ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางจิระวดี ก้อนด้วง โทร. 5972
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
ประเทศไทยนับเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในประเทศและผลิตเพื่อส่งออกเป็นสินค้าสำคัญหลายชนิดหลายประเภทด้วยกัน แต่ทั้งนี้ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาในด้านความไม่ปลอดภัยของอาหารที่ผลิตทั้งในเรื่องการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรค การตกค้างของสารเคมี สารปฏิชีวนะ สารพิษ ซึ่งเป็นอันตรายสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศ และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ เช่น จุลินทรีย์ชนิดก่อโรคทางเดินอาหาร เช่น Salmonella E.coli ส่วนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างนับเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งพบในผักส่วนใหญ่ ได้แก่ Carbofuran Carbosulfan Cypermethrin และ athamidophos อีกทั้งสารพิษ อะฟลาทอกซิน นับเป็นอันตรายสำคัญที่พบในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ และการใช้สาร ห้ามใช้บอแรกซ์ในเนื้อสัตว์บดและผลิตภัณฑ์ เช่น ลูกชิ้นปลา ไก่ หมู อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร และอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในกรุงเทพมหานครจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็ตามแต่เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยมีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานครสูงสุด สำนักงานเขตบางแค จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อก่อประโยชน์ต่อประชาชนพื้นที่เขตบางแค นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย
50400400/50400400
1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร 2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหารอย่างสม่ำเสมอและกรณีร้องเรียนด้านอาหารหรือกรณีฉุกเฉิน 3. เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และเป็นการเตรียมความพร้อมคุณภาพด้านอาหารรับการเปิดประตูสู่อาเซียน 4. เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชนผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย
1. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางแคสามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี โดยได้รับป้ายรับรองฯ คิดเป็นร้อยละ 100 2. จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test-kit) ไม่พบสารเคมีอันตราย 4 ชนิด คือ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว กรดซาลิซิลิค สารฟอร์มาลีน และพบการปนเปื้อน โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ไม่เกินร้อยละ 10
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-27)
27/09/2564 : ดำเนินการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารได้แก่ ร้านอาหาร 54 แห่ง มินิมาร์ท 44 แห่ง ตลาด 9 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต 5 แห่ง เพื่อขอป้ายอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 98.00 (2021-08-31)
ดำเนินการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารได้แก่ ร้านอาหาร 44 แห่ง มินิมาร์ท 43 แห่ง ตลาด 9 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต 5 แห่ง เพื่อขอป้ายอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2021-07-30)
30/07/2564 : ดำเนินการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารได้แก่ ร้านอาหาร 41 แห่ง มินิมาร์ท24 แห่ง เพื่อขอป้ายอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2021-06-29)
29/06/2564 : ดำเนินการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารได้แก่ ร้านอาหาร 41 แห่ง มินิมาร์ท24 แห่ง เพื่อขอป้ายอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-05-28)
28/05/2564 : ดำเนินการตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการอาหาร ได้แก่ ร้านอาหาร จำนวน 10 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 12 แห่ง และตลาด จำนวน 5 แห่ง เพื่อขอรับป้ายอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-04-30)
30/04/2564 : จัดซื้อตัวอย่างอาหารประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และจัดซื้อวัสดุเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกิจกรรมการ พัฒนาตลาดสะอาดมาตรฐานปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-03-23)
23/03/2564 : จัดซื้อตัวอย่างอาหารประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และจัดซื้อวัสดุเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดมาตรฐานปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-02-23)
23/02/2564 : จัดซื้อตัวอย่างอาหารประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-26)
26/01/2564 : รวบรวมเอกสารเพื่อจัดซื้อตัวอย่างอาหารประจำเดือนมกราคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : ดำเนินการจัดซื้อตัวอย่างอาหารเดือนธันวาคม 2563
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-11-24)
24/11/2563 : 1. ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว 2. ดำเนินการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นเงิน 4,000.- บาท
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-26)
26/10/2563 : ขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (2) ร้อยละความสำเร็จของสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี มีการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 20
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 97.1
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **