ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายวสุ โพธิ์แก้ว โทร. 3161
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองใหญ่ ที่มีปัญหาด้านการจราจรที่ติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนสูง ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีอัตราการเดินทางเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๔ ต่อปี เป็นการเดินทางโดยใช้โครงข่ายถนนมากกว่าร้อยละ ๙๐ ซึ่งเป็นสัดส่วนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณร้อยละ ๖๒ รถโดยสารประจำทาง ประมาณร้อยละ ๒๒ นอกจากนั้นแล้วจากการวิเคราะห์ค่าของ V/C ในปี พ.ศ. ๒๕๗๕ แสดงให้ทราบว่า จำนวนถนน (ความจุของถนน) ที่จะรองรับปริมาณจราจรนั้นจะมีไม่เพียงพอ เนื่องจากปริมาณความต้องการในการเดินทางในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึงประมาณร้อยละ ๗๕ ในขณะที่การเพิ่มความจุของถนนกลับมีเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้กรุงเทพมหานครประสบปัญหาด้านการจราจร โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยในพื้นที่เขตชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัดสูง สภาพจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเร่งด่วนเย็นบริเวณใจกลางกรุงเทพมหานคร มีความเร็วเฉลี่ยต่ำกว่า ๑๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหาเกิดจากความต้องการการเดินทางที่มีมากเกินกว่าความจุของถนน เนื่องจาก (๑) ผังเมืองและการขยายตัวของเมืองไม่เป็นระเบียบ (๒) ขาดระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ (๓) กายภาพถนนไม่สามารถขยายได้ และ(๔) ขาดการจัดการด้านการจราจรที่มีเหมาะสม ผู้ใช้ถนนไม่มีวินัย เนื่องจากไม่มีการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ปัญหานี้ส่งผลโดยตรงต่อการเดินทางสัญจรของประชาชนที่อาศัย หรือต้องทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องเดินทางผ่านเข้าเมือง หรือเข้าสู่พื้นที่เส้นทางที่มีการจราจรแออัดสูง ดังนั้น จึงส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพทางกาย/จิต และเพิ่มมลภาวะทางอากาศ/เสียง ซึ่งเป็นผลเสียต่อสภาวะเศรษฐกิจ และสังคมในที่สุด อย่างไรก็ตาม แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ได้แก่ (๑) การควบคุมการจัดระบบการจราจรที่ทางแยกให้มีประสิทธิภาพพร้อมทั้งการควบคุมการจราจรเป็นพื้นที่ (๒) การจัดการการเดินรถให้มีประสิทธิภาพ เช่น การเดินรถทางเดียว การห้ามกลับรถ การห้ามเลี้ยว การจัดช่องการเดินรถเฉพาะทาง (๓) การเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแล เช่น การห้ามจอดรถบนถนนสายหลัก (๔) การสร้างวินัยจราจรโดยการบังคับใช้กฎหมาย โดยใช้อุปกรณ์สนับสนุน เช่น กล้องอ่านป้ายทะเบียนรถ และ(๕) การให้ข้อมูลด้านการจราจรแบบ Real Time แก่ผู้ขับขี่ยวดยานบนถนน เพื่อหลีกเลี่ยงจุดที่มีปัญหาจราจรเนื่องจากเหตุต่าง ๆ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการการจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยติดตั้งและเปิดใช้งานสัญญาณไฟจราจรเพื่อจัดการจราจรบริเวณทางแยกต่าง ๆ จำนวนมากกว่า ๕๐๐ ทางแยก ซึ่งปัจจุบันสัญญาณไฟจราจรดังกล่าวเป็นระบบตั้งเวลาล่วงหน้า (Fixed Time) ทำให้บางช่วงเวลาจังหวะเวลาสัญญาณไฟจราจรไม่สอดคล้องกับปริมาณจราจรที่สัญจรผ่านไปมาบริเวณทางแยก จนเป็นเหตุให้ตำรวจจราจรท้องที่ต้องเข้าควบคุมสัญญาณไฟจราจรและจัดการจราจรที่ทางแยก ซึ่งการจัดจังหวะสัญญาณไฟจราจรโดยตำรวจจราจรโดยส่วนใหญ่มิได้เป็นไปตามมาตรฐานตามหลักวิศวกรรมจราจร แต่จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถในการพิจารณาสภาพการจราจรในขณะนั้นของตำรวจจราจรเป็นหลัก และเป็นการกำหนดจังหวะเวลาสัญญาณไฟจราจรเฉพาะทางแยก โดยไม่ได้สอดคล้องกับทางแยกอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้การไหลเวียนของกระแสจราจรไม่สม่ำเสมอ และไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด ทวีความรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเป็นปัญหาที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครให้ความสนใจ และต้องการให้มีการแก้ไขเร่งด่วนมากที่สุด - ๒ - ในปัจจุบัน การจัดการจราจรที่ทางแยกโดยสำนักการจราจรและขนส่งจะมุ่งเน้นไปที่การติดตั้งและดูแลรักษาอุปกรณ์สัญญาณไฟ และป้ายจราจรเป็นหลัก โดยไม่ได้เน้นรวมการปรับปรุงแก้ไขจังหวะหรือเวลาสัญญาณไฟจราจรที่ใช้ในระบบสัญญาณไฟอัตโนมัติแบบเวลาคงที่ (Pre-Fixed Time Plan) ให้เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณการจราจรที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา และขาดการศึกษาวิเคราะห์การจัดการจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่บริเวณทางแยกและควบคุมการจราจรเป็นพื้นที่ เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง และความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ในการบริหารจัดการจราจรทำให้ปัญหาสภาพการจราจรบริเวณทางแยกไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นมาตรฐานตามหลักวิชาการ ทำให้เกิดแถวคอย (Queue) เกิดจังหวะไฟเขียวที่สูญเปล่าในเส้นทางหลัก จนอาจเกิดการฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดงจากรถบนเส้นทางรองที่รอสัญญาณไฟเขียวเป็นเวลานาน จนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงบนทางแยกได้ นอกจากนี้ในกรณีทางแยกที่มีระยะไม่ห่างกันมาก หากได้รับการปรับปรุงจัดจังหวะสัญญาณไฟบริเวณทางแยกที่ใกล้กันให้มีการประสานกันอย่างเป็นระบบ (Systematic Coordination) โดยพิจารณาถึงการควบคุมการจราจรเป็นพื้นที่ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเดินทางผ่านแยกต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาโดยการก่อสร้างสะพานหรืออุโมงค์ที่ทางแยกเพื่อลดการตัดกันของกระแสการจราจร จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และยังอาจก่อให้เกิดผลกระทบและการต่อต้านจากประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนั้นแล้วเนื่องจากปัจจัยด้านโครงข่ายถนนของกรุงเทพมหานครที่ไม่เหมาะสม และการฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ใช้ถนน สำนักการจราจรและขนส่งได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความประสงค์ที่จะปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการจราจรโดยการติดตั้งระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบเป็นพื้นที่ (Area Traffic Control : ATC) โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและข้อมูลจราจรที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ข้อมูลปริมาณจราจรที่ทางแยกจากกล้อง CCTV ของสำนักการจราจรและขนส่ง) โดยการเพิ่มประสิทธิภาพทางแยกโดยการปรับปรุงจังหวะสัญญาณไฟให้มีความเหมาะสม และประสานกันอย่างเป็นระบบ รวมทั้งเพื่อลดความล่าช้าจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเลี้ยวรถ การกลับรถ การจอดรถข้างทาง และการเสริมสร้างความร่วมมือในการจัดการจราจรระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ
17130000/17130000
1. เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2. เพื่อลดปัญหาการจราจร -เพื่อศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาจราจรบริเวณทางแยกในปัจจุบัน เพื่อการปรับปรุง การจัดการจราจรเป็นพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด -เพื่อกำหนดแผนปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการจราจรที่ทางแยกโดยมุ่งเน้นในเชิงลักษณะการจัดการจราจรเป็นพื้นที่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเพื่อออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) ระบบการจัดการจราจรเป็นพื้นที่ในภาพรวม -เพื่อเตรียมการพัฒนาระบบการจัดการจราจรเป็นพื้นที่สำหรับโครงการนำร่อง ๑ พื้นที่ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการออกแบบลักษณะ Functional and Performance Specification พร้อมทั้ง Outline Design ของระบบการจัดการจราจรเป็นพื้นที่
ประเภทโครงการเป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ โครงการใหม่ สอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๗๕) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ มหานครสีเขียว สะดวกสบาย เป้าประสงค์ ๒.๓.๒ การจราจรคล่องตัว กลยุทธ์ ๒.๓.๒.๒ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประสานสัญญาณไฟจราจรตามทางแยกฯ ตัวชี้วัด ร้อยละของทางแยกพื้นที่ถนนที่มีการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีโครงการตามยุทธศาสตร์ “โครงการติดตั้งระบบประสานไฟจราจรที่ถนนสายหลัก” และเป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ด้านที่ ๒ มหานครสีเขียว สะดวกสบาย เป้าประสงค์ที่ ๒.๓.๒.๒ เพิ่มประสิทธิภาพระบบควบคุมการจราจร มาตรการที่ ๒ พัฒนาระบบจราจรอัจฉริยะให้มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร กำหนดโครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบการจัดการจราจรเป็นพื้นที่ เป็นโครงการหนึ่งที่สนับสนุนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ รูปแบบโครงการเป็นโครงการศึกษาวิจัย
ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
๒.๓ - ระบบขนส่งมวลชนทั่วถึง สะดวกประหยัด การจราจรคล่องตัวและมีทางเลือก |
๒.๓.๑ ประชาชนเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ มีทางเลือกในการเดินทางไม่ต้องพึ่งพารถส่วนบุคคล% |
๒.๓.๑.๑ ขยายระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-05-21)
21/05/2564 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-09-29)
29/09/2563 : โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบการจัดการจราจรเป็นพื้นที่ สัญญาเลขที่ 22-41-63 ลงนามในสัญญาวันที่ 29 กันยายน 2563 ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-09-25)
25/9/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-09-23)
23/09/2563 : รอลงนามในสัญญาฯ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-08-19)
19/8/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ประกาศเชิญชวนที่ปรึกษายื่นเสนอ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-07-30)
30/7/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ประกาศเชิญชวนที่ปรึกษายื่นเสนอ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-06-30)
2020-6-30 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...รายงานขอจ้างโดยวิธีคัดเลือก ครั้งที่ 2
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-05-25)
25/5/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ยกเลิกโครงการและทบทวน TOR
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-04-28)
28/4/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-03-26)
26/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2020-02-25)
25/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...รายงานขอจ้าง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2020-01-27)
27/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...รายงานขอจ้าง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2019-12-25)
25/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำราคากลาง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(14) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2019-11-28)
28/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำราคากลาง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(15) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2019-10-31)
2019-10-31 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำ TOR
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 21. ถนน/ทางแยกที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดระบบจราจร
ค่าเป้าหมาย รอยละ : 2
ผลงานที่ทำได้ รอยละ : 80
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **