ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวสุทธิลักษณ์ ปันสุข โทร. 5421
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
รายงานสถิติการเฝ้าระวังโรคของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ยังคงพบว่าประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง เมื่อเทียบกับโรคทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ โดยในปี 2563 มีอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 70,221 คน/แสนประชากร หรือคิดเป็นจำนวน 40,036 ราย และอาหารเป็นพิษ จำนวน 3,798 ราย และพิจารณาย้อนหลังในระยะเวลาสิบปี พบว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราการตายและอัตราการป่วยตายมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มคงที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ยังไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร ยังคงพบปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนด้วยโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารอยู่เสมอ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ประกอบการขาดความตระหนักในการเตรียม ประกอบ ปรุงและจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แนวทางหนึ่งที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภคเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และที่สำคัญที่สุดเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คือ การที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานเขตดุสิตจึงได้จัดทำโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการในสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่ผลิตอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักในสิทธิหน้าที่ของตนเองในการเลือกซื้ออาหารเพื่อรับประทานที่สะอาดและปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารที่มีการผลิตและจำหน่ายอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค
50070400/50070400
1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร สถานที่สะสมอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน ตลาด และแผงลอยจำหน่ายอาหาร 2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด 3. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการ และผู้สัมผัสอาหารของสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด
1. สถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด สามารถปฏิบัติถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร โดยได้รับการตรวจประเมินสุขลักษณะทุกแห่งที่มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร 2. สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่วางจำหน่ายในสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด (1) ตรวจหาสารพิษปนเปื้อนในอาหาร ประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระ ยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นทางเคมี (Test-Kit) จำนวน 2,550 ตัวอย่าง ต้องไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 100 ของตัวอย่างอาหาร ที่ตรวจวิเคราะห์ (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) จำนวน 1,500 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน คิดเป็นร้อยละ 95 ของตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์ 3. ผู้บริโภคได้รับการพิทักษ์สิทธิ์ในการเลือกซื้อกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ จากสถานประกอบการที่มีการจำหน่ายสินค้าประเภทกระเช้าของขวัญทุกแห่งในพื้นที่ 4. โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่ สามารถปฏิบัติถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยสามารถเป็นเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนระดับเขต ร่วมกับสำนักงานเขต จำนวน 46 แห่ง (1) ตรวจประเมินสภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนทุกแห่ง (2) ตรวจหาสารพิษปนเปื้อนในอาหาร ประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระ ยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นทางเคมี (Test-Kit) และตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหา เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) (3) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพนมโรงเรียนทางห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา (4) ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนระดับเขต จำนวน 2 ครั้ง/ปี (5) จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับอาสาสมัครอาหารปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ครั้ง/ปี 5. จัดกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 1 ครั้ง/ปี 6. ตรวจสอบและติดตามให้สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย มีการรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้การส่งเสริมรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (รายใหม่) ทุกราย
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๔ ประชาชนได้รับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วยขั้นวิกฤต% |
๑.๖.๔.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-28)
28/09/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 จำนวน 383 ราย จาก 402 ราย และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้มีสถานประกอบการปิดดำเนินกิจการ จำนวน 17 แห่ง และเลิกกิจการ จำนวน 2 แห่ง จึงทำให้เหลือสถานประกอบการอาหารทั้งหมด จำนวน 383 แห่ง ตรวจและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 383 ราย คิดเป็นร้อยละ 100, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 125 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 32.64
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-08-25)
25/08/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - สิงหาคม 2564 จำนวน 367 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 367 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.29, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 124 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 30.85
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-07-23)
23/07/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - กรกฎาคม 2564 จำนวน 298 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 298 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.13, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 86 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21.39
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-06-22)
22/06/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2564 จำนวน 298 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 298 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.13, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 86 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21.39
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2021-05-20)
20/05/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - พฤษภาคม 2564 จำนวน 275 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 275 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.41, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 64 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.92
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-04-20)
20/04/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - เมษายน 2564 จำนวน 242 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดี จำนวน 242 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.20, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 50 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 12.44
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-03-24)
24/03/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564 จำนวน 204 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดี จำนวน 204 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.75, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 45 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 11.19
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-02-25)
25/02/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 143 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดี จำนวน 143 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.57, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 24 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.97
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-22)
22/01/2564 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - มกราคม 2564 จำนวน 113 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดี จำนวน 113 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.11, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.49
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-12-28)
28/12/2563 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2563 จำนวน 81 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดี จำนวน 81 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.15, ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก (Green Service) จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.49
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-11-23)
23/11/2563 : ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2563 จำนวน 70 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดี จำนวน 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.41
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-10-27)
27/10/2563 : จัดทำโครงการและได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณเรียบร้อยแล้ว และดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหาร ในเดือนตุลาคม 2563 จำนวน 30 ราย จาก 402 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดี จำนวน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.46
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ 100 : 70
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **