ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals,SDGs) ที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นส่วนหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่ เป็นปัญหาด้านสุขภาพแต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย จากรายงานสถิติพบว่า อัตราการคลอดในวัยรุ่นของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2557 – 2559 อัตราการคลอดของหญิงอายุระหว่าง 15 – 19 ปี พบอัตราการคลอดต่อพันคนดังนี้ ปีพ.ศ. 2557 พบ 47.9 ปีพ.ศ. 2558 พบ 44.8 และปีพ.ศ. 2559 พบ 42.5 จำนวนหญิงคลอดอายุ 15 – 19 ปี = 129,451 ราย จำนวนหญิงคลอดอายุต่ำกว่า 15 ปี = 3,725 ราย และอายุต่ำกว่า 20 ปี ตั้งครรภ์ซ้ำ 15,443 ราย (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย นอกจากนี้สถานการณ์การคลอดซ้ำในวัยรุ่นยังคงอยู่ในระดับสูง โดยอัตราการคลอดซ้ำในหญิงอายุ 15-19 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา เท่ากับร้อยละ 11.3, 11.8, 11.9 , 12.5 และ 12.8 ในช่วง พ.ศ. 2553-2557 ตามลำดับ ส่วนใน พ.ศ. 2558 อัตราการคลอดซ้ำ ในหญิงอายุ15-19 ปี ลดลงเล็กน้อย เท่ากับร้อยละ 12.5 กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันวัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย ส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันก่อให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตามมามากขึ้น สำนักการแพทย์ โดยโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำนวน 8 แห่ง จึงได้มีโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่น ผ่านการดำเนินงานของโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีสุขภาพที่แข็งแรงและคลอดทารกน้ำหนักตามเกณฑ์ รวมทั้งประสานงานร่วมมือกับนักสังคมสงเคราะห์โดยให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นทุกคนได้พบกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยง ค้นหาปัญหา วางแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้งวางแผนในการเลี้ยงดูบุตร เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการดูแลที่ครอบคลุมและ มีคุณภาพ
07090000/07090000
2.1 เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ 2.2 เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและครอบครัว ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้หลังจากเข้าโรงเรียนพ่อแม่วัยรุ่น
สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและครอบครัวที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอด ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ปีงบประมาณพ.ศ. 2564
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
๑.๖.๑.๘ ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-07-29)
29/07/2564 : ชะลอโครงการเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์โควิด 19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-06-28)
28/06/2564 : ดำเนินการให้บริการตามแผนงานที่วางไว้
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์โควิด 19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-05-25)
25/05/2564 : ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่วัยรุ่น
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์โควิด 19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-04-23)
23/04/2564 : ดำเนินการให้ความรู้และสอนการปฏิบัติตัวตามกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-03-26)
26/03/2564 : จัดอบรมโรงเรียนพ่อแม่วัยรุ่น ในระยะตั้งครรภ์ 2 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-02-25)
2/25/2021 : ขอชะลอโครงการ เนื่องจากสถานการณ์โควิท 19
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :สถานการณ์โควิท 19
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-01-25)
25/01/2564 : 1.มีการจัดให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่สำหรับวัยรุ่นในระยะตั้งครรภ์ 2 ครั้ง - ครั้งที่1 อายุครรภ์ < 28 สัปดาห์ - ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ > 32 สัปดาห์ 2.แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเรียนรู้ และเพิ่มทักษะการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง โดยใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่ และเด็ก 3.กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชนติดตามเยี่ยมบ้านในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
** ปัญหาของโครงการ :หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นไม่มาฝากครรภ์ กลุ่มที่มาฝากครรภ์ส่วนใหญ่มาหลัง 12 สัปดาห์และมาฝากครรภ์ไม่ต่อเนื่อง
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : จัดอบรมให้ความรู้และแนะนำหญิงตั้งครรภ์ตามแนวทางที่วางไว้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-11-25)
25/11/2563 : คณะกรรมการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-10-27)
27/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษาโครงการเพื่อเขียนโครงการและเสนอขออนุมัติจากผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 40
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 43.64
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **