ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

การรายงาน รง.506 เมื่อพบผู้ป่วยมารับบริการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ : 07000000-3563

สำนักการแพทย์ : (2563)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นายสมพล บูรณะโอสถ โทร 02-220-8000 ต่อ 11270,11273

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยปัจจุบันโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาดตามฤดูกาลมีความรุนแรงมากขึ้น ในการดำเนินงานเชิงป้องกันและระบาดวิทยานั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายสาธารณสุขในทางปฏิบัติเมื่อพบผู้ป่วยโรคระบาดมาตรวจรักษา ณ สถานพยาบาลจะต้องรายงานอุบัติการณ์ (รง.506) ไปยังกลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อสำนักอนามัยเพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและสามารถติดตามเยี่ยมเพื่อประเมินความต้องการการดูแลต่อเนื่องจากการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยในและนอกจากนี้โรคที่มีความสำคัญสูง มีความรุนแรงหรือแพร่กระจายได้รวดเร็ว รวมทั้งอาจมีผลกระทบต่อสาธารณะในวงกว้าง จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รายงานผู้ป่วยแม้เพียงสงสัย โดยใช้อาการทางคลินิกของผู้ป่วยหรือการที่แพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยในเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอการวินิจฉัยสุดท้ายจากแพทย์และไม่รอการลงรหัสโรค ICD 10 หรือการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำเนินมาตรการควบคุมโรคได้ทันที ป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปในวงกว้าง ในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคดังกล่าว ไม่ว่าแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา ไปจนถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ สามารถรายงานผู้ป่วยสงสัยโรคเหล่านี้ได้ทุกคน เพื่อให้เกิดการตรวจจับผู้ป่วยให้ได้เร็วที่สุด ในการรายงานการเฝ้าระวงโรคติดต่อในสถานพยาบาล (รง. 506) มีการรายงานหลายรูปแบบ ทั้งในกรณีผู้ป่วยเป็นรายบุคคลภายใน 24 ชั่วโมงหลังพบผู้ป่วย มีรายละเอียดของผู้ป่วย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป วันเริ่มป่วย การวินิจฉัย ประเภทผู้ป่วย ผลการรักษา รวมทั้งข้อมูลการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายเบื้องต้น โดยรายงานได้ตั้งแต่เป็นผู้ป่วยสงสัย และควรมีการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก จากฐานข้อมูลเวชสถิติและทะเบียนผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีผู้ป่วยที่ตกหล่นไม่ได้ รับแจ้งจากฝ่ายรักษาพยาบาล และรายงานเหตุการณ์การระบาด (Outbreak notification report) เป็นการรายงานเหตุการณ์ที่พบ ผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นผิดปกติหรือพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน โดยอาจทราบหรือยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่ชัดเจนก็ได้ต้องรายงาน เพื่อแจ้งเตือนและออกสอบสวนโรคเบื้องต้น ภายใน 24 ชั่วโมง หลังพบเหตุการณ์ผิดปกตินั้นๆ โดยสามารถรายงานเหตุการณ์เบื้องต้น ประกอบด้วยข้อมูลของเหตุการณ์ ได้แก่ โรคหรือกลุ่มอาการที่สงสัย บุคคล สถานที่ วัน-เวลาที่เกิดเหตุการณ์ จำนวนผู้ป่วย และผู้ป่วยเสียชีวิตในเบื้องต้น ทีมสอบสวนโรค วัน-เวลาที่ออกสอบสวนและควบคุมโรค ทั้งนี้ควรมีการค้นหา เหตุการณ์ที่พบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นผิดปกติ(จากฐานข้อมูลเฝ้าระวัง ทางระบาดวิทยา (รายงาน 506) เป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถตรวจจับโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นผิดปกติได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มมีแนวโน้มเกิดการระบาด

07050400/07050400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.เพื่อให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการรายงานข้อมูลได้ถูกต้องรวดเร็วเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ และโรคระบาดตามฤดูกาล ได้รับการค้นหาและดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

เป้าหมายของโครงการ

รายงานอุบัติการณ์โรคติดต่อใหม่และโรคระบาดตามฤดูกาลไปยังกลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย ภายใน 24 ชั่วโมง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง%
๑.๖.๒.๔ พัฒนาระบบกลไกการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-19)

100.00

19/09/2563 : 1. การรายงาน รง.506 เมื่อพบผู้ป่วยมารับบริการ ไปยังกรมควบคุมโรค สำนักอนามัย 2. นักสถิติดึงรายงานจากรหัสโรค DF (A90) และ DHF (A91) พร้อมทั้งรายงานมายังเจ้าหน้าที่แผนทุกวัน 3. เจ้าหน้าที่แผนรายงานในส่วนที่หน่วยงานยังไม่ส่ง รายงาน รง.506 ไปยังฝ่ายการพยาบาล 4. ฝ่ายการพยาบาลประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่งรายงาน รง.506 ให้ทันเวลา 5. หน่วยบริการเขียนรายงาน รง.506 ส่งมายังงานเวชระเบียนใน ฝ่ายวิชาการและแผนงาน เพื่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายส่งรายงานไปยังกรมควบคุมโรค สำนักอนามัย ในลำดับต่อไป

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2020-08-19)

85.00

19/8/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. เมื่อพบผู้ป่วยที่มีผลการตรวจของโรค DHF และ DF เจ้าหน้าที่ ณ จุดให้บริการ ดำเนินการเขียนรายงาน 506 นำส่งงานเวชระเบียนผู้ป่วยใน ฝ่ายวิชาการและแผนงานโดยทันที 2. นักสถิติดึงรายงานผู้ป่วยโรค DHF และ DF ทุกวันเพื่อติดตามทวงถามหน่วยงานที่ไม่ส่งรายงาน 506 3. เมื่อเจ้าหน้าที่นำส่งรายงาน 506 ให้งานเวชระเบียนผู้ป่วยใน เจ้าหน้าที่ผู้รับรายงานดำเนินการตรวจสอบและส่งข้อมูลไปยังกองระบาดเพื่อดำเนินการต่อไป 4. จากสถิติเดือนกรกฏาคม 2563 ข้อมูลรายงาน รง.506 14 คน จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยทั้งหมด 21 ราย ข้อมูลวันที่ 1-18 สิงหาคม 2563 ข้อมูลรายงาน รง.506 3 คน จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยทั้งหมด 8 ราย โดยยอดรวมการรายงาน รง.506 ตั้งแต่ 1 ต.ค. 62 - 18 ส.ค. 63 จำนวน 482 ราย จากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 500 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.40

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-07-17)

70.00

17/7/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน .... - ดำเนินการโดยให้หน่วยงานที่ให้บริการเขียนใบรายงานเมื่อแพทญ์วินิจฉัยโรคไข้เด้งกี่หรือไข้เลือดออกทุกครั้ง - นักสถิติดึงรายงานทุกวันเพื่อตรวจเช็คกรณีหน่วยงานไม่ส่งใบรายงานและติดตามทวงถามไปยังฝ่ายการพยาบาล - ส่งข้อมูลไปยังกองระบาด การดำเนินการช่วงเดือน มิ.ย.- 16 ก.ค. 63 การส่งรายงาน รง.506 ร้อยละ 90

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2020-06-19)

65.00

19/6/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน การดำเนินการดังนี้ 1. เมื่อผู้ป่วยมาโรงพยาบาลและแพทยืทำการรักษาโดยการตรวจเลือด เมื่อผลจากห้องปฏิบัติการออกมาว่า ผู้ป่วยรานนั้นเป็น DF/DHF เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้นจะดำเนินการเขียนรายงาน 506 มาส่งยังงานเวชระเบียนใน ฝ่ายวิชาการและแผนงานทันที 2. เจ้าหน้าที่งานเวชระเบียนในตรวจสอบข้อมูลใบรายงาน รง.506 นำส่งสำนักระบาดวิทยา 3. เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเช็คการส่งรายงานจากในระบบประจำวัน เพื่อให้การนำส่งรายงาน รง.506 ครบถ้วน 4. ผลการรายงานข้อมูลวันที่ 20 พ.ค. - 18 มิ.ย. 2563 มีการรายงาน รง.506 ร้อยละ 95.79

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-05-20)

60.00

20/5/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินการดังนี้ 1. เมื่อผู้ป่วยมาโรงพยาบาลและแพทยืทำการรักษาโดยการตรวจเลือด เมื่อผลจากห้องปฏิบัติการออกมาว่า ผู้ป่วยรานนั้นเป็น DF/DHF เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้นจะดำเนินการเขียนรายงาน 506 มาส่งยังงานเวชระเบียนใน ฝ่ายวิชาการและแผนงานทันที 2. เจ้าหน้าที่งานเวชระเบียนในตรวจสอบข้อมูลใบรายงาน รง.506 นำส่งสำนักระบาดวิทยา 3. เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเช็คการส่งรายงานจากในระบบประจำวัน เพื่อให้การนำส่งรายงาน รง.506 ครบถ้วน 4. ผลการรายงานข้อมูลวันที่ 20 เม.ย. - 19 พ.ค. 2563 มีการรายงาน รง.506 ร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-04-20)

50.00

20/4/2563 : หน่วยรับรบริการที่รับผู้ป่วยไว้ และดำเนินการส่งตรวจ ได้รับผลตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการของโรคเป็น Positive จัดทำรายงาน รง.506 นำส่งหน่วยงานเวชระเบียนผู้ป่วยในฝ่ายวิชาการและแนงานเพื่อดำเนินการส่งไปยังกองระบาดภายใน 24 ชั่วโมง และในรอบวันทำการตรวจสอบการรายงานการนำส่ง รง.506 จากฐานข้อมูลผู้ป่วย เพื่อให้การดำเนินการได้ครบถ้วนสมบูรญ์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2020-03-19)

45.00

19/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ประสานฝ่ายการพยาบาลเพื่อแจ้งให้ทุก OPD และทุกหอผู้ป่วยป่วยรับทราบและปฏิบัติตาม เมื่อเจออุบัติการณ์ให้รีบเขียนรายงาน 506 โดยให้รายงานข้อมูลผู้ป่วยให้ชัดเจนที่อยู่ปัจจุบันถูกต้อง ตามความเป็นจริง รวมถึงไปถึงการระบุโรคตามผลการตรวจให้ชัดเจนแล้วส่งมายังงานเวชระเบียนผู้ป่วยใน ฝ่ายวิชาการและแผนงานเพื่อดำเนินการลงข้อมูลในโปรแกรม E-Phis พร้อมทั้งส่งข้อมูลไปยังกองระบาดต่อไป

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-02-28)

40.00

28/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...รายงานอุบัติการณ์โรคติดต่อใหม่และโรคระบาดตามฤดูกาลไปยังกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักการแพทย์ ภายใน 24 ชั่วโมง - ประสานฝ่ายการพยาบาลแจ้งทุกหน่วยผู้ป่วยนอก (OPD) และหอผู้ป่วยให้รีบรายงานมายังงานเวชระเบียนในฝ่ายวิชาการและแผนงานเพื่อรายงานอุบัติการณ์ไปยังกองควบคุมโรคให้ทันเวลา - ผลการติดตามในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โรงพยาบาลกลางพบผู้ป่วยไข้เด็งกี่และไข้เลือดออก จำนวน 22 ราย มีการส่งรายงาน รง.506 เมื่อพบผู้ป่วย จำนวน 22 ราย คิดเป็น ร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี -

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี -

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2020-01-30)

30.00

30/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินการประสานงานกับฝ่ายการพยาบาล เพื่อปรึกษา หารือ กรณีการรายงาน การเฝ้าระวงโรคติดต่อในสถานพยาบาล (รง. 506) โรคไข้เลือดออก ผู้รับผิดชอบการรายงานตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วน รับเอกสารบันทึกข้อมูลและบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ของกรมควบคุมโรค สำนักอนามัย ภายใน 24 ชั่วโมง โดยระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 298 ราย จำนวนการส่งใบรายงาน รง.506 เมื่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออก 258 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.58

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2019-12-27)

15.00

27/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... ประสานงานกับฝ่ายการพยาบาลเรื่องการรายงานการเฝ้าระวงโรคติดต่อในสถานพยาบาล (รง. 506) โรคไข้เลือดออก ดำเนินการรายงานส่งข้อมูลไปยังสำนักการแพทย์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-11-30)

10.00

30/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ประสานงานกับฝ่ายการพยาบาล เพื่อปรึกษา หารือ กรณีการรายงาน การเฝ้าระวงโรคติดต่อในสถานพยาบาล (รง. 506) โรคไข้เลือดออก ผู้รับผิดชอบการรายงานตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วน รับเอกสารบันทึกข้อมูลลงในบานข้อมูลและบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ของกรมควบคุมโรค สำนักอนามัย ภายใน 24 ชั่วโมง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-10-26)

5.00

26/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...รับนโยบายจากผู้บริหาร จัดทำกิจกรรมและขั้นตอนการปฏิบัติงานและจัดทำกิจกรรมนำเสนอผู้บริหาร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:รับนโยบายจากผู้บริหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำกิจกรรมและขั้นตอนการปฏิบัติงานและจัดทำกิจกรรมนำเสนอผู้บริหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมอบหมายงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้
:40.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:จัดทำรายงาน รง.506 การเฝ้าระวัง ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่รวดเร็วส่งข้อมูลด้วยระบบ Epinet หรือ ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (epid_bma@yhoo.com) ไปยังกองระบาด สำนักอนามัย
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:รายงานผลการดำเนินงานทุก ๆ รายไตรมาส
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:สรุปกิจกรรมนำเรียนผู้บริหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-3563

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-3563

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-0786

ตัวชี้วัด : ร้อยละของการส่งรง.506 เมื่อพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
100.00

100 / 100
2
90.48

100 / 100
3
96.83

0 / 0
4
97.12

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **