ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวมลธิชา ทองจีน โทร 6470
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
กรุงเทพมหานคร มีนโยบายในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ระยะที่ 1 แต่ยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากตามรายงานสถิติการเฝ้าระวังโรคของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ยังคงพบว่า ประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเมื่อเทียบกับโรคทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ โดยในปี 2553 มีอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 702.21 คน/แสนประชากรหรือคิดเป็นจำนวน 40,036 ราย และอาหารเป็นพิษ จำนวน 3,798 ราย และพิจารณาย้อนหลังในระยะเวลาสิบปี พบว่า อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราตายและอัตราป่วยตายมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและเริ่มคงที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร ยังคงพบปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนด้วยโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารอยู่เสมอ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ประกอบการขาดความตระหนักในการเตรียม ประกอบ ปรุงและจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้ง ประชาชนยังขาดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แนวทางหนึ่งที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภคเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และที่สำคัญเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) คือ การที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานเขตพญาไท ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภค ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้จัดทำโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย” ประจำปีงบประมาณ 2560 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการในสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่ผลิตอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและตระหนักในสิทธิหน้าที่ของตนเองในการเลือกซื้ออาหารเพื่อรับประทานที่สะอาดและปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารที่มีการผลิตและจำหน่ายอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยกำหนดดำเนินงานในกิจกรรมที่ 1 เขตอาหารปลอดภัยภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
50080400/50080400
2.1 เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหารโรงอาหารในโรงเรียน ตลาด และแผงลอยจำหน่ายอาหาร 2.2 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่ผลิตอาหาร ประเภท สถานที่สะสมอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ตลาดสด โรงอาหารในโรงเรียนและสถานที่ราชการ 2.3 เพื่อเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจในด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการในสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่ผลิตอาหาร ประเภท สถานที่สะสมอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ตลาดสด โรงอาหารในโรงเรียนและสถานที่ราชการ 2.4 เพื่อประสานความร่วมมือและร่วมกำหนดทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยทั้งทางภาครัฐและเอกชน 2.5 เพื่อสร้างความมั่นใจและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัยต่อสุขภาพ
ตรวจสถานประกอบการในพื้นที่เขตพญาไทและปฏิบัติถูกต้องตามสุขลักษณะอย่างน้อยร้อยละ 100
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-25)
25/09/2563 : ดำเนินการตามแผน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-24)
24/09/2563 : ดำเนินกิจกรรมของโครงการในการสุ่มตรวจคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา การตรวจด้านกายภาพ การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารในสถานประกอบการอาหารทุกประเภท การตรวจประเมินด้านสุขาภิบาลอาหารและการสร้างเครือข่ายสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนทุกสังกัดในพื้นที่เขตพญาไท เพื่อการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารในพื้นที่พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2020-08-31)
31/8/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารตามแผนปฏิบัติงานตามโครงการฯ การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-07-30)
30/7/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน และสุ่มตรวจสถานประกอบการอาหาร ตามแผนปฏิบัติงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปี ๒๕๖๓
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2020-06-26)
26/6/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานโครงการ การสุ่มตรวจคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-05-26)
26/5/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนปฏิบัติการโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2020-04-27)
27/4/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการสุ่มตรวจคุณภาพอาหารตลาดและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-03-31)
31/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการสุ่มตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-02-26)
26/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย การสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-01-27)
27/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ การตรวจสุขลักษณะและคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2019-12-23)
23/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนปฏิบติการโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย การสุ่มตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหาร การตรวจสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน การเตรียมปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-11-20)
20/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ และจัดเตรียมเอกสารเบิกจ่ายงบประมาณแต่ละกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-10-30)
30/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนจัดเตรียมและส่งเอกสารเพื่อประกอบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรม การสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารตามแผนปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :-ผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร และขาดความตระหนักในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ -ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจและไม่ตระหนักถึงสิทธิของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **