ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
คุณวรวรรณ โรจนวงศ์ โทร. 1241
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลตากสิน ได้จัดตั้งคลินิกนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และเปิดให้บริการห้องตรวจความผิดปกติจากการนอนหลับ ตั้งแต่ปี 2559 ตามนโยบายของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร การดำเนินงานของคลินิกที่ผ่านมามีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ การนอนหลับ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน และพยาบาลวิชาชีพผ่านการอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนแพทย์ ซึ่งให้บริการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับทั้งในโรงพยาบาลตากสิน และที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น
07060000/07060000
เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างครบวงจรและมีความต่อเนื่อง เพื่อสามารถลดระยะเวลาในการรอคอยการตรวจความผิดปกติจากการนอนหลับ เพื่อพัฒนาการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคความผิดปกติจากการนอนหลับที่มีความซับซ้อนได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถรับรองให้บริการได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมโรคที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อพัฒนาคลินิกนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นศูนย์ความเป็นเลิศในด้านโรคจากการนอนหลับของกรุงเทพมหานครต่อไป
เปิดศูนย์นอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับเเบบครบวงจร (Sleep Center Taksin Hospital) ในปี พ.ศ.2564 - 2567 และเป็นศูนย์ความเป็นเลิศ (Excellent center) ต่อไป
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-09-27)
27/09/2565 : อยู่ระหว่างขั้นตอน 1.เพิ่มจำนวนห้องตรวจผู้ป่วยนอกเป็น 2 วัน/สัปดาห์ โดยมีสถิติผู้ป่วยคลินิกนอนกรน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 382 คน 2.เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจให้สามารถตรวจโรคจากการนอนหลับที่มีความผิดปกติทางสมองได้ โดยเริ่มดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 3.จัดให้มีการตรวจการนอนหลับที่ตึกผู้ป่วยใน ในกรณีเป็นเคสเร่งด่วน (Portable sleep test) ขยายการบริการออกไปก่อน เนื่องจากบุคลากรลาศึกษาต่อ คาดว่าจะเริ่มได้ในเดือนกันยายน 2565
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องใช้สถานที่และบุคคลากรของชั้นพิเศษ 16 ในการดำเนินการ ซึ่งเป็นสถานที่และบุคลากรที่ให้บริการตรวจการนอนหลับด้วย จึงไม่สามารถเปิดเป็น 5 วันต่อสัปดาห์ได้ นอกจากนี้ในช่วงที่สามารถเปิดให้บริการได้เป็นช่วงเวลาสั้นเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เป็นช่วงที่มีบุคลากรลาเรียน 3 เดือน จึงมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการตรวจการนอนหลับ
** อุปสรรคของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องใช้สถานที่และบุคคลากรของชั้นพิเศษ 16 ในการดำเนินการ ซึ่งเป็นสถานที่และบุคลากรที่ให้บริการตรวจการนอนหลับด้วย จึงไม่สามารถเปิดเป็น 5 วันต่อสัปดาห์ได้ นอกจากนี้ในช่วงที่สามารถเปิดให้บริการได้เป็นช่วงเวลาสั้นเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เป็นช่วงที่มีบุคลากรลาเรียน 3 เดือน จึงมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการตรวจการนอนหลับ
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2022-08-29)
29/08/2565 : ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอน 1. คลินิกนอนกรน สามารถเปิดคลินิกนอนกรนได้ 2 วัน/สัปดาห์ ได้ในบางสัปดาห์ เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การนอนหลับที่เป็นแพทย์ห้วงเวลา มาตรวจสัปดาห์เว้นสัปดาห์ แต่ก็สามารถลดระยะเวลารอคอยผู้ป่วยที่ต้องการมาตรวจที่คลินิกได้จาก 6 เดือน ลดลงเหลือ 3 เดือน โดยมีการวางแผนในอนาคตคาดว่าจะเปิดคลินิกได้ 2 วัน/สัปดาห์ ในทุกสัปดาห์ ประมาณเดือน สิงหาคม 2565 เนื่องจากมีแพทย์เพิ่มขึ้น 2. จัดให้มีการตรวจการนอนหลับที่ตึกผู้ป่วยใน ในกรณีเป็นเคสเร่งด่วน (Portable sleep test) 3. เปิดให้บริการห้องตรวจการนอนหลับ 4 วัน/สัปดาห์ เดิมวางแผนเพิ่มการให้บริการเป็น 5 วัน/สัปดาห์ แต่ด้วยสถานการณ์ COVID-19 จึงไม่สามารถเปิดเพิ่มได้ จึงต้องเลื่อนแผนในการเปิดให้บริการเพิ่มเป็น 5 วัน/ต่อสัปดาห์ ออกไปในช่วงเดือนตุลาคม 2565
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ปิดห้องตรวจการนอนหลับ และหลังจากกลับมาเปิดห้องตรวจการนอนหลับ จึงสามารถเพิ่มได้เพียง 3/สัปดาห์ และ 4 วัน/สัปดาห์ ตามลำดับ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของห้องตรวจการนอนหลับอยู่ระหว่างศึกษาต่อ ทำให้มีบุคลากรไม่เพียงพอ
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2022-07-27)
ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอน 1. คลินิกนอนกรน สามารถเปิดคลินิกนอนกรนได้ 2 วัน/สัปดาห์ ได้ในบางสัปดาห์เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การนอนหลับที่เป็นแพทย์ห้วงเวลา มาตรวจ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ แต่ก็สามารถลดระยะเวลารอคอยผู้ป่วยที่ต้องการมาตรวจที่คลินิกได้จาก 6 เดือน ลดลงเหลือ 3 เดือน โดยมีการวางแผนในอนาคตคาดว่าจะเปิดคลินิกได้ 2 วัน/สัปดาห์ ในทุกสัปดาห์ ประมาณเดือน สิงหาคม 2565 เนื่องจากมีแพทย์เพิ่มขึ้น 2. จัดให้มีการตรวจการนอนหลับที่ตึกผู้ป่วยใน ในกรณีเป็นเคสเร่งด่วน (Portable sleep test) เปิดให้บริการห้องตรวจการนอนหลับ 4 วัน/สัปดาห์ มีแผนเพิ่มเป็น 5 วัน ประมาณเดือนตุลาคม 2565
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์ COVID-19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2022-06-29)
29/06/2565 : 1. คลินิกนอนการ ดำเนินการเพิ่มจำนวนห้องตรวจผู้ป่วยนอกเป็น 2 วัน/สัปดาห์ โดยมีสถิติผู้ป่วยคลีนิกนอนกรน ปีงบประมาณ 2565 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 - พฤษภาคม 2565 จำนวน 258 คน โดยจำนวนผู้ป่วยเดือน ตุลาคม 2564 - พฤศจิกายน 2564 มีจำนวนน้อย เนื่องจากมีการปิดคลินิกนอนกรน จากสถานการณ์ระบาด COVID-19 จึงรับปรึกษาเฉพาะผู้ป่วยเร่งด่วนจำเป็น และช่วงเดือน ธันวาคม 64 - พฤษภาคม 2565 จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเปิดคลินิกได้ตามปกติ สามารถเปิดคลินิกนอนกรนได้ 2 วัน/สัปดาห์ ได้ในบางสัปดาห์เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การนอนหลับที่เป็นแพทย์ห้วงเวลา มาตรวจ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ แต่ก็สามารถลดระยะเวลารอคอยผู้ป่วยที่ต้องการมาตรวจที่คลินิกได้จาก 6 เดือน ลดลงเหลือ 3 เดือน โดยมีการวางแผนในอนาคตคาดว่าจะเปิดคลินิกได้ 2 วัน/สัปดาห์ ในทุกสัปดาห์ ประมาณเดือน สิงหาคม 2565 เนื่องจากมีแพทย์เพิ่มขึ้น 2. เปิดให้บริการห้องตรวจการนอนหลับจาก 4 วัน/สัปดาห์ 3. เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจให้สามารถตรวจโรคจากการนอนหลับที่มีความผิดปกติทางสมองได้ เริ่มตรวจได้เดือนมิถุนายน 2565 สถิติผู้ป่วยที่ต้องตรวจความผิดปกติทางสมอง เป็นจำนวน 0 ราย เนื่องจากยังไม่ถึงคิวนัด 4. จัดให้มีการตรวจการนอนหลับที่ตึกผู้ป่วยใน ในกรณีเป็นเคสเร่งด่วน (Portable sleep test) ขยายการบริการออกไปก่อน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ลาศึกษาต่อ มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ คาดว่าจะเริ่มได้ในเดือนกันยายน 2565
** ปัญหาของโครงการ :ห้องตรวจการนอนหลับ ยังไม่ได้ตามเป้าหมายคือ 5 วัน/สัปดาห์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ลาศึกษาต่อ จึงยังไม่สามารถเปิดตรวจเพิ่มได้ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2022-05-26)
26/05/2565 : อยู่ระหว่างขั้นตอน ดังนี้ 1. เปิดให้บริการห้องตรวจการนอนหลับจาก 4 วัน/สัปดาห์ เป็น 5 วัน/สัปดาห์ - ยังไม่สามารถเปิดเพิ่มได้ เนื่องจากห้องตรวจได้ปิดบริการจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องใช้สถานที่และบุคคลากรของชั้นพิเศษ 16 ในการดำเนินการ ซึ่งเป็นสถานที่และบุคคลากรที่ให้บริการตรวจการนอนหลับด้วย - การตรวจการนอนหลับไม่สามารถให้บริการได้ ทำให้มีผู้ป่วยรอคิวตรวจค้างไปถึงปี 2567 และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไหร่ จึงวางแผนแก้ไขโดยปรับการตรวจเป็นระดับ 2 หมายถึง ไม่ต้องใช้บุคลากรในการเฝ้าเครื่องมือตรวจและผู้ป่วย และย้ายเครื่องมือไปตรวจในตึกผู้ป่วยใน (portable sleep test) ในกรณีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษา โดยคาดว่าจะกลับมาเปิด 5 วัน/สัปดาห์ ประมาณเดือนสิงหาคม เนื่องจากช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม บุคลากร ชั้น 16 ไม่เพียงพอ มีบุคลากรลาเรียน 3 เดือน 2. เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจให้สามารถตรวจโรคจากการนอนหลับที่มีความผิดปกติทางสมองได้ เริ่มดำเนินการได้แน่นอนในเดือนมิถุนายน 3. จัดให้มีการตรวจการนอนหลับที่ตึกผู้ป่วยใน ในกรณีเป็นเคสเร่งด่วน (Portable sleep test) เริ่มดำเนินการได้แน่นอนในเดือนมิถุนายน 4. อยู่ระหว่างการตรวจรับเครื่องชุดตรวจวิเคราะห์การนอนหลับพร้อมระบบวิเคราะห์ภาวะชักขณะหลับ คาดว่าดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-04-26)
26/04/2565 : 1. เปิดให้บริการห้องตรวจการนอนหลับจาก 4 วัน/สัปดาห์ เป็น 5 วัน/สัปดาห์ - ยังไม่สามารถเปิดเพิ่มได้ เนื่องจากห้องตรวจได้ปิดบริการจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องใช้สถานที่และบุคคลากรของชั้นพิเศษ 16 ในการดำเนินการ ซึ่งเป็นสถานที่และบุคคลากรที่ให้บริการตรวจการนอนหลับด้วย - การตรวจการนอนหลับไม่สามารถให้บริการได้ ทำให้มีผู้ป่วยรอคิวตรวจค้างไปถึงปี 2567 และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไหร่ จึงวางแผนแก้ไขโดยปรับการตรวจเป็นระดับ 2 หมายถึง ไม่ต้องใช้บุคลากรในการเฝ้าเครื่องมือตรวจและผู้ป่วย และย้ายเครื่องมือไปตรวจในตึกผู้ป่วยใน (portable sleep test) ในกรณีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษา 2. เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจให้สามารถตรวจโรคจากการนอนหลับที่มีความผิดปกติทางสมองได้ เริ่มดำเนินการได้ระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2565 3. จัดให้มีการตรวจการนอนหลับที่ตึกผู้ป่วยใน ในกรณีเป็นเคสเร่งด่วน (Portable sleep test) เริ่มดำเนินการได้ระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2565
** ปัญหาของโครงการ : เนื่องจากห้องตรวจได้ปิดบริการจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องใช้สถานที่และบุคคลากรของชั้นพิเศษ 16 ในการดำเนินการ ซึ่งเป็นสถานที่และบุคคลากรที่ให้บริการตรวจการนอนหลับด้วย
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-03-23)
23/03/2565 : ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอน ... 1. เปิดให้บริการห้องตรวจการนอนหลับจาก 4 วัน/สัปดาห์ เป็น 5 วัน/สัปดาห์ - ยังไม่สามารถเปิดเพิ่มได้ เนื่องจากห้องตรวจได้ปิดบริการจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องใช้สถานที่และบุคคลากรของชั้นพิเศษ 16 ในการดำเนินการ ซึ่งเป็นสถานที่และบุคคลากรที่ให้บริการตรวจการนอนหลับด้วย - การตรวจการนอนหลับไม่สามารถให้บริการได้ ทำให้มีผู้ป่วยรอคิวตรวจค้างไปถึงปี 2567 และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไหร่ จึงวางแผนแก้ไขโดยปรับการตรวจเป็นระดับ 2 หมายถึง ไม่ต้องใช้บุคลากรในการเฝ้าเครื่องมือตรวจและผู้ป่วย และย้ายเครื่องมือไปตรวจในตึกผู้ป่วยใน (portable sleep test) ในกรณีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษา โดยคาดว่าจะเริ่มทำได้ในเดือนมีนาคม 2565 2. เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจให้สามารถตรวจโรคจากการนอนหลับที่มีความผิดปกติทางสมองได้ เริ่มดำเนินการได้ระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2565 3. จัดให้มีการตรวจการนอนหลับที่ตึกผู้ป่วยใน ในกรณีเป็นเคสเร่งด่วน (Portable sleep test) เริ่มดำเนินการได้ระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2565
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-02-23)
อยู่ระหว่างขั้นตอนการเปิดให้บริการห้องตรวจผู้ป่วยนอกคลินิกนอนกรน เพิ่มจาก 1 วัน/สัปดาห์ เป็น 2 วัน/สัปดาห์ จากการเปิดให้บริการเพิ่ม พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับบริการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในส่วนแผนการเปิดให้บริการห้องตรวจการนอนหลับจาก 4 วัน/สัปดาห์ เพิ่มเป็น 5 วัน/สัปดาห์ ปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดเพิ่มได้ เนื่องจากห้องตรวจได้ปิดบริการจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องใช้สถานที่และบุคคลากรของชั้นพิเศษ 16 ในการดำเนินการซึ่งเป็นสถานที่และบุคลากรที่ให้บริการตรวจการนอนหลับด้วย
** ปัญหาของโครงการ :จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อ COVID-19 ทำให้ต้องติดตามสถานการณ์ที่มีผลต่อการวางแผนในการเปิดให้บริการคลินิกอย่างใกล้ชิด
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2022-01-28)
28/01/2565 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการเปิดให้บริการห้องตรวจผู้ป่วยนอกคลินิกนอนกรน เพิ่มจาก 1 วัน/สัปดาห์ เป็น 2 วัน/สัปดาห์ จากการเปิดให้บริการเพิ่ม พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับบริการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในส่วนแผนการเปิดให้บริการห้องตรวจการนอนหลับจาก 4 วัน/สัปดาห์ เพิ่มเป็น 5 วัน/สัปดาห์ ปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดเพิ่มได้ เนื่องจากห้องตรวจได้ปิดบริการจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องใช้สถานที่และบุคคลากรของชั้นพิเศษ 16 ในการดำเนินการซึ่งเป็นสถานที่และบุคลากรที่ให้บริการตรวจการนอนหลับด้วย
** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1.ขอคำแนะนำจากผู้บริหารในการจัดการด้านสถานที่และบุคคลากร 2.พิจารณาการตรวจแบบ home sleep test ซึ่งผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ทุกสิทธิ์การรักษา แต่ผู้ป่วยจะไม่ต้องรอคิวตรวจนาน จากการปิดห้องตรวจ และราคาถูกกว่า
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-12-23)
23/12/2564 : เปิดห้องตรวจผู้ป่วยนอก คลินิกนอนกรนจากเดิม 1วัน/สัปดาห์ เป็น 2วัน/สัปดาห์ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ ที่มาให้บริการตรวจผู้ป่วยนอก เป็นแพทย์ห้วงเวลา จึงอาจมีความ ไม่แน่นอน ว่าจะสามารถเพิ่มการให้บริการได้ตลอดหรือไม่
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-11-26)
26/11/2564 : อยู่ระหว่งขั้นตอน เตรียมเปิดคลินิกนอนกรนฯ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 หลังจากปิดให้บริการเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อเครื่องตรวจความผิดปกติการนอนหลับเพิ่ม
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-10-29)
29/10/2564 : อยู่ระหว่างขั้นตอนเปิดให้บริการตรวจผู้ป่วยนอก คลินิกนอนกรนฯ สัปดาห์ละ 2 วัน/สัปดาห์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิระดับสูงและระดับตติยภูมิระดับสูง
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 70
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **