รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

3.3 ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ : 5046-0920

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 6

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
25.00
100
100 / 100
3
75.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ฝ่ายปกครองได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงการสำรวจความพึงพอใจ. วันที่. 19. ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้. เขตบางพลัด. กรุงเทพมหานคร. เพื่อระดมความคิดเห็นในการออกแบบสำรวจความพึงพอใจ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. และกองงานผู้ตรวจราชการได้เวียนแจ้งเกณธ์การทอดแบบสำรวจให้ทุกหน่วยงานรับทราบแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ฝ่ายปกครองได้รับหนังสือจากกองงานผู้ตรวจราชการ ที่ กท 0409/286 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2563 เรื่อง ส่งรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำนักงานเขตคลองสามวาได้รับคะแนนความพึงพอใจ = 4.475 (คะแนนเต็ม 5) และให้สำนักงานเขตนำข้อที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจ น้อยที่สุด อย่างน้อย 2 อันดับ นำไปพัฒนา/ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้น และรายงานกองงานผู้ตรวจราชการ พร้อมเอกสาร/หลักฐานประกอบ ภายในวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 เพื่อกองงานผู้ตรวจราชการจักได้รวบรวมรายงานเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ฝ่ายปกครองได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่กองงานผู้ตรวจราชการ ว่าสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จะเข้าทอดแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ครั้งที่ 2 ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 3 กรกฏาคม 2563 และได้เข้าทอดแบบสำรวจฯ เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างรอผลคะแนน ครั้งที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ฝ่ายปกครองได้รับหนังสือจากกองงานผู้ตรวจราชการ ที่ กท 0409/803 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2563 เรื่อง ส่งรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ว่าสำนักงานเขตคลองสามวาได้รับผลคะแนนความพึงพอใจ = 4.404 และได้เวียนแจ้งให้ทุกฝ่ายทราบแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการบริการของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร หมายถึง การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการโดยตรง หรือบุคลากรจากหน่วยงาน (ส่วนราชการทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานครที่หน่วยงานนั้นๆ ไว้บริการ การสำรวจครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น 1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ 2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ 3. ความพึงพอใจด้านการบริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ 4. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของหน่วยงาน 6. ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาของหน่วยงาน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ผลสำรวจความพึงพอใจฯ ครั้งที่ 1 + ผลสำรวจความพึงพอใจฯ ครั้งที่ 2 / จำนวนครั้งของการสำรวจความพึงพอใจฯ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

บันทึกโดยคอมพิวเตอร์

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง