รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของพื้นที่เสี่ยงภัยที่ได้รับการลดเงื่อนไขความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม : 5047-0939

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
50.00
0
0 / 0
3
65.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ฝ่ายเทศกิจ : - จัดเจ้าหน้าที่ออกกวดขัน ตรวจตราดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัยพ์สินของประชาชนในบริเวณซอยเปลี่ยว ที่รกร้าง ป้ายรถประจำทาง สะพานลอยและสถานีรถไฟฟ้า ฯลฯ ครบไตรมาสที่ 1 ตั้งแต่ 1ต.ค. 2563-31 ธ.ค. 2563 จำนวน 3,680 ครั้ง (4ครั้ง/จุด/วัน) - จัดเจ้าหน้าที่ออกบริการรับ ส่งประชาชนบริเวณซอยเปลี่ยว ครบไตรมาสที่ 1 ตั้งแต่ 1ต.ค. 2563-31 ธ.ค. 2563 จำนวน 92 ครั้ง (1ครั้ง/จุด/วัน) - จัดเจ้าหน้าที่ออกอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนในตอนเช้า-เย็น จำนวน 8 โรงเรียน ครบไตรมาสที่ 1 ตั้งแต่ 1ต.ค. 2563-31 ธ.ค. 2563 จำนวน 880 ครั้ง (2ครั้ง/จุด/วัน) - จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจเฝ้าระวังและพื้นที่เสี่ยงภัย (สายตรวจตู้เขียว) จำนวน 10 จุด ครบไตรมาสที่ 1 ตั้งแต่1ต.ค. 2563-31 ธ.ค. 2563 จำนวน 3,680 ครั้ง (อย่างน้อย 4 ครั้ง/จุด/วัน) - ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง จำนวน 10 จุด ครบไตรมาสที่ 1 ตั้งแต่1ต.ค. 2563-31 ธ.ค. 2563 จำนวน 1,840 ครั้ง (อย่างน้อย 2 ครั้ง/จุด/วัน) - ดำเนินการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เตือนภัยอาชญากรรม - จัดทำหนังสือประสานสถานีตำรวจนครบาลบางนา ที่ กท 8409/4740 ลว. 3 พ.ย. 2563 และ กท 8409/5245 ลว. 10 ธ.ค. 2563 เรื่องขอสอบถามข้อมูลการเกิดอาชญากรรมในจุดเสี่ยง จุดหล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ - รายงานผลการดำเนินการแก้ไขพื้นที่เสี่ยงภัยที่สำนักงานเขตส่งให้สำนักเทศกิจ ทันภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ตามระยะเวลาที่กำหนด ฝ่ายโยธา : - เดือนตุลาคม 2563 ทำหนังสือประสานการไฟฟ้าเขตบางนา ที่ กท 8403/4631 ลว. 27 ต.ค.2563 เรื่องขอความร่วมมือแก้ไขไฟฟ้าสาธารณะ ปากซอยบางนา-ตราด 19 จำนวน 1 ดวง เลขที่รับแจ้ง รท.164/63 - เดือนพฤศจิกายนและเดิอนธันวาคม 2563 ไฟฟ้าส่องสว่างที่ติดตั้งในบริเวณจุดเสี่ยง 10 จุด ตรวจสอบไม่พบความเสียหายและชำรุด ฝ่ายรักษาฯ : - รายงานการพัฒนาพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของสำนักงานเขตบางนา จำนวน 10 จุด ที่ กท 8406/809 ลว. 11 พ.ย. 2563, กท 8406/855 ลว. 30 พ.ย. 2563

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ฝ่ายเทศกิจ ดำเนินการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจเฝ้าระวังและพื้นที่เสี่ยงภัย ตามไตรมาสที่ 2 ดังนี้ 1.จัดเจ้าหน้าที่ออกกวดขัน ตรวจตราดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัยพ์สินของประชาชนตามบัญชีพื้นที่เสี่ยงและอันตรายในบริเวณ ทั้ง 10 จุด ครบไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564-31 มี.ค. 2564 รวมทั้งสิ้น 3,600 ครั้ง (4 ครั้ง/จุด/วัน) 2.จัดเจ้าหน้าที่ออกบริการรับ ส่งประชาชน ตามโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ บริเวณซอยเปลี่ยว ครบไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564-31 มี.ค. 2564 รวมทั้งสิ้น 90 ครั้ง (1 ครั้ง/จุด/วัน) 3.จัดเจ้าหน้าที่ออกอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนในตอนเช้า-เย็น จำนวน 8 โรงเรียน ครบไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564-31 มี.ค. 2564 รวมทั้งสิ้น 992 ครั้ง (2 ครั้ง/จุด/วัน) 4.จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจเฝ้าระวังและพื้นที่เสี่ยงภัย (สายตรวจตู้เขียว) จำนวน 10 จุด ตามบัญชีติดตั้งตู้เขียว ครบไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564-31 มี.ค. 2564 รวมทั้งสิ้น 3,600 ครั้ง (4 ครั้ง/จุด/วัน) 5.ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง ครบไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564-31 มี.ค. 2564 รวมทั้งสิ้น 1,800 ครั้ง (2 ครั้ง/จุด/วัน) และประสาน สจส.ซ่อมแซมแก้ไขกล้องวงจรปิด CCTV 6.ดำเนินการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เตือนภัยอาชญากรรมครบ 10 จุด 7.สำรวจ ตรวจตรา ปรับ แก้ไข สภาพแวดล้อมพื้นที่ พร้อมประสานโยธา การไฟฟ้าเขตบางนา(กรณีซ่อมไฟฟ้าส่องสว่าง) และประสานฝ่ายรักษาฯ(การดูแลต้นไม้) 8.มีหนังสือประสานสถานีตำรวจนครบาลบางนา เรื่อง ขอสอบถามข้อมูลการเกิดอาชญากรรมในจุดเสี่ยง จุดหล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ที่ กท 8409/939 ลว. 3 มี.ค. 2564 9. มีหนังสือประสานการไฟฟ้าเขตบานา ที่ กท 8403/1045 ลว. 9 มี.ค.2564 เรื่องแจ้งซ่อมไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะฃำรุด บริเวณซอยแบริ่ง 13 และที่ กท 8403/1049 ลว. 19 มี.ค.2564 เรื่องแจ้งซ่อมไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะฃำรุด บริเวณซอยบางนา-ตราด 19 10.รายงานผลการดำเนินการแก้ไขพื้นที่เสี่ยงภัยที่สำนักงานเขตส่งให้สำนักเทศกิจ ที่ กท 8409/1590 ลว. 2 เม.ย. 2564 ตามระยะเวลาที่กำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ฝ่ายเทศกิจ ดำเนินการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจเฝ้าระวังและพื้นที่เสี่ยงภัย ตามไตรมาสที่ 3 ดังนี้ 1.จัดเจ้าหน้าที่ออกกวดขัน ตรวจตราดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัยพ์สินของประชาชนตามบัญชีพื้นที่เสี่ยงและอันตรายในบริเวณ ทั้ง 10 จุด ครบไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564-30 มิ.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 3,640 ครั้ง (4 ครั้ง/จุด/วัน) 2.จัดเจ้าหน้าที่ออกบริการรับส่งประชาชน ตามโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ บริเวณซอยเปลี่ยว ครบไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564-30 มิ.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 91 ครั้ง (1 ครั้ง/จุด/วัน) 3.จัดเจ้าหน้าที่ออกอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนในตอนเช้า-เย็น จำนวน 0 โรงเรียน ครบไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564-30 มิ.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 0 ครั้ง (2 ครั้ง/จุด/วัน) (ปิดสถานศึกษาตามประกาศกรุงเทพมหานคร) 4.จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจเฝ้าระวังและพื้นที่เสี่ยงภัย (สายตรวจตู้เขียว) จำนวน 10 จุด ตามบัญชีติดตั้งตู้เขียว ครบไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564-30 มิ.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 3,640 ครั้ง (4 ครั้ง/จุด/วัน) 5.ออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง ครบไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564-30 มิ.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 1,820 ครั้ง (2 ครั้ง/จุด/วัน) และประสาน สจส.ซ่อมแซมแก้ไขกล้องวงจรปิด CCTV 6.ดำเนินการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เตือนภัยอาชญากรรมครบ 10 จุด 7.สำรวจ ตรวจตรา ปรับ แก้ไข สภาพแวดล้อมพื้นที่ พร้อมประสานโยธา การไฟฟ้าเขตบางนา(กรณีซ่อมไฟฟ้าส่องสว่าง) และประสานฝ่ายรักษาฯ(การดูแลต้นไม้) 8.หนังสือประสานสถานีตำรวจนครบาลบางนา เรื่อง ขอสอบถามข้อมูลการเกิดอาชญากรรมในจุดเสี่ยง จุดหล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ที่ประจำทุกเดือน ที่ กท 8409/1943 ลว. 3 พ.ค.2564 เรื่อง ข้อมูลการเกิดอาชญากรรมในจุเสี่ยง จุดล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ 9. มีหนังสือประสานการไฟฟ้าเขตบานา ที่ กท 8403/2289 ลว. 27 พ.ค.2564 เรื่องแจ้งซ่อมไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะฃำรุด บริเวณซอยลาซาล 55 10.รายงานผลการดำเนินการแก้ไขพื้นที่เสี่ยงภัยที่สำนักงานเขตส่งให้สำนักเทศกิจ ที่ กท 8409/2422 ลว. 2 มิ.ย. 2564 ตามระยะเวลาที่กำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ฝ่ายเทศกิจ ดำเนินการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจเฝ้าระวังและพื้นที่เสี่ยงภัย ตามไตรมาสที่ 4 ตามนโยบายในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีมีความปลอดภัยจากอาชญากรรมต่าง ๆ ดังนี้ 1.จัดเจ้าหน้าที่ออกกวดขัน ตรวจตราดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัยพ์สินของประชาชนตามบัญชีพื้นที่เสี่ยงและอันตรายในบริเวณ ทั้ง 10 จุด ครบไตรมาสที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2564-30 ก.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 3,680 ครั้ง (4 ครั้ง/จุด/วัน) 2.จัดเจ้าหน้าที่ออกบริการรับส่งประชาชน ตามโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ บริเวณซอยเปลี่ยว ครบไตรมาสที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2564-30 ก.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 92 ครั้ง (1 ครั้ง/จุด/วัน) 3.จัดเจ้าหน้าที่ออกอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนในตอนเช้า-เย็น จำนวน 0 โรงเรียน ครบไตรมาสที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2564-30 ก.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 0 ครั้ง (2 ครั้ง/จุด/วัน) (ปิดสถานศึกษาตามประกาศกรุงเทพมหานคร) เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 4.จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจเฝ้าระวังและพื้นที่เสี่ยงภัย (สายตรวจตู้เขียว) จำนวน 10 จุด ตามบัญชีติดตั้งตู้เขียว ครบไตรมาสที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2564-30 ก.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 3,680 ครั้ง (4 ครั้ง/จุด/วัน) 5.ออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง ครบไตรมาสที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2564-30 ก.ย. 2564 รวมทั้งสิ้น 1,840 ครั้ง (2 ครั้ง/จุด/วัน) และประสาน สจส.ซ่อมแซมแก้ไขกล้องวงจรปิด CCTV 6.ดำเนินการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เตือนภัยอาชญากรรมครบถ้วนทั้ง 10 จุด ตามบัญชีติดตั้งตู้เขียว 7.สำรวจ ตรวจตรา ปรับ แก้ไข สภาพแวดล้อมพื้นที่ พร้อมประสานโยธา การไฟฟ้าเขตบางนา ที่ กท 8403/18403 ลว. 20 ส.ค.2564 (กรณีซ่อมไฟฟ้าส่องสว่าง) และประสานฝ่ายรักษาฯ(การดูแลต้นไม้) ตามแผนที่กำหนด 8.หนังสือประสานสถานีตำรวจนครบาลบางนา เรื่อง ขอสอบถามข้อมูลการเกิดอาชญากรรมในจุดเสี่ยง จุดหล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ที่ กท 8409/3235 ลว. 2 ส.ค.2564 เรื่อง ข้อมูลการเกิดอาชญากรรมในจุเสี่ยง จุดล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ 9. มีหนังสือประสานการไฟฟ้าเขตบานา ที่ กท 8403/3378 ลว. 11 ส.ค.2564 เรื่องแจ้งซ่อมไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะฃำรุด 10.รายงานผลการดำเนินการแก้ไขพื้นที่เสี่ยงภัยที่สำนักงานเขตส่งให้สำนักเทศกิจ ตั้งแต่ 1 ก.ค.-30 ก.ย.64 ตามระยะเวลาที่กำหนด

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

พื้นที่เสี่ยงภัย หมายถึง พื้นที่ที่มีความล่อแหลมต่อการเกิดเหตุอาชญากรรม กับประชาชน โดยพื้นที่เสี่ยงภัยที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นั้น ได้นำรายละเอียดพื้นที่เสี่ยงภัยและวิธีการแก้ไขหรือลดปัจจัยเสี่ยงภัยมาจากบัญชีพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเกิดจากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลของคณะทำงานโครงการสำรวจและจัดทำบัญชีพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562 เงื่อนไข (ปัจจัย) ความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม หมายถึง เหตุ/ช่องทาง/สิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดเหตุอาชญากรรม หรือก่อเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ตามสภาพพื้นที่นั้น การลดเงื่อนไขความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม หมายถึง การปรับ แก้ไข หรือการเพิ่มเติมสภาพแวดล้อมพื้นที่ เช่น การติดตั้งหรือซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง การดูแลตัดต้นไม้ การติดตั้งหรือซ่อมแซมกล้องวงจรปิด (CCTV) การติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกัน อาชญากรรม การทำความสะอาด ฯลฯ รวมทั้งการเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่ โดยการจัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราเพื่อเป็นการป้องปรามการก่อเหตุอาชญากรรมหรือเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยตามแต่ละสภาพพื้นที่นั้น ๆ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

แบ่งการให้คะแนน (ร้อยละ) ออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่ 1. การดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 60 คะแนน คิดจาก y = (x*60)/n y = ร้อยละของจำนวนรายการที่ได้ดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัยสำเร็จ x = จำนวนรายการที่ได้ดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัยสำเร็จ n = จำนวนรายการที่ต้องดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่ 2. การเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 20คะแนน คิดจาก y = (x*20)/n y = ร้อยละของผลการเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยที่ดำเนินการได้ x = ผลการเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยที่ดำเนินการได้ n = เป้าหมายการดำเนินการเฝ้าระวังและตรวจตราตามแผน 3. การรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือน จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 20 คะแนน คิดจากการรายงานผลการดำเนินการแก้ไขพื้นที่เสี่ยงภัยที่สำนักงานเขตส่งให้สำนักเทศกิจ โดยแบ่งการให้คะแนนเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. จำนวน 15 คะแนน (ร้อยละ 75) คิดจากความครบถ้วนของรายงาน หากไม่ครบถ้วนจะตัดคะแนนจุดละ 0.1 คะแนน y = 15*(n-x)/n y = คะแนน (ร้อยละ) ความครบถ้วนของรายงาน x = จำนวนจุด (คะแนน) ที่ถูกตัดคะแนน n = จำนวนจุดทั้งหมด (คะแนน) 2. จำนวน 5 คะแนน (ร้อยละ 25) คิดจากการส่งรายงานทันภายในระยะเวลาที่กำหนด (ดูตราประทับวันที่ลงรับรายงาน) หากพ้นกำหนดจะถูกตัดคะแนนตามตารางด้านล่าง y = 5-z y = คะแนน (ร้อยละ) การส่งรายงานทันภายในระยะเวลาที่กำหนด z = คะแนนที่ถูกหักตามตาราง จำนวนส่งรายงานล่าช้า คะแนนที่ถูกหัก (เดือนหรือครั้ง) (z) 1 - 2 เดือน (ครั้ง) 1 3 - 4 เดือน (ครั้ง) 2 5 - 6 เดือน (ครั้ง) 3 7 - 8 เดือน (ครั้ง) 4 10 เดือน (ครั้ง) ขึ้นไป 5

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

มีการจัดทำแผนการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อม และเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยตามเงื่อนไขการลดความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมที่กรุงเทพมหานครกำหนด และดำเนินการตามแผนดังกล่าว ดังนี้ 1. การปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัย 1.1 ฝ่ายรักษาความสะอาดมีการดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการดูแลตัดต้นไม้ ทำความสะอาดพื้นที่ และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง 1.2 ฝ่ายโยธามีการดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการติดตั้งหรือซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง ติดตั้งหรือซ่อมแซมกล้องวงจรปิด (CCTV) และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง 1.3 ฝ่ายเทศกิจมีการดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เตือนภัยภัยอาชญากรรม และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. การเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัย 2.1 มีการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวนอย่างน้อย 2 ครั้ง/จุด/วัน 2.2 มีการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวนอย่างน้อย 1 ครั้ง/จุด/วัน 2.3 มีการรวบรวมและสรุปผลการดำเนินการรายงานให้สำนักเทศกิจทราบเป็นรายเดือน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด
:๑.๒.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน%
:๑.๒.๑.๑ เสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่อ อาชญากรรม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง