพถ่าย ทั้งนี้หักข้อละ 1 % ของคะแนนที่ได้รับ 4. หลังจากตัดคะแนนในส่วนความสมบูรณ์จะเป็นคะแนนที่ได้ของแต่ละ สำนักงานเขต

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดคิด เป็นร้อยละ 100 - กรณีสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้วให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตรวม 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) คิดคะแนนครั้งละ 25 % 2. การตัดคะแนนในส่วนความสมบูรณ์ของฐานข้อมูลฯ ของสำนักงานเขต ดำเนินการใน 3 ส่วนสำคัญคือ 1) สถานที่ตั้งสวนฯ บนแผนที่ฐานข้อมูลฯ 2) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวรายแห่ง 3) ภาพถ่ายสวนฯ ในโปรแกรมฯ ทั้งนี้ หักข้อละ 1 % ของคะแนนที่ได้รับ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ%
:๒.๒.๑.๑ พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่นเพิ่มขึ้นกระจาย ทั่วในพื้นที่

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง