ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวอัญชลี ศรวิเศษ โทร. 0 2203 2725 หรือโทร. 2556
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
- ออกกำลังกาย หมายถึง การกระทำใดๆ ที่มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อสุขภาพหรือความสนุกสนานและเพื่อสังคม โดยใช้กิจกรรมง่ายๆ เช่น วิ่ง กระโดดเชือก การบริหารร่างกาย การยกน้ำหนัก แอโรบิกด๊านซ์ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เกมส์ และการละเล่นพื้นเมือง เป็นต้น รวมทั้งการออกกำลังกายในการประกอบอาชีพและการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน - การเล่นกีฬา หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยใช้ทักษะกีฬาพื้นฐานและมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อความสนุกสนาน เพื่อสังคม เพื่อการแข่งขัน โดยจะเคร่งครัดต่อกฎกติกา ของการแข่งขันหรือไม่เคร่งครัดก็ได้ - เกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง เนื่องจากในปัจจุบันมิได้มีการใช้คำนี้ในการออกกำลังกายแล้ว จึงขอใช้เป็นหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ดังนี้ 1. เวลาที่เหมาะสมของการออกกำลังกาย ควรห่างจากมื้ออาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ถ้าเป็นมื้อหนัก ควรเว้นระยะห่าง 2-3 ชั่วโมง เพื่อรอให้ร่างกายและเอนไซม์ต่างๆ ปรับเข้าสู่ภาวะปกติเสียก่อน 2. ควรออกกำลังกาย 15-30 นาที ต่อวัน หรือ 150 นาที ต่อสัปดาห์ หากต้องการเผาผลาญไขมันควรใช้เวลาในการออกกำลังกาย 30 นาทีขึ้นไป
23020100/23020100
เพื่อสร้างเครือข่ายในการจัดเก็บข้อมูลผู้ที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬา
เครือข่ายในการจัดเก็บข้อมูลผู้ที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬา อย่างน้อย 2 เครือข่าย
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๖ คนกรุงเทพฯมีวิถีชีวิตแบบ Active Living Lifestyle% |
๑.๖.๖.๑ สนับสนุนให้คนกรุงเทพฯ มีความตื่นตัวและกระตือรือร้น |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-30)
30/09/2564 : ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกาย/เล่นกีฬาของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูลจาก 5 เครือข่าย ประกอบด้วย สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการศึกษา และสำนักงานเขต 50 เขต มีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการและบุคลากรในสังกัด และประชาชนที่มารับบริการในสำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ และสวนสาธารณะ ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ มีผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 19,715 คน มีสรุปผลการสำรวจเป็นดังนี้ ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ/บุคลากรสังกัดสำนักอนามัย คิดเป็นร้อยละ 39.85 รองลงมาคือ เป็นประชาชนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 37.54 เป็นข้าราชการ/บุคลากรสังกัดสำนักการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 10.53 ข้าราชการ/บุคลากรสังกัดสำนักการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 7.13 และข้าราชการ/บุคลากรสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 4.42 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.10 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 34.83 มีอายุระหว่าง 36 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 61.96 รองลงมาคือ มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.90 อายุระหว่าง 18 - 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.88 อายุ 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 2.55 และอายุต่ำกว่า 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 1.71 ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 88.79 และไม่ได้พักอาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 9.43 ค่าดัชนีมวลกาย ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ คิดเป็นร้อยละ 35.60 รองลงมาคือ มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในภาวะอ้วนระดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 25.83 มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในภาวะอ้วนระดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 18.91 มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในภาวะอ้วนระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 12.45 และมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในน้ำหนักน้อย คิดเป็นร้อยละ 7.21 โดยเมื่อจำแนกค่าดัชนีมวลกายของผู้ตอบแบบสำรวจตามช่วงอายุ พบว่า - ช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ (18.50-22.99) คิดเป็นร้อยละ 51.04 - ช่วงอายุ 18-25 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ คิดเป็นร้อยละ 44.37 - ช่วงอายุ 26-35 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ คิดเป็นร้อยละ 40.09 - ช่วงอายุ 36-60 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ คิดเป็นร้อยละ 32.44 - ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ภาวะอ้วนระดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 34.86 พฤติกรรมการออกกำลังกาย จากการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 43.36 รองลงมาคือ ไม่ได้ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา คิดเป็นร้อยละ 30.40 ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 17.04 และออกกำลังกาย/เล่นกีฬา มากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 9.19 สำหรับผู้ที่ที่ไม่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาโดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าไม่มีเวลา คิดเป็นร้อยละ 40.73 รองลงมาคือ สภาพแวดล้อม/ภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย คิดเป็นร้อยละ 23.03 ขาดแรงจูงใจ คิดเป็นร้อยละ 19.22 ไม่มีสถานที่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา คิดเป็นร้อยละ 16.14 และเหตุผลอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.89 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงการออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง พบว่า จากผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 19,715 คน มีผู้ที่ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง ซึ่งควรออกกำลังกาย 15–30 นาที ต่อวัน หรือ 150 นาที ต่อสัปดาห์ (อย่างน้อย 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์) จำนวน 6,399 คน คิดเป็นร้อยละ 32.45 โดยผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ใช้เวลาในการออกกำลังกายเฉลี่ยต่อสัปดาห์น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 37.11 รองลงมาคือ ใช้เวลาในการออกกำลังกายเฉลี่ยต่อสัปดาห์ 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 16.81 และใช้เวลาในการออกกำลังกายเฉลี่ยต่อสัปดาห์มากกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 15.64 ตามลำดับ ในส่วนของพฤติกรรมการออกกำลังกายภายหลังจากการรับประทานอาหาร โดยส่วนใหญ่จะออกกำลังภายหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วมากกว่า 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 37.71 และมีผู้ที่ออกกำลังกายภายหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วน้อยกว่า 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 30.85 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก (บุฟเฟ่ต์) คิดเป็นร้อยละ 54.43 และเคยออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก (บุฟเฟ่ต์) คิดเป็นร้อยละ 14.18 โดยผู้ที่เคยออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก (บุฟเฟ่ต์) ส่วนใหญ่จะออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก (บุฟเฟ่ต์) น้อยกว่า 2 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 5.24 และออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก (บุฟเฟ่ต์) มากกว่า 2 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 9.21 ช่วงเวลาที่ออกกำลังกาย ผู้ตอบแบบสำรวจที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่ออกกำลังกายในช่วงเย็น คิดเป็นร้อยละ 46.69 รองลงมาคือ ออกกำลังกายในช่วงที่ว่างจากภารกิจ คิดเป็นร้อยละ 28.39 ออกกำลังกายในช่วงเช้า คิดเป็นร้อยละ 14.14 ออกกำลังกายในช่วงกลางคืน คิดเป็นร้อยละ 8.74 และออกกำลังกายในช่วงกลางวัน คิดเป็นร้อยละ 2.05 ตามลำดับ สถานที่ที่ออกกำลังกาย ผู้ตอบแบบสำรวจที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่ออกกำลังกายที่บ้าน/ที่พัก คิดเป็นร้อยละ 49.95 รองลงมาคือ ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 16.5 ออกกำลังกายที่สนามกีฬา/ศูนย์กีฬา/ศูนย์เยาวชน คิดเป็นร้อยละ 10.26 ออกกำลังกายที่ลานกีฬาหรือลานอเนกประสงค์ภายในชุมชน/หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 8.94 ออกกำลังกายที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 8.01 ออกกำลังกายในฟิตเนส/ยิมส์ คิดเป็นร้อยละ 3.79 และออกกำลังกายในโรงเรียน/สถานศึกษา/มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 2.26 ตามลำดับ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-08-16)
16/08/2564 : อยู่ระหว่างดำเนินการประมวลผล และจัดทำสรุปผลการสำรวจ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-07-12)
อยู่ระหว่างเครือข่ายประกอบด้วย สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการศึกษา และสำนักงานเขต 50 เขต ดำเนินการทอดแบบสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกาย/เล่นกีฬาของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านแบบสอบถามออนไลน์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-06-29)
29/06/2564 : อยู่ระหว่างเครือข่ายประกอบด้วย สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการศึกษา และสำนักงานเขต 50 เขต ดำเนินการทอดแบบสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกาย/เล่นกีฬาของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านแบบสอบถามออนไลน์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-05-28)
28/05/2564 : สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว มีหนังสือที่ กท 1202/1048 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์จัดเก็บข้อมูลและประชาสัมพันธ์การตอบแบบสอบถามออนไลน์ ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการศึกษา สำนักงานเขต
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-04-27)
27/04/2564 : ดำเนินการจัดประชุมเพื่อหารือแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักการศึกษา สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเขต เมื่อวันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 16 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 เรียบร้อยแล้ว โดยที่ประชุม ได้กำหนดแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬา ดังนี้ 1. จัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ 2. ช่วงระยเวลาในการจัดเก็บข้อมูล ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 3. กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ประชาชนในพื้นที่เขต จำนวน 50 เขต ๆ ละ 200 คน ในส่วนของสำนักที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลจากบุคลากรในหน่วยงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-03-30)
30/03/2564 : กำหนดจัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมหารือแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักการศึกษา สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเขต ในวันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 16 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 8.00 (2021-02-22)
22/02/2564 : อยู่ระหว่างเตรียมการขอความร่วมมือเครือข่ายดำเนินการจัดเก็บข้อมูลผู้ที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 7.00 (2021-01-21)
21/01/2564 : อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมคณะทำงานจัดทำและติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติราชการด้านมหานครปลอดภัย ของ สวท. เพื่อหารือแนวทางในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูลผู้ที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬา โดยกำหนดจัดประชุมในวันที่ 29 ม.ค. 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 6.00 (2020-12-14)
14/12/2563 : อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลเพื่อเตรียมเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-11-26)
26/11/2563 : อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลเพื่อเตรียมเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2020-10-22)
22/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลเพื่อเตรียมเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 03. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูล ผู้ที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้ตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง
ค่าเป้าหมาย เครือข่าย : 2
ผลงานที่ทำได้ เครือข่าย : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **