ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการสำรวจจัดเก็บข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร : 18000000-2531

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง : (2564)

15

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 15

นางอัธยา จำปาทอง (3027)

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลใช้บังคับในวันที่ 13 มีนาคม 2562 โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะนำมาจัดเก็บภาษีแทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งการจัดเก็บภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณภาษี คือ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และจัดเก็บภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีข้อมูลแปลงที่ดินประมาณ 2,100,000 แปลง มีจำนวนบ้านตามทะเบียนราษฎร์ประมาณ 2,900,000 หลัง โดยข้อมูลดังกล่าวต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จำนวน ขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้าง และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตลอดจนรายละเอียดอื่นที่จำเป็นต่อการประเมินภาษี ให้สามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ในการจัดเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2563 ได้ ซึ่งกรุงเทพมหานครต้องประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษี ณ ที่ทำการของหน่วยงาน เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตรวจสอบได้ ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ของปี เพื่อชำระค่าภาษีภายในเดือนเมษายน เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาและปริมาณข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีจำนวนมาก กรุงเทพมหานครจึงจำเป็นต้องจ้างสำรวจและจัดเก็บข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในการประเมินภาษีดังกล่าว สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ซึ่งมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการวางผังและพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม นโยบายของรัฐบาล รวมทั้งสร้างโอกาสในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีหน้าที่ในการสำรวจ จัดเก็บ และบูรณาการข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศกลางของกรุงเทพมหานครให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพื่องานด้านการบริหารจัดการเมือง และให้บริการข้อมูลแก่ทุกหน่วยงาน ดังนั้น งานโครงการสำรวจจัดเก็บข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร ดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศและข้อมูลแปลงที่ดินจากกรมที่ดินเป็นฐานในการสำรวจ ปลัดกรุงเทพมหานครได้มอบให้สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการสำรวจจัดเก็บข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร

18030500/18030500

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อให้มีข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของทุกสำนักงานเขตได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งนำไปใช้ในการเร่งรัด ติดตามการจัดเก็บภาษีให้ครบถ้วน ถูกต้อง 3. เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำ และมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับใช้ในการบริหารจัดการเมือง และการให้บริการแก่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมถึงหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน

เป้าหมายของโครงการ

สำรวจข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เกี่ยวกับประเภท จำนวน ขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นแก่การประเมินภาษี ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นที่ 1,568.737 ตารางกิโลเมตร จำนวนแปลงที่ดินประมาณ 2,100,000 แปลง และจำนวนสิ่งปลูกสร้างประมาณ 2,900,000 หลัง และเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้สู่ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม
๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับ%
๔.๑.๑.๑ ส่งเสริมการขยายตัวในการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพตามผังเมือง

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2021-03-30)

15.00

30/03/2564 : ขณะนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทน) ได้โปรดลงนามอนุมัติยกเลิกโครงการฯ แล้ว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พลตำรวจโทโสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทน) ได้โปรดลงนามอนุมัติยกเลิกงบประมาณฯ ปี 2562 ที่ได้รับเห็นชอบให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินเหลื่อมปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไว้จ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2021-02-25)

15.00

25/02/2564 : - ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิสารสนเทศ ในฐานะผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นชอบ ขอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาปรับปรุงร่างขอบเขตของงานและราคากลาง เนื่องจากมีข้อสังเกตเพิ่มเติมเรื่องความซ้ำซ้อนของงาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อรายละเอียดของงาน และการกำหนดราคากลาง ซึ่งคณะกรรมการ TOR ยังไม่สามารถดำเนินการปรับปรุง TOR ได้ เนื่องจากประธานกรรมการฯ ลาออกจากราชการ - สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองได้จัดทำหนังสือนำเรียนปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อขอยกเลิกโครงการฯ เนื่องจากไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันตามแผนที่กำหนด ประกอบกับกรุงเทพมหานครได้สำรวจและจัดเก็บภาษี ปี พ.ศ. 2563 แล้ว และอยู่ระหว่างการสำรวจและจัดเก็บภาษีฯ ในปี พ.ศ. 2564 ทำให้มีข้อมูลที่ไม่จำเป็น ต้องสำรวจซ้ำซ้อนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งสำนักการคลังมีเครื่องมือในการจัดเก็บภาษีอยู่แล้ว เพื่อมิให้กรุงเทพมหานครเสียประโยชน์จากการดำเนินการซ้ำซ้อน และเกิดผลสำเร็จไม่ทันการจัดเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2564 ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และคุ้มค่ากับงบประมาณที่ตั้งไว้ - ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร

** ปัญหาของโครงการ :1. โครงการฯ มีการ ใช้งบประมาณสูงและมีรายละเอียด ของงานมาก จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของงานอย่างรอบคอบให้ครอบคลุมตาม พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงานที่ครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และสามารถนำไป ใช้งานได้จริง 2. การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการดังกล่าว มีการดำเนินการควบคู่ไปกับการสำรวจจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของสำนักงานเขตในการจัดเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2563 ทำให้มีข้อเท็จจริงที่อาจมีผลต่อการกำหนดขอบเขตของงานและราคากลางได้ จึงทำให้มีการดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนด

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2021-01-27)

15.00

1/27/2021 : - สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับรายละเอียดของข้อมูล ในระบบโปรแกรมจัดเก็บภาษีที่ดินฯ (P-Tax) กับกองรายได้ สำนักการคลัง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563 - ผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นชอบ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมเรื่องความซ้ำซ้อนของงาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อรายละเอียดของงาน และการกำหนดราคากลาง ตลอดจนความครบถ้วนของข้อมูล และมีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการ TOR ทราบ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 - อยู่ระหว่างคณะกรรมการ TOR พิจารณาดำเนินการปรับปรุง TOR

** ปัญหาของโครงการ :1. โครงการฯ มีการ ใช้งบประมาณสูงและมีรายละเอียดของงานมาก จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของงานอย่างรอบคอบให้ครอบคลุมตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงานที่ครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง 2. การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการดังกล่าว มีการดำเนินการควบคู่ไปกับการสำรวจจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของสำนักงานเขตในการจัดเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2563 ทำให้มีข้อเท็จจริงที่อาจมีผลต่อการกำหนดขอบเขตของงานและราคากลางได้ จึงทำให้มีการดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนด

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-12-28)

15.00

12/28/2020 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - สำนักงานภูมิสารสนเทศได้ประสานสำนักการคลังเพื่อขอรับทราบรายละเอียดข้อมูลตามโปรแกรมจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร (P-TaX) ของฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตวัฒนา ที่ได้ดำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง TOR เมื่อวันที่ 1 และ 27 ตุลาคม 2563 - สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีหนังสือที่ กท 1703/2570 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ถึงสำนักการคลัง เพื่อขอทราบความคืบหน้าการพิจารณารายละเอียดข้อมูล ตามระบบโปรแกรมจัดเก็บภาษีที่ดินฯ (P-Tax) - สำนักการคลัง มีหนังสือที่ กท 1302/7358 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เห็นว่า การสำรวจตามโครงการสำรวจจัดเก็บข้อมูลที่ดินฯ ควรดำเนินการใหม่ทั้งหมด ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานภูมิสารสนเทศ ในฐานะผู้มีอำนาจเห็นชอบโครงการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า มีข้อมูลบางประการที่ไม่ชัดเจนและไม่ครบถ้วนเพียงพอที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการกำหนดร่างของเขตของงานฯ พิจารณาปรับปรุงร่างขอบเขตของงานและกำหนดราคากลาง - สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีหนังสือที่ กท 1703/2793 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ถึงสำนักการคลัง เพื่อขอความอนุเคราะห์เข้าพบเพื่อหารือรายละเอียดข้อมูล ตามระบบโปรแกรมจัดเก็บภาษีที่ดินฯ (P-Tax) ในวันที่ 4 ธันวาคม 2563 - อยู่ระหว่างรวบรวมรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งให้คณะกรรมการกำหนดร่างของเขตของงานฯ พิจารณาปรับปรุงร่างขอบเขตของงานฯ ต่อไป

** ปัญหาของโครงการ :ผลการเผยแพร่ร่างประกาศฯ มีผู้วิจารณ์และส่งข้อเสนอแนะ ทำให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องใช้เวลาในการพิจารณาข้อร้องเรียนอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการดำเนินงาน ทำให้เกิดความล่าช้าของงาน

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-11-30)

15.00

30/11/2563 : - สำนักงานภูมิสารสนเทศได้ประสานสำนักการคลัง เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับข้อมูลในระบบโปรแกรมจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร (P-TaX) ของเขตวัฒนา ที่ได้ดำเนินการแล้ว เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการปรับปรุง TOR เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 และวันที่ 27 ตุลาคม 3563 - อยู่ระหว่างรอรายละเอียดข้อมูลตามโปรแกรม P-TaX อย่างเป็นทางการ จากสำนักการคลัง ตามหนังสือที่ กท 1703/2570 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 เพื่อขอทราบความคืบหน้าการพิจารณารายละเอียดข้อมูล ตามระบบโปรแกรม P-TaX

** ปัญหาของโครงการ :เหมือนเดือน ต.ค. 63

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-10-27)

15.00

27/10/2563 : - คณะกรรมการกำหนดร่าง TOR พิจารณาข้อร้องเรียน และรายงานต่อผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นชอบ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ซึ่งผู้มีอำนาจฯ เสนอข้อสังเกตเพิ่มเติม เกี่ยวกับข้อมูลการบันทึกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามโปรแกรมจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร (P-TaX) ของสำนักการคลัง ซึ่งอาจมีข้อมูลซ้ำซ้อน และมีผลกระทบต่อราคากลาง ตลอดจนความครบถ้วนของข้อมูล เพื่อให้คณะกรรมการกำหนดร่าง TOR พิจารณา - สำนักงานภูมิสารสนเทศได้ประสานสำนักการคลังเพื่อขอรับทราบรายละเอียดข้อมูลตามโปรแกรมจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร (P-TaX) ของฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตวัฒนา ที่ได้ดำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง TOR - ขณะนี้ อยู่ระหว่างรอข้อมูล P-TaX อย่างเป็นทางการจากสำนักการคลัง เพื่อส่งให้คณะกรรมการกำหนดร่าง TOR ดำเนินการต่อไป

** ปัญหาของโครงการ :ผลการเผยแพร่ร่างประกาศฯ มีผู้วิจารณ์และส่งข้อเสนอแนะ ทำให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องใช้เวลาในการพิจารณาข้อร้องเรียนอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการดำเนินงาน ทำให้เกิดความล่าช้าของงาน

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ขั้นตอนที่ 1 เตรียมโครงการฯ - ขออนุมัติโครงการ ที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:ขั้นตอนที่ 2 แต่งตั้งคณะกรรมการ - แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดTOR และราคากลาง - ขอเห็นชอบ TOR และราคากลาง - เผยแพร่ร่างขอบเขตของงานฯ (เพิ่มขั้นตอน การแก้ไขข้อร้องเรียน)
:10.00%
เริ่มต้น :2020-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการหาผู้รับจ้าง - ขอความเห็นชอบดำเนินการจ้าง - แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผล - ดำเนินการตามขั้นตอนการจ้างฯ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
:15.00%
เริ่มต้น :2020-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:ขั้นตอนที่ 4 ขออนุมัติจ้างและลงนามในสัญญา - ขออนุมัติจ้าง และแต่งตั้งกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน - จัดทำและตรวจร่างสัญญาจ้างและลงนามในสัญญาจ้าง
:10.00%
เริ่มต้น :2021-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการตามสัญญา - ดำเนินการตามสัญญา - ตรวจสอบ ส่งมอบงานตามสัญญา - รายงานผลการตรวจรับ
:60.00%
เริ่มต้น :2021-02-16 00:00:00
สิ้นสุด :2021-02-16 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 18000000-2531

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 18000000-2531

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 1800-0843

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของผลการดำเนินงานสำรวจจัดเก็บข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานคร

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 15

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00

100 / 100
2
15.00

100 / 100
3
15.00

100 / 100
4
15.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **