ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวจุฑาทิพย์ วงศ์ชื่นสุนทร / โทร. 022942397 / 6720
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึง การสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงาน มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุล ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ มุ่งเน้นการป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยสร้างความเข้มแข็งระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาว เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคการผลิตที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทางการรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยและบุคลากรจากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง สุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน กรุงเทพมหานครมีความพยายามแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพราะเกี่ยวข้องและกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยประชาชน มีหน่วยงานรองรับ คือ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย และฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 50 สำนักงานเขต เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 135 ประเภท รวม 41,772 แห่ง อาคารที่พักอาศัยและอาคารสาธารณะ รวม 2,630,651 หลังคาเรือน (ปี 2557) และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่7) พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 และมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้หน่วยงานราชการต่างๆ ต้องมีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น โดยมีโครงการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556 - 2575) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561 - 2565) ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.6 ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย และการพัฒนาบุคลากรสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในด้านที่ 7 การบริหารจัดการ เมืองมหานคร มิติที่ 7.3 การบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งปรากฏในแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักอนามัย ซึ่งเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน สำนักงานเขตยานนาวาจึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯเมืองแห่งสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2563 ขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่ เขตยานนาวา การจัดการและควบคุมปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะกับการดำรงชีพของประชาชนกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพ
50060400/50060400
1.เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ และการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของอาคารที่พักอาศัย และสถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี 2.เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วม ขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป 3.เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป
1.สนับสนุนการปฏิบัติงานหรือการบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่เขตยานนาวา ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง 2.แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในเรื่องการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญและการส่งเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการปฏิบัติงานปกติ 3.เพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป ให้ทราบและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4.ส่งเสริมสุขภาพและสร้างเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกรณีจำเป็น เร่งด่วนหรือฉุกเฉิน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
๑.๖.๑.๕ สถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูงได้มาตรฐานด้านอาชีวอนามัย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-08-30)
30/08/2564 : 1. ดำเนินการตรวจสอบแคล้มพักพนักงานในพื้นที่เขตยานนาวา ปฏิบัติงานศูนย์พักคอย และตรวจสอบเรื่องร้องเรียน (กรณีเร่งด่วน) ในวันที่ 7 8 12 และ 14 สิงหาคม 2564 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 3 และ 17 สิงหาคม 2564 จำนวน 10 แห่ง 3. ดำเนินกิจกรรมการปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการควบคุมยาสูบ พ.ศ. 2560 ในวันที่ 4, 5, 6, 10 และ 11 สิงหาคม 2564 รวม 5 วัน งบประมาณที่เบิก 1. จำนวน 33,975 บาท (ที่ออกปฏิบัติงานเดือนกรกฎาคม 2564) 2. จำนวน 21,525 บาท (ที่ออกปฏิบัติงานเดือนสิงหาคม 2564)
** ปัญหาของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
** อุปสรรคของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-07-28)
28/07/2564 : 1. ดำเนินการตรวจสอบแคล้มพักพนักงานในพื้นที่เขตยานนาวา เตรียมสถานที่ตรวจเชิงรุก และตรวจสอบเรื่องร้องเรียน (กรณีเร่งด่วน) ในวันที่ 3 4 16 17 18 19 21 และ 24 กรกฎาคม 2564 (ยังไม่ได้เบิกเงิน) 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 6 และ 20 กรกฎาคม 2564 จำนวน 11 แห่ง (ยังไม่ได้เบิกเงิน) 3. ดำเนินกิจกรรมการปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการควบคุมยาสูบ พ.ศ. 2560 ในวันที่ 7, 8, 9, 12, 13, 14 และ 15 มิถุนายน 2564 รวม 7 วัน (ยังไม่ได้เบิกเงิน) งบประมาณที่เบิก จำนวน 26,775 บาท (ที่ออกปฏิบัติงานเดือนมิถุนายน 2564)
** ปัญหาของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-06-28)
28/06/2564 : 1. ดำเนินการตรวจสอบแคล้มพักพนักงานในพื้นที่เขตยานนาวา (กรณีเร่งด่วน) เพื่อเตรียมการตรวจคัด กรองเชิงรุกและเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวันที่ 5, 6, 19 และ 20 มิถุนายน 2564 (ยังไม่ได้เบิกเงิน) 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 8 และ 22 มิถุนายน 2564 จำนวน 12 แห่ง (ยังไม่ได้เบิกเงิน) 3. ดำเนินกิจกรรมการปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการควบคุมยาสูบ พ.ศ. 2560 ในวันที่ 9, 10 11, 14, 15, 16 และ 17 มิถุนายน 2564 รวม 7 วัน (ยังไม่ได้เบิกเงิน) งบประมาณที่เบิก จำนวน 17,175 บาท (ที่ออกปฏิบัติงานเดือนพฤษภาคม 2564)
** ปัญหาของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
** อุปสรรคของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-05-28)
28/05/2564 : 1. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 6 และ 18 พฤษภาคม 2564 จำนวน 12 แห่ง (ยังไม่ได้เบิกเงิน) 2. ดำเนินกิจกรรมการปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการควบคุมยาสูบ พ.ศ. 2560 ในวันที่ 5, 6, 7, 11, 12, 13 และ 14 พฤษภาคม รวม 7 วัน (ยังไม่ได้เบิกเงิน) งบประมาณที่เบิก จำนวน 14,325 บาท (ที่ออกปฏิบัติงานเดือนเมษายน 2564)
** ปัญหาของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
** อุปสรรคของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-04-27)
27/04/2564 : 1. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 7 และ 20 เมษายน 2564 สถานบริการ จำนวน 7 แห่ง (ยังไม่ได้เบิกเงิน) 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการ ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการ ชั่วคราว (ฉบับที่ 24) ในวันที่ 23 เมษายน 2564 (ยังไม่ได้เบิกเงิน) 3. ดำเนินกิจกรรมการปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการควบคุมยาสูบ พ.ศ. 2560 ในวันที่ 21, 22, 26, 27 และ 28 รวม 5 วัน (ยังไม่ได้เบิกเงิน)
** ปัญหาของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
** อุปสรรคของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-03-25)
25/03/2564 : 1. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 สถานบริการ จำนวน 4 แห่ง (เบิกเงินแล้ว) 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 15 มีนาคม 2564 สถานบริการ จำนวน 6 แห่ง (ยังไม่ได้เบิกเงิน) 3. ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการประเภทตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจ คุณภาพน้ำเบื้องต้นด้วยชุดทดสอบ อ.11 ในวันที่ 11, 12, 17, 18, 19, 22, 23 และ 24 มีนาคม 2564 รวม 8 วัน (ยังไม่ได้เบิกเงิน)
** ปัญหาของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
** อุปสรรคของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-02-25)
25/02/2564 :1. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการสั่งปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการตรวจสถานประกอบการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ 3. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 28 มกราคม 2564 จำนวน 1 ครั้ง สถานประกอบการ จำนวน 3 แห่ง 4. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 1 ครั้ง สถานประกอบการ จำนวน 4 แห่ง
** ปัญหาของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
** อุปสรรคของโครงการ :- สถานการณ์โควิด-19แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-01-28)
28/01/2564 : 1. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการสั่งปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการตรวจสถานประกอบการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
** ปัญหาของโครงการ : -สถานการณ์โควิด-19แพร่ระบาด ทำให้ยากต่อการปฏิบัติงาน
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-12-30)
30/12/2563 : 1. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 9 และ 18 ธันวาคม 2563 จำนวน 2 ครั้ง สถานบริการ 7 แห่ง 2. ดำเนินการตรวจสถานประกอบการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีเร่งด่วน วันที่ 14 และ 15 ธันวาคม 2563 3. เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ 7200 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-26)
26/11/2563 : 1. เสนอขออนุมัติโครงการฯ 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 1 ครั้ง สถานบริการ 3 แห่ง 3. ดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนในวันที่ 5 และ 6 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 2 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-27)
27/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...เสนออนุมัติโครงการและจัดแผนการปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :ยังไม่พบปัญหาในการดำเนินการ
** อุปสรรคของโครงการ :จำนวนบุคลากรในหน่วยงานไม่ครบอัตรา
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละสถานประกอบการอาคาร สถานที่ได้รับการตรวจด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยตามเกณฑ์ที่กำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **