ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์โรงพยาบาลตากสิน : 07000000-7126

สำนักการแพทย์ : (2565)

69

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 69

คุณกรณ์กาญจน์ เพ็ชรพันธ์ โทร 1410

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคลองสาน มีพื้นที่ 11 ไร่ 2 งาน 48 ตารางวา เปิดให้บริการรักษาพยาบาล ทั้งด้านการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ มีศูนย์ความเป็นเลิศ ได้แก่ ศูนย์เบาหวาน และศูนย์หลอดเลือดสมอง ให้บริการดูแลรักษาแก่ประชาชน ครอบคลุมพื้นที่ฝั่งธนบุรี และบริเวณใกล้เคียง โดยเป็นโรงพยาบาลภาครัฐแห่งเดียวในพื้นที่นอกเหนือจากโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่ดูแลเฉพาะทหารเรือและครอบครัว และโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิชั้นสูง (Supertertiary) รับส่งต่อโรคซับซ้อน ดังนั้นโรงพยาบาลตากสินจึงต้องดูแลประชาชนฝั่งธนบุรีทั้งหมด ทำให้เกิดความแออัดในการรับบริการเป็นอย่างมาก เมื่อรวมญาติที่มาพร้อมผู้ป่วยอีก 1 – 2 คน ทำให้ผู้ป่วยนอกต้องรองรับประชาชนถึงวันละเฉลี่ย 3 – 4 พันคนต่อวัน สถิติผู้ป่วยที่มารับบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยผู้ป่วยนอกปัจจุบัน 1,900 – 2,000 ต่อวัน อีกทั้งพื้นที่โดยรอบและบริเวณใกล้เคียงโรงพยาบาลตากสิน กำลังพัฒนาเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยจะเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ICONSIAM ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย พิพิธภัณฑ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและการเติบโตของชุมชนฝั่งธนบุรี เกิดคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่หลายแห่งรอบโรงพยาบาล อนึ่งกรุงเทพมหานครมีนโยบายขยายการขนส่งมวลชน ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีทอง เป็นโครงการรถไฟฟ้าระยะสั้นบนถนนเจริญนคร และถนนสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งดำเนินการโดยกรุงเทพมหานครร่วมกับกลุ่มบริการศูนย์การค้าไอคอนสยาม และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด มีเส้นทางสถานีธนบุรีของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีสม วิ่งไปตามแนวถนนเจริญนคร รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม เข้าสู่ถนนประชาธิปก เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางทำให้คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวและประชาชนเดินทางเข้ามาในพื้นที่จำนวนมาก โรงพยาบาลตากสินจึงต้องมีแผนรองรับและขยายศักยภาพในการให้บริการ เพื่อรองรับประชาชนจำนวนมากในด้านการดูแลสุขภาวะของคนเมืองในแถบฝั่งธนบุรี และบริเวณใกล้เคียงที่เข้ามาในพื้นที่ อนึ่งโรงพยาบาลตากสินมีการพัฒนาคุณภาพการบริการทั้งด้านบุคลากรและเทคโนโลยี ที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายภาครัฐ ด้านโครงการประกันสุขภาพแห่งชาติ โครงการประกันสังคม การรักษาแรงงานต่างด้าว ตลอดจนสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีนโยบายการพัฒนาระบบส่งต่อ ทำให้มีการรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลใกล้เคียง ทั้งในและนอกเครือข่าย รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลตากสินได้จัดตั้งและพัฒนาศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา มีระบบการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นสถาบันในการผลิตแพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยกรรม ร่วมกับกรุงเทพมหานคร มีแผนรับแพทย์ประจำบ้าน (Resident Training) สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ในปี 2561 ปัจจุบันระบบอาคารที่ใช้ในการให้บริการผู้ป่วยนอกเป็นอาคารสูงเพียง 6 ชั้น ก่อสร้างมานานกว่า 40 ปี สภาพพื้นที่แออัด คับแคบ ไม่ได้รับความสะดวกและไม่สอดคล้องกับปริมาณผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น สภาพโครงสร้างชำรุด มีความเสื่อมสภาพของระบบสาธารณูปโภคในอาคาร ทั้งยังไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติงานสมัยใหม่ และการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ (Indoor Air Quality : IAQ) ตลอดจนระบบการระบายอากาศภายในอาคาร โดยเฉพาะการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การบริการมีขีดจำกัด เกิดการชะลอตัวและไม่ลื่นไหล ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความพึงพอใจ เกิดข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสถานที่เสมอ ทำให้ผู้ใช้บริการและบุคลากรขาดความเชื่อมั่นต่อศักยภาพโรงพยาบาลด้วยเหตุผลความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลตากสินจึงได้วางแผนก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่ สูง 23 ชั้นพร้อมชั้นจอดรถใต้ดิน 3 ชั้น บริเวณอาคาร 6 ชั้นเดิม และพื้นที่โดยรอบ เพื่อรองรับการให้บริการที่ครอบคลุม สามารถขยายงานบริการและพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการและการตรวจรักษาได้อย่างมีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน อาคารมีความมั่นคงปลอดภัยได้มาตรฐาน สะดวกทั้งด้านการใช้สอยและรวมไปถึงสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพและมีความถูกต้อง ตามสุขลักษณะซึ่งจะเป็นแรงจูงใจหนึ่งที่ช่วยสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชนให้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น บุคลากรเกิดความภาคภูมิใจต่อการพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลที่ก้าวหน้า ทันสมัย เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง และเป็นไปตามเป้าหมายของกรุงเทพมหานครที่มุ่งสู่การพัฒนาเป็นมหานครแห่งเอเซีย

07060000/07060000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

-เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลให้มีศักยภาพในการให้การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียงให้ทันสมัยและเพียงพอกับจำนวนผู้มารับบริการ -เพื่อพัฒนาการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียง โดยการเพิ่มศักยภาพในหน่วยงานต่าง ๆ เช่นห้องตรวจผู้ป่วยนอกแยกตามสาขาต่าง ๆ เป็นสัดส่วนและมีสถานที่นั่งรอตรวจที่เหมาะสมและเพียงพอ เป็นต้น - เพื่อลดความแออัดของสถานที่ให้บริการผู้ป่วยและสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสุขภาพ (Healing Environment) -เพื่อพัฒนาการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนของโรงพยาบาลให้ได้อย่างครบวงจรทั้งด้านการป้องกันโรค การส่งเสริม การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ -เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรของโรงพยาบาลในการปฏิบัติงานในสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะสม เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดขวัญและกำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจ เกิดความยึดมั่นผูกพันและความเชื่อมั่นในศักยภาพของโรงพยาบาล

เป้าหมายของโครงการ

-เพื่อขยายการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนครอบคลุมพื้นที่ด้านฝั่งธนบุรีได้เต็มศักยภาพ สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยได้ 600 เตียง -เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการบริการทางการแพทย์ที่สะดวก รวดเร็วในพื้นที่ใกล้บ้าน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และลดการส่งต่อผู้ป่วยหนั -เพื่อให้ประชาชนและบุคลากรของโรงพยาบาลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 69.00 (2022-09-26)

69.00

26/09/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน - งานโครงสร้าง ชั้น B3 - งานโครงสร้าง ชั้น B2 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 272 จุด = 10% 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 54,192 = 30% 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 518 ต้น = 10% 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) = 0.62% 5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.) = 9.97% 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) =5.60% 7. งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) =0% 8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน) =3.18% ความก้าวหน้าการดำเนินงานเดือนกันยายน 2565 คิดเป็นร้อยละ 69.37 (อ้างอิงตามรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 168) ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน 2565

** ปัญหาของโครงการ :- พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ - โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยกลับมาระบาดรุนแรงมากขึ้น

** อุปสรรคของโครงการ :- งานฐานราก การก่อสร้างล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานในปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมีหนังสือเลขที่ EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดินที่ระดับความลึก 5.90 ม. ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศก.0.30 ม. ประมาณ 250 ต้น ฝั่งอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นใต้ดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับ ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ - โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยกลับมาระบาดรุนแรงมากขึ้น

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2022-08-29)

60.00

29/08/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน - งานโครงสร้าง - งานเสา ชั้น B3 - งานผนัง - งานโครงสร้าง ชั้น B2 - งานพื้น ค.ส.ล. โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 272 จุด = 10% 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 54,192 = 30% 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 518 ต้น = 10% 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) = 0.46% 5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.) = 8.38% 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) =0% 7. งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) =0% 8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน) =1.61% (อ้างอิงตามรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 163) ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2565

** ปัญหาของโครงการ :- งานฐานราก การก่อสร้างล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานในปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมีหนังสือเลขที่ EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 ม. ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศก.0.30 ม. ประมาณ 250 ต้น ฝั่งอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นใต้ดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับ ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ - โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยกลับมาระบาดรุนแรงมากขึ้น

** อุปสรรคของโครงการ :- งานฐานราก การก่อสร้างล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานในปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมีหนังสือเลขที่ EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 ม. ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศก.0.30 ม. ประมาณ 250 ต้น ฝั่งอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นใต้ดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับ ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ - โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยกลับมาระบาดรุนแรงมากขึ้น

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2022-07-26)

50.00

26/07/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน 1. งานฐานราก 2. งานโครงสร้าง ชั้น B3 และ 3. งานตัดสกัด เสาเข็มเจาะ และขนส่งออกนอกพื้นที่ (อ้างอิงตามรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 155) ข้อมูล ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 272 จุด = 10% 2) งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 54,192 = 30% 3) งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 518 ต้น = 10% 4) งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) 5) งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.) 6) งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) 7) งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) 8) งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน)

** ปัญหาของโครงการ :- งานฐานราก การก่อสร้างล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานในปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมีหนังสือเลขที่ EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดินที่ระดับความลึก 5.90 ม. ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศก.0.30 ม. ประมาณ 250 ต้น ฝังอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นใต้ดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 47.00 (2022-06-22)

47.00

22/06/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน - งานฐานราก - งานโครงสร้าง ชั้น B3 - งานตัดสกัด เสาเข็มเจาะ - รื้อถอนเสาเข็มไม้ของอาคารเดิมและขนส่งออกนอกพื้นที่ - รื้อถอน Sheet Pile และคานค้ำยัน ชั้นที่ 4 โดยมีรายละเอียด (อ้างอิงจากรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 152 ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2565) ดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 230 จุด = 8.46% 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 53,775.35 = 29.77% 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 476 ต้น = 9.19% 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) 5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.) 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) 7. งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) 8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน)

** ปัญหาของโครงการ :- งานฐานราก การก่อสร้างล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานในปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมีหนังสือเลขที่ EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 ม. ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศก.0.30 ม. ประมาณ 250 ต้น ฝั่งอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นใต้ดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับ ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 47.00 (2022-05-25)

47.00

25/05/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน - ทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดิน - Bracing ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 เมตร - Bracing ชั้นที่ 4ระดับ -11.20 เมตร โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 230 จุด = 8.46% 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 53,775.35 = 29.77% 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 476 ต้น = 9.19% 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) 5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.) 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) 7. งานโครงสร้างเสา + คาน +พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) 8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน) (อ้างอิงตามรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 149) ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

** ปัญหาของโครงการ :- งานฐานราก การก่อสร้างล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานในปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมีหนังสือเลขที่ EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 ม. ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศก. 0.30 ม. ประมาณ 250 ต้น ฝั่งอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นใต้ดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับ ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 42.00 (2022-04-25)

42.00

25/04/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน - งานฐานราก - งานโครงสร้าง ชั้น B3 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 137 จุด = 5.04% 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 53,775.35 = 29.77% 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 383 ต้น = 7.39% 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) 5. งานโครงสร้างเสา+คานพื้น B3 (-9.40 m.) 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) 7. งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) 8. งานโครงสร้าง งานผนังค.ส.ล. (กำแพงกันดิน) (อ้างอิงตามรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 145) ข้อมูล ณ วันที่ 19 เมษายน 2565

** ปัญหาของโครงการ :- งานฐานราก การก่อสร้างล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานในปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมีหนังสือเลขที่ EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 ม. ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศก.0.30 ม. ประมาณ 250 ต้น ฝั่งอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นใต้ดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับ ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-03-21)

40.00

21/03/2565 : ความคืบหน้าผลการดำเนินงาน ประจำเดือนมีนาคม 2565 มีดังนี้ ผู้รับจ้างดำเนินงานได้ (รายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 140) ดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม ทำได้ 3.60 % (ทำได้ 98 จุด จากจำนวน 272 จุด) 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน ทำได้ 29.77 % (ทำได้ 53,775.35 ลบ.ม. จากจำนวน 54,192 ลบ.ม.) 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม ทำได้ 6.64 % (ทำได้ 344 ต้น จากจำนวน 518 ต้น 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) ทำได้ 0 % 5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้นB3 (-9.40 m.) ทำได้ 0 % 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้นB2 (-6.60 m.) ทำได้ 0 % 7. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้นB1 (-3.80 m.) ทำได้ 0 % 8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน) ทำได้ 0 %

** ปัญหาของโครงการ :- งานฐานราก การก่อสร้างล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานในปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมีหนังสือเลขที่ EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 ม. ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศก.0.30 ม. ประมาณ 250 ต้น ฝั่งอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นใต้ดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในช่องว่างระหว่างเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้นขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ระดับ ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ - พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในพื้นที่โครงการ เพิ่ม 1 ราย ผู้ติดเชื้อสะสม 25 ราย ผู้ป่วยรักษาหาย 22 ราย เหลือผู้ป่วยกำลังรักษา 3 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มีนาคม 2565)

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 36.00 (2022-02-21)

36.00

21/02/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน - งานวิศวกรรมโครงสร้าง - งานดิน-เสาเข็ม โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 40 จุด = 1.47% 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 52,102.96 = 28.84% 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 286 ต้น = 5.52% 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) 5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.) 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) 7. งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) 8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน) (ข้อมูล : รายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 136 ข้อมูล ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565)

** ปัญหาของโครงการ :-งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติโดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานปัจจุบัน -งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมี เลขที่เอกสาร EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 วันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 เมตร ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็มไม้เดิม ขนาดศูนย์กลาง 0.30 เมตร ประมาณ 250 ต้น ฝังอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในระหว่างช่องเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้น ขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ - ตรวจพบมีแรงงานติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในพื้นที่โครงการฯ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 32.00 (2022-01-25)

32.00

25/01/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน - งานวิศวกรรมโครงสร้าง - งานดิน-เสาเข็ม โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 20 จุด = 0.74% 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 47,624.82 = 26.36% 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 250 ต้น = 4.83% 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) 5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.) 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) 7. งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) 8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน) (อ้างอิงตามรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 131) ข้อมูล ณ วันที่ 13 มกราคม 2565

** ปัญหาของโครงการ :งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ ผู้ว่าจ้างอนุมัติโดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงาน เข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานปัจจุบัน -งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมี เลขที่เอกสาร EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 วันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 เมตร ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็ม ไม้เดิม ขนาดศูนย์กลาง 0.30 เมตร ประมาณ 250 ต้น ฝังอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงานขุดดินชั้นดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า - พบปัญหามีน้ำและดินทรายไหลเข้ามาในระหว่างช่องเสาเข็มเจาะแนวกำแพงกันดินแต่ละต้น ขณะทำงานระบบโครงสร้างป้องกันดินพัง Bracing ชั้นที่ 3 ระดับ -8.50 ม. ระหว่างทำงานขุดดินพบการทรุดตัวของดินบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 31.00 (2021-12-14)

31.00

14/12/2564 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ โดยผู้รับจ้างดำเนินงานได้ (อ้างอิงตามรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 126) ดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม ทำได้ 20 จุด จากจำนวน 272 จุด 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน ทำได้ 45,931.48 ลบ.ม. จากจำนวน 54,192 ลบ.ม. 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม ทำได้ 250 ต้น จากจำนวน 518 ต้น

** ปัญหาของโครงการ :- งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างแจ้งเหตุผลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดหาแรงงาน เข้ามาทำงานในโครงการฯ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ต้องทำงานปัจจุบัน - งานล่าช้ากว่าแผนงานที่ผู้ว่าจ้างอนุมัติ โดยผู้รับจ้างมี เลขที่เอกสาร EMC-THMO-BKK-LETTER-207-2564 วันที่ 28 กันยายน 2564 แจ้งปัญหาและอุปสรรคงานขุดดินชั้นใต้ดิน ที่ระดับความลึก 5.90 เมตร ปรากฏว่าขุดดินพบเสาเข็ม- ไม้เดิม ขนาดศูนย์กลาง 0.30 เมตร ประมาณ 250 ต้น ฝังอยู่ใต้ดิน เป็นกลุ่ม ๆ กระจายทั่วพื้นที่ก่อสร้าง เป็นเหตุกีดขวางงาน ขุดดินชั้นดิน เกิดผลกระทบให้งานล่าช้า

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 29.00 (2021-11-24)

29.00

24/11/2564 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน - งานวิศวกรรมโครงสร้าง - งานดิน - เสาเข็ม โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. งานทดสอบเสาเข็ม 272 จุด ทำได้ 20 จุด = 0.74% 2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน 54,192 ลบ.ม. ทำได้ 43,166.01 ลบ.ม. = 23.90% 3. งานสกัดหัวเสาเข็ม 518 ต้น ทำได้ 250 ต้น = 4.83% 4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.) 5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.) 6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น ชั้น B2 (-6.60m.) 7. งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80m.) 8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน) (อ้างอิงตามรายงานผลการควบคุมงานฯ ฉบับที่ 123) ข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-10-29)

5.00

29/10/2564 : ประชุมคณะทำงานส่ง-มอบดิน ณ วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธิ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. งานทดสอบเสาเข็ม
:10.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. งานขุดดินชั้นใต้ดินและขุดดิน
:30.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. งานสกัดหัวเสาเข็ม
:10.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. งานโครงสร้างบ่อลิฟท์, งานฐานราก (-15.60 m.)
:10.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B3 (-9.40 m.)
:10.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. งานโครงสร้างเสา+คาน+พื้น B2 (-6.60 m.)
:10.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. งานโครงสร้างเสา + คาน + พื้น ชั้น B1 (-3.80 m.)
:10.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. งานโครงสร้าง งานผนัง ค.ส.ล. (กำแพงกันดิน)
:10.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-7126

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-7126

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-829

ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิระดับสูงและระดับตติยภูมิระดับสูง

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 70

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **