ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวพรณรีย์ ทัศยาพันธุ์/นางสาวยูวัยรียะห์ คล้อยวิถี โทร.023286901 ต่อ 11451
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และสถานพยาบาลต่าง ๆ จึงต้องเตรียมการเพื่อรองรับผู้ป่วยเหล่านี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความพร้อมให้กับโรงพยาบาลในด้านต่าง ๆ อันจะทำให้การจัดระบบงาน และการปฏิบัติงานให้บริการผู้ป่วย เป็นไปโดยเรียบร้อย บุคคลากร เจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้ป่วยทั่วไปและญาติที่เข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลมีความปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ จึงนำเทคโนโลยี telemedmedicine เข้ามามีบทบาทสำคัญ และถือเป็นทางออกที่ดี ที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ การลดค่าใช้จ่ายการรักษา และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงแพทย์ได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ติดเตียงที่เดินทางไม่สะดวกได้รับบริการด้านสาธารณสุขโดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การรักษาและการติดตามผลการรักษา ภายหลังจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาลทำรักษาและต่อเนื่องโดยไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล อีกทั้งช่วยลดการแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้อีกด้วย
07140000/07140000
1.เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาล 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาโดยเฉพาะป่วยติดเตียง/ผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเดินทางสามารถเข้าบริการทางการแพทย์
ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๓ คนกรุงเทพฯทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เท่าเทียม มีคุณภาพ แ% |
๑.๖.๓.๑ พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-23)
23/09/2564 : โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำนวน 8 แห่ง ให้บริการด้านการรักษา และให้คำปรึกษาด้านการรักษาผู้ป่วยผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ ได้แก่ กลุ่มโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น 2. ผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเหมาะสมกับการรักษาด้วยระบบโทรเวชกรรม ได้แก่ ผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรัง ผู้ป่วย ARV และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง เป็นต้น 3. ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น การกำหนดฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และมารับบริการมากกว่า 1 ครั้ง (ผู้ป่วยเก่า) ในผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมและผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพ และแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถรับบริการทางระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ได้ จากการพิจารณากลุ่มเป้าหมายจากผู้มารับบริการปี 2563 ตามกลุ่มเป้าหมายข้างต้น จากรหัส ICD10 จำนวน 105,872 ราย โดยมีผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการผ่านระบบโทรเวชกรรมเข้ารับบริการจำนวน 33,745 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 31.87
** ปัญหาของโครงการ :1. ระบบอินเตอร์เน็ตไม่เสถียรทั้งของฝั่งโรงพยาบาลและผู้ป่วย 2. ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ดูแลไม่มีความชำนาญเรื่องเทคโนโลยีทำให้บางส่วนไม่สามารถใช้งานระบบ Telemedicine ได้ 3. แอพพลิเคชั่น หมอ กทม. มีเฉพาะในระบบ Andriod ไม่มีในระบบ iOS 4. ผู้ป่วยบางรายยังมีความเคยชินกับการมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลมากกว่าระบบออนไลน์ 5. การจัดส่งยาน้ำที่บรรจุในขวดแก้ว ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีการหกหรือแตกระหว่างการขนส่ง
** อุปสรรคของโครงการ :1. ระบบอินเตอร์เน็ตไม่เสถียรทั้งของฝั่งโรงพยาบาลและผู้ป่วย 2. ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ดูแลไม่มีความชำนาญเรื่องเทคโนโลยีทำให้บางส่วนไม่สามารถใช้งานระบบ Telemedicine ได้ 3. แอพพลิเคชั่น หมอ กทม. มีเฉพาะในระบบ Andriod ไม่มีในระบบ iOS 4. ผู้ป่วยบางรายยังมีความเคยชินกับการมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลมากกว่าระบบออนไลน์ 5. การจัดส่งยาน้ำที่บรรจุในขวดแก้ว ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีการหกหรือแตกระหว่างการขนส่ง
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-08-25)
25/08/2564 : ดำเนินงานกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง / โรงพยาบาลตากสิน / โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ / โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ / โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ / โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร / โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ / โรงพยาบาลสิรินธร พบว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ - ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ - ผู้ป่วยกลุ่มที่เหมาะสมรักษาผ่านการเทเลเมด เช่น ผู้ป่วยโรคผิวหนัง ผู้ป่วย ARV ผู้ป่วยจิตเวช - ผู้ป่วยติดเตียง และอาจมีการขยายขอบเขตงานไปยังผู้ป่วยที่ทำการ Home Isolation เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ Covid-19 ไปยังผู้อื่นอีกด้วย โดยผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการผ่านระบบ Telemedicine มีจำนวน 7,832 ครั้ง จากเป้าหมายทั้งสิ้น 3,977 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 196.93
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
** อุปสรรคของโครงการ :สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-07-23)
23/07/2564 : การดำเนินงานกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง / โรงพยาบาลตากสิน / โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ / โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ / โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ / โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร / โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ / โรงพยาบาลสิรินธร พบว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ - ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ - ผู้ป่วยกลุ่มที่เหมาะสมรักษาผ่านการเทเลเมด เช่น ผู้ป่วยโรคผิวหนัง ผู้ป่วย ARV ผู้ป่วยจิตเวช - ผู้ป่วยติดเตียง และอาจมีการขยายขอบเขตงานไปยังผู้ป่วยที่ทำการ Home Isolation เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ Covid-19 ไปยังผู้อื่นอีกด้วย โดยผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการผ่านระบบ Telemedicine มีจำนวน 4,762 ครั้ง จากเป้าหมายทั้งสิ้น 4,193 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 113.57
** ปัญหาของโครงการ :- ผู้มารับบริการไม่ได้อยู่กับญาติคนเดิมที่ลงทะเบียนทางโทรศัพท์ไว้ เมื่อโทรไปจึงไม่สามารถสอบถามอาการได้ - การใช้เทคโนโลยีในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ยังมีความยากลำบาก
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-06-25)
25/06/2564 : การดำเนินงานกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ประจำเดือนมิถุนายน 2564 ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง / โรงพยาบาลตากสิน / โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ / โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ / โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ / โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร / โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ / โรงพยาบาลสิรินธร พบว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ใช้บริการสูงขึ้น โดยผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการผ่านระบบ Telemedicine มีจำนวน 9,684 ครั้ง จากเป้าหมายทั้งสิ้น 2,848 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 340.03
** ปัญหาของโครงการ :ผู้ป่วยทำการเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้ (วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือโทรเข้าเบอร์ญาติ/ขอเบอร์ใหม่ช่วงที่มารับยาเองที่รพ.)
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่พบปัญหา
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-05-25)
25/05/2564 : การดำเนินงานกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง / โรงพยาบาลตากสิน / โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ / โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ / โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ / โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร / โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ / โรงพยาบาลสิรินธร พบว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่ ที่มีผู้ป่วยไม่แสดงอาการเป็นจำนวนมากและมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยทั่วไปมีแนวโน้มการใช้บริการที่สูงขึ้น โดยผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการผ่านระบบ Telemedicine มีจำนวน 3,668 ครั้ง จากเป้าหมายทั้งสิ้น 3,379 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 108.55 ปล. โรงพยาบาลตากสินเก็บข้อมูลเป็นรายไตรมาส
** ปัญหาของโครงการ :ผู้ใช้บริการไม่มีความรู้ในการใช้โทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ทำให้บางครั้งมีการกดผิด
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่พบปัญหา
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-04-26)
26/04/2564 : การดำเนินงานกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ประจำเดือนเมษายน 2564 ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง / โรงพยาบาลตากสิน / โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ / โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ / โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ / โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร / โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ / โรงพยาบาลสิรินธร พบว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่ ที่มีผู้ป่วยไม่แสดงอาการเป็นจำนวนมากและมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยทั่วไปมีแนวโน้มการใช้บริการที่สูงขึ้น โดยผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการผ่านระบบ Telemedicine มีจำนวน 1,537 ครั้ง จากเป้าหมายทั้งสิ้น 2,404 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 63.94 ปล. โรงพยาบาลตากสินเก็บข้อมูลเป็นรายไตรมาส
** ปัญหาของโครงการ :1. ความไม่เสถียรของสัญญาณ Internet ของคนไข้บางรายทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสาร 2. Google chrome มีการ update version ตลอดเวลา ทำให้ไม่สามาถใช้โปรแกรมได้ในบางครั้ง (ใช้ได้เฉพาะ version 4เท่านั้น)
** อุปสรรคของโครงการ :1. ความไม่เสถียรของสัญญาณ Internet ของคนไข้บางรายทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสาร 2. Google chrome มีการ update version ตลอดเวลา ทำให้ไม่สามาถใช้โปรแกรมได้ในบางครั้ง (ใช้ได้เฉพาะ version 4เท่านั้น)
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-03-26)
26/03/2564 : การดำเนินงานกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ประจำเดือนมีนาคม 2564 พบว่า มีแนวโน้มผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางมีเดียต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยเห็นประโยชน์ในการเข้าสู่บริการระบบ Telemed ตัวอย่าง ถ้ามีเจาะเลือดสามารถมาเจาะเลือดแล้วกลับบ้านได้เลย เราจะติดต่อกลับไปในระบบ Telemed เมื่อผลเลือดออก ลดการสัมผัสเชื้อในรพ. หรือจัดทำคลิปวิดีโอเป็น Infographics เพื่อดึงดูดความสนใจ แทนการใช้แผ่นพับ (ช่วยลดการใช้กระดาษไปในตัว) เป็นต้น โดยผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการผ่านระบบ Telemedicine มีจำนวน 1,651 ครั้ง จากเป้าหมายทั้งสิ้น 1,341 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 123.12
** ปัญหาของโครงการ :ผู้ป่วยเปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์แบบสองซิม หรือเปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์รุ่น iphone หรือ ipad ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากระบบ Telemed ยังไม่สามารถใช้บนระบบ iOS ได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ใช้งานผ่าน Android ก็พบปัญหา คือ ระบบ google ทำการ update ตลอด ทำให้ version ไม่ตรงกับที่โปรแกรม telemed ได้ fixed ไว้ ทำให้ผู้ป่วยเห็นหน้าแพทย์แต่ไม่ได้ยินเสียง
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-02-25)
25/02/2564 : ผลการดำเนินงานประจำเดือนกุมภาพันธ์ มีดังนี้ 1) โรงพยาบาลกลาง รพก. ดำเนินการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) อย่างต่อเนื่อง มีการขยายงานให้บริการเพิ่มใน OPD ส่องกล้อง กระดูก อายุรกรรม (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 - 25 ก.พ. 64 มีจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ (Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 152 ราย ผู้รับบริการทั้งสิ้น 83 ครั้ง) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมสถิติเพื่อการรายงานในไตรมาสที่ 2 ต่อไป > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 152 ราย 2) โรงพยาบาลตากสิน รพต. ดำเนินการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) อย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 - 31 ม.ค. 64 มีจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ (Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 518 รายผู้รับบริการทั้งสิ้น 588 ครั้ง) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมสถิติเพื่อการรายงานในไตรมาสที่ 2 ต่อไป > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 588 ราย 3) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ รพจ. ดำเนินการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) อย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 - 31 ม.ค. 64 มีจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ (Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 55 รายผู้รับบริการทั้งสิ้น 57 ครั้ง) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมสถิติเพื่อการรายงานในไตรมาสที่ 2 ต่อไป > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 57 ราย 4) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ รพท. ดำเนินการจัดกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2564) > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 41 ราย 5) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ - แต่งตั้งคณะทำงานและกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน Telemedicine - กำหนดรูปแบบการดำเนินงาน รูปแบบการให้บริการ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ 3 กลุ่ม จัดทำแบบลงนามยินยอม Consent Form - กำหนดรหัสโรคหลัก (ICD10) และสำรวจจำนวนผู้ป่วย ตามกลุ่มโรคที่เป็นเป้าหมาย - ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 13 ราย 6) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ให้บริการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม ปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อให้การสื่อสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น (เปลี่ยนหูฟัง ไมโครโฟนที่มีคุณภาพเสียงชัดเจนยิ่งขึ้น) > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 9 ราย 7) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ วางแผนขยายบริการไปยังคลินิกกุมารในการตรวจติดตามพัฒนาการเด็ก > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 101 ราย 8) โรงพยาบาลสิรินธร - แต่ละฝ่าย/กง.ที่ได้รับมอบหมายได้ดำเนินการโทรเทเลเมดกับคนไข้ที่ทำการนัดหมายกันไว้แล้ว - เชิญชวนผู้ป่วยที่มารพ. และมีอาการดีขึ้น (ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเพื่อแค่รับยาอย่างเดียว) รับยาทางเทเลเมดให้มากขึ้นเพื่อลดการแออัดของผู้ป่วย - ประชาสัมพันธ์โดยการทำคลิปวิดีโอเชิญชวนการทำ Telemed โดยฝ่ายวิชาการและแผนงาน ผ่านทาง Line Group/ Facebook Fanpage/ Website ของโรงพยาบาล - กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 296 ราย สรุป : ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 1266 ราย
** ปัญหาของโครงการ :- การใช้แอปพลิเคชั่นมีความยุ่งยาก และความแตกต่างของระบบโมบาย (ios android) ผู้ใช้งานระบบ iosไม่สามารถใช้งานได้ และผู้ป่วยสูงอายุไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้โทรศัพท์มือถือทำให้ไม่สนใจที่จะร่วมโครงการ (รพก) - เนื่องจากผู้มารับบริการเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์มือถือภายหลังการลงทะเบียนทำให้ติดต่อไม่ได้ (รพท) - ให้บริการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม ปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อให้การสื่อสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น (เปลี่ยนหูฟัง ไมโครโฟนที่มีคุณภาพเสียงชัดเจนยิ่งขึ้น) (รพล)
** อุปสรรคของโครงการ :- การใช้แอปพลิเคชั่นมีความยุ่งยาก และความแตกต่างของระบบโมบาย (ios android) ผู้ใช้งานระบบ iosไม่สามารถใช้งานได้ และผู้ป่วยสูงอายุไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้โทรศัพท์มือถือทำให้ไม่สนใจที่จะร่วมโครงการ (รพก) - เนื่องจากผู้มารับบริการเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์มือถือภายหลังการลงทะเบียนทำให้ติดต่อไม่ได้ (รพท) - ให้บริการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม ปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อให้การสื่อสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น (เปลี่ยนหูฟัง ไมโครโฟนที่มีคุณภาพเสียงชัดเจนยิ่งขึ้น) (รพล)
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-01-25)
25/01/2564 : ผลการดำเนินงานประจำเดือนมกราคม มีดังนี้ 1) โรงพยาบาลกลาง มีคลินิกเข้าร่วมให้บริการด้วยระบบ tele med ได้แก่ คลินิกอายุรกรรม คลิกPresumtive TB คลินิกTB Dot คลินิกเพื่อนวันพฤหัส คลินิกศัลยกรรมปัสสาวะ โดยมีผู้ป่วยรับบริการตั้งแต่วันที่ 1-21 มกราคม 64 > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 49 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 86 ราย 2) โรงพยาบาลตากสิน มีคลินิกเข้าร่วมให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 2 คลินิก คือ คลินิกศัลยกรรมกระดูก และ คลินิกอายุรกรรมทั่วไป > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 128 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 72 ราย 3) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเพิ่มเติมในคลินิกต่างๆ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ม.ค. 64 OPD จะมีการดำเนินงานด้วยระบบโทรเวชกรรม เพิ่มมากขึ้น (ข้อมูลระหว่างวันที่ 16 ธ.ค. 63 - 18 ม.ค. 64 มีจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ (Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 73 รายผู้รับบริการทั้งสิ้น 11 ราย 12 ครั้ง) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมสถิติเพื่อการรายงานในไตรมาสที่ 2 ต่อไป > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 25 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 131 ราย 4) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึง ประชาสัมพันธ์ระบบผ่านช่องทางโซเชียลเช่นเฟซบุ๊คของรพ. ทำQR codeเพื่อเผยแพร่ให้ผู้รับบริการทราบและสามารถแสกนได้ที่ห้องตรวจแพทย์ ขยายแผนกการให้บริการสู่แผนกอายุรกรรมและศัลยกรรมกระดูก > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 38 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40 ราย 5) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ 1. แต่งตั้งคณะทำงานและกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน Telemedicine 2. กำหนดรูปแบบการดำเนินงาน รูปแบบการให้บริการ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ 3 กลุ่ม จัดทำแบบลงนามยินยอม Consent Form 3. กำหนดรหัสโรคหลัก (ICD10) และสำรวจจำนวนผู้ป่วย ตามกลุ่มโรคที่เป็นเป้าหมาย 4. ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 31 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 31 ราย 6) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินการให้บริการระบบ โทรเวชกรรมอย่างต่อเนื่อง -ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ เข้าร่วมโครงการ ทางเพจ facebook ของโรงพยาบาล และสื่อประชาสัมพันธ์ในโรงพยาบาล > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 18 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 46 ราย 7) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ - เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงโดยทำโปสเตอร์เพื่อประชาสัมพันธ์ในคลินิกต่างๆและทางface book ของโรงพยาบาล - ขยายเเผนกบริการไปยังคลินิกตรวจโรคทั่วไป คลินิกอายุรกรรม คลินิกศัลยกรรมกระดูก" > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 87 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90 ราย 8) โรงพยาบาลสิรินธร 1. แต่ละฝ่าย/กง.ที่ได้รับมอบหมายได้ดำเนินการโทรเทเลเมดกับคนไข้ที่ทำการนัดหมายกันไว้แล้ว 2. เชิญชวนผู้ป่วยที่มารพ. และมีอาการดีขึ้น (ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเพื่อแค่รับยาอย่างเดียว) รับยาทางเทเลเมดให้มากขึ้นเพื่อลดการแออัดของผู้ป่วย 3. ประชาสัมพันธ์โดยการทำคลิปวิดีโอเชิญชวนการทำ Telemed โดยฝ่ายวิชาการและแผนงาน (กำลังจัดทำ) > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 265 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 72 ราย สรุป : ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 641 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 568 ราย
** ปัญหาของโครงการ :- ช่วงเวลาการติดต่อกับผู้ป่วยยังเป็นอุปสรรคในบางคลินิก เช่น คลินิกสุขภาพพิเศษ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยุ่ในวัยทำงานบางครั้งแพทย์ติดต่อไปผู้ป่วยอาจติดภาระกิจหรืออาจขับรถ จึงทำให้ไม่สามารถนำรหัสที่ได้ยืนยันในโปรแกรมได้ในขณะนั่นซึ่งบางครั้งอาจทำให้ผู้มารับบริการสูญเสียโอกาสในการรับบริการเนื่องจากแพทย์อาจกดออกจากระบบเนื่องจากเข้าใจว่าไม่มีผู้รับสาย (รพท) - การใช้แอปพลิเคชั่นมีความยุ่งยาก และความแตกต่างของระบบโมบาย (ios android) ผู้ใช้งานระบบ iosไม่สามารถใช้งานได้ และผู้ป่วยสูงอายุไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้โทรศัพท์มือถือทำให้ไม่สนใจที่จะร่วมโครงการ (รพล) - ผู้ป่วยไม่ได้อยู่กับญาติในวันและเวลาที่แพทย์ดำเนินการtelemedicine ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ทำการtelemed (รพร) - มีกลุ่มคนไข้ที่สนใจในการทำtelemedเป็นจำนวนมาก เเต่เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีsmartphoneทำให้ผู้ป่วยบางกลุ่มพลาดโอกาสในการทำtelemed (รพร) - ระบบยังไม่เสถียร เสียงยังคงขาดๆหายๆในบางช่วง (รพส) - ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุใช้งานไม่เป็น ต้องรอญาติมาเชื่อมต่อให้ บางครั้งสายหลุด ทำให้ใช้เวลาเชื่อมต่อใหม่นาน (รพส)
** อุปสรรคของโครงการ :- ช่วงเวลาการติดต่อกับผู้ป่วยยังเป็นอุปสรรคในบางคลินิก เช่น คลินิกสุขภาพพิเศษ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยุ่ในวัยทำงานบางครั้งแพทย์ติดต่อไปผู้ป่วยอาจติดภาระกิจหรืออาจขับรถ จึงทำให้ไม่สามารถนำรหัสที่ได้ยืนยันในโปรแกรมได้ในขณะนั่นซึ่งบางครั้งอาจทำให้ผู้มารับบริการสูญเสียโอกาสในการรับบริการเนื่องจากแพทย์อาจกดออกจากระบบเนื่องจากเข้าใจว่าไม่มีผู้รับสาย (รพท) - การใช้แอปพลิเคชั่นมีความยุ่งยาก และความแตกต่างของระบบโมบาย (ios android) ผู้ใช้งานระบบ iosไม่สามารถใช้งานได้ และผู้ป่วยสูงอายุไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้โทรศัพท์มือถือทำให้ไม่สนใจที่จะร่วมโครงการ (รพล) - ผู้ป่วยไม่ได้อยู่กับญาติในวันและเวลาที่แพทย์ดำเนินการtelemedicine ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ทำการtelemed (รพร) - มีกลุ่มคนไข้ที่สนใจในการทำtelemedเป็นจำนวนมาก เเต่เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีsmartphoneทำให้ผู้ป่วยบางกลุ่มพลาดโอกาสในการทำtelemed (รพร) - ระบบยังไม่เสถียร เสียงยังคงขาดๆหายๆในบางช่วง (รพส) - ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุใช้งานไม่เป็น ต้องรอญาติมาเชื่อมต่อให้ บางครั้งสายหลุด ทำให้ใช้เวลาเชื่อมต่อใหม่นาน (รพส)
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : ผลการดำเนินงานประจำเดือนธันวาคม มีดังนี้ 1) โรงพยาบาลกลาง อยู่ระหว่างดำเนินการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการรายงาน/การลงข้อมูลการให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวช (Telemedicine)ให้เป็นแนวทางเดียวกัน > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 25 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 25 ราย 2) โรงพยาบาลตากสิน เชิญชวนผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไทรอยด์ ให้มากขึ้น > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 74 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 72 ราย 3) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลเดือน พ.ย. 63) > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 11 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 11 ราย 4) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ค้นหาผู้ป่วยที่มีความพร้อมและประสานผู้เกี่ยวข้องเช่นองค์กรแพทย์เพื่อส่งนัด(Telemedicine)และเพิ่มจำนวนยอดผู้ใช้บริการให้มากขึ้น > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 33 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 35 ราย 5) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ให้บริการและให้คำปรึกษาด้านการรักษาผู้ป่วยผ่านระบบโทรเวชกรรม > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 15 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 9 ราย 6) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร -เริ่มดำเนินการติดตั้งระบบ ปลายเดือน สิงหาคม 2563 -เริ่มเปิด คลินิก Telemedicine เดือน กันยายน 2563 > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 9 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10 ราย 7) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้าโครงการ/กิจกรรม ไตรมาส ๑ (30%) 1. ประชุมคณะกรรมการฯ หรือคณะทำงานระดับโรงพยาบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการพัฒนาศักยภาพบุคลกรในโรงพยาบาล ในการให้บริการรูปแบบใหม่ทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์โดยใช้ application telemedicine 2. ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางที่กำหนด 3. รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วย หรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการให้บริการ > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน67 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 108 ราย 8) โรงพยาบาลสิรินธร 1. แบ่งหน้าที่การดำเนินงานไปยังฝ่าย/กง.ที่เกี่ยวข้อง 2. แต่ละฝ่าย/กง.ที่ได้รับมอบหมายได้ดำเนินการโทรเทเลเมดกับคนไข้ที่ทำการนัดหมายกันไว้แล้ว 3. เชิญชวนผู้ป่วยที่มารพ. และมีอาการดีขึ้น (ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเพื่อแค่รับยาอย่างเดียว) รับยาทางเทเลเมดให้มากขึ้นเพื่อลดการแออัดของผู้ป่วย > ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการ(Consent Form) ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีจำนวน 203 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 72 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-11-26)
26/11/2563 : จากการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) มีผู้ดำเนินการ จำนวน 8 โรงพยาบาล ดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง : ประชุม วางแผนการดำเนินงานเพื่อมอบหมายงานและกำหนดแนวทางการทำงานในแต่ละส่วนงาน โดยได้มีการทดลองระบบและอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล 2. โรงพยาบาลตากสิน : เขิญชวนรับยาทางเทเลเมดให้มากขึ้นในเคสที่มีการเจาะเลือดในวันที่เชิญชวนแล้วผลเลือดค่อนข้างดี เพื่อในครั้งหน้าจะได้ไม่มีการเจาะเลือด สามารถรับยาอย่างเดียวได้เลย หรือมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เพื่อติดตามความดัน ในเคสที่รับยาHT โดยได้ทำการโทรเวชกรรม (Telemedicine) ไปแล้ว 13 ราย จากจำนวนเป้าหมาย 72 ราย 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ : อยู่ระหว่างรอระบบการจัดเก็บข้อมูลในระดับ สนพ. 4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ : ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เป็นต้นมา (ผลการดำเนินงานระหว่าง 1 ต.ค. - 15 พ.ย.63) โดยได้ทำการโทรเวชกรรม (Telemedicine) ไปแล้ว 24 ราย จากจำนวนเป้าหมาย 24 ราย 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ : แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อมอบหมายงาน กำหนดแนวทางการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงาน 6. โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร : ดำเนินการให้การตรวจรักษาผู้ป่วยผ่านระบบ Telemedicine จำนวน 9 ราย จากที่ยื่นความประสงค์ 16 ราย จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 5,000 ราย 7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ : อยู่ระหว่างการเตรียมจัดประชุมแบ่งตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการ 2564 8. โรงพยาบาลสิรินธร : อยู่ระหว่างการหารือแนวทางในการดำเนินงานและปรับปรุงแนวทางในการรายงานผล โดยได้ทำการโทรเวชกรรม (Telemedicine) ไปแล้ว 2 ราย จากจำนวนเป้าหมาย 72 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ประเด็นทาง IT พบว่า - ระบบยังไม่เสถียร (รพก., รพส.) - ระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้กับ telemed มีการ update version ทำให้ต่อสายคนไข้ไม่ได้ คนไข้เห็นหน้าแพทย์+ได้ยินเสียงแพทย์ แต่แพทย์ไม่เห็นและไม่ได้ยินเสียงคนไข้ หลังจากปรับลด version google ลงเป็น version 84 จึงใช้ได้ และปิดระบบอัพเดต google ของรพ. เพื่อรอใช้กับผุ้ป่วยอีกครั้ง ระบบ Telemed ยังไม่เสถียร เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อระหว่างการสนทนา (รพท.) - มีกล้องตัวเดียวกับไมโครโฟนตัวเดียว เคลื่อนย้ายอาจไม่สะดวก จึงทำให้ยังไม่สามารถทำได้ทุกคลินิก บางวันใช้เป็นห้องตรวจเฉพาะทาง เช่น โรคไต โรคหัวใจ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างพัฒนาปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้สอดรับกับบริบทการให้บริการของโรงพยาบาล (รพท.) - แอพพลิเคชั่นใช้งานยาก โปรแกรมมีความซับซ้อนในการตั้งค่าในโทรศัพท์ของผู้ป่วย (รพล.) ประเด็นทางข้อมูล พบว่า - ระบบการจัดเก็บข้อมูลในระดับ สนพ. ยังไม่แล้วเสร็จ (รพจ.) ประเด็นทางบุคคล พบว่า - ผู้ป่วยที่รับบริการบางรายโทรไปไม่ได้เนื่องจากใช้ระบบไอโฟน จึงใช้การโทรผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์แทน บางรายมีนัด 2 เคสผ่าน telemed ได้แต่ต้องรอโทรหาตอนเที่ยงเพราะผู้ป่วยสะดวกเที่ยง (รพท.) - ผู้ป่วยที่มีมาเจาะเลือดทุกรายเจาะแล้วรอพบแพทย์เลย จึงไม่ได้ทำ Telemed (รพท.) - ผู้รับบริการบางส่วนส่วนอยากมารพ. ชอบมาเจอเพื่อนๆได้คุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เลยไม่อยากทำ Telemed (รพท.)
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-28)
28/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...การนำโปรแกรม/แอพพลิเคชั่นไปใช้จริง ประจำเดือนตุลาคม จำนวน 2 ราย
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากเป็นการใช้แอพพลิเคชั่น Telemedicine ในระยะแรก ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการยังไม่คล่องตัว ทำใหhยอด Visit ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละเดือน
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 5
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 13.59
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **