ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50450000-3220

สำนักงานเขตวังทองหลาง : (2564)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

อำพร ฤทธิ์ถาวร โทร 02-5140512

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

ด้วยกรุงเทพมหานครได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย กำหนดวิสัยทัศน์ “กรุงเทพจะเป็นเมืองอาหารปลอดภัย อาหารปลอดโรค ปลอดสารพิษ บริโภคอย่างมั่นใจ” มีแนวทางดำเนินการตามยุทธศาสตร์ คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเน้นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science based) และ การวางระบบการตรวจสอบและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของอาหาร การสร้างหลักประกันเพื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการเปิดระบบให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ผลลัพธ์ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักคือ ประชาชนมีสุขภาพดี บริโภคอาหารปลอดภัย โดยมีมาตรการป้องกัน เฝ้าระวังด้วยวิธีตรวจหาอาหารที่ปนเปื้อนโรคและสารพิษ พัฒนาคุณภาพระบบงานสุขาภิบาลอาหารให้ได้มาตรฐานสากล พัฒนากฎหมาย ข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครให้เหมาะสม และสร้างระบบบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง รวมทั้งพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยตามนโยบายของกรุงเทพมหานครมีความยั่งยืนและ เกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานครสูงสุด สำนักงานเขตวังทองหลางจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕64 ขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของเขตวังทองหลาง ทั้งนี้เพื่อก่อประโยชน์ต่อประชาชนชาววังทองหลาง นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้าพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย

50450400/50450400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ในสถานที่จำหน่ายอาหาร สะสมอาหาร และอาหารริมบาทวิถี 2. เพื่อตรวจสอบคุณภาพอาหาร กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและร้องเรียนด้านอาหาร 3 เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และวิสัยทัศน์ด้านอาหารปลอดภัยให้กว้างไกลและเหมาะสมกับสถานการณ์ และพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้เพื่อคุณภาพงานด้านอาหารปลอดภัย 4. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย 5. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

เป้าหมายของโครงการ

1. ร้อยละ 95 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ 2. เฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารที่วางจำหน่ายในสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร โดยเก็บตัวอย่างอาหารจากกลุ่มเป้าหมายคือ ตลาดสด ร้านอาหาร มินิมาร์ท และซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อตรวจวิเคราะห์ภาคสนาม 3. ตรวจสอบด้านสุขลักษณะทางกายภาพของกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 ตามหลักการสุขาภิบาลอาหารที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสถานที่จำหน่ายและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2545 อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย 5.ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-15)

100.00

15/09/2564 : - ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีเท่ากับร้อยละ 100 และมีการดำเนินการตรวจอาหารปลอดภัยของสถานประกอบการที่ไม่มีใบอนุญาตร้อยละ 87.50 - ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี ทั้งนี้ สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ จะได้ป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย - สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน 481 แห่ง ตรวจประเมิน 481 แห่ง - ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี 481 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2021-08-25)

95.00

25/08/2564 : 1. ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร จำนวน 53 แห่ง ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการขอป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครไปแล้ว 442 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 86

** ปัญหาของโครงการ :- สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทำให้ร้านอาหารบางส่วนปิดกิจการ ไม่สามารถเข้าตรวจด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารได้ ซึ่งอาจทำให้ตัวชี้วัดไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด - ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหาร จากสถานการณ์ดังกล่าวไม่สามารถจัดการอบรมได้

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-07-29)

80.00

29/07/2564 : 1. ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร จำนวน 61 แห่ง ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการขอป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครไปแล้ว 414 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84

** ปัญหาของโครงการ :-สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทำให้ร้านอาหารบางส่วนปิดกิจการ ไม่สามารถเข้าตรวจด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารได้ ซึ่งอาจทำให้ตัวชี้วัดไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด - ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหาร จากสถานการณ์ดังกล่าวไม่สามารถจัดการอบรมได้

** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-06-29)

70.00

29/06/2564 : 1. ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร จำนวน 25แห่ง ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการขอป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครไปแล้ว 360 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 70

** ปัญหาของโครงการ :-สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทำให้ร้านอาหารบางส่วนปิดกิจการ ไม่สามารถเข้าตรวจด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารได้ ซึ่งอาจทำให้ตัวชี้วัดไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด - ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหาร จากสถานการณ์ดังกล่าวไม่สามารถจัดการอบรมได้

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-05-31)

60.00

31/05/2564 : 1. ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร จำนวน 30 แห่ง ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการขอป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครไปแล้ว 296 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64

** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-

** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-04-29)

50.00

1. ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร จำนวน 65 แห่ง ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการขอป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครไปแล้ว 270 แห่ง คิดเป็นร้อยละ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-03-31)

40.00

1. ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร จำนวน 80 แห่ง ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการขอป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครไปแล้ว 205 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-02-25)

30.00

2/25/2021 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร จำนวน 64 แห่ง ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการขอป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครไปแล้ว 161 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 47

** ปัญหาของโครงการ :--ไม่มี-

** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-01-27)

20.00

1/27/2021 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. ตรวจแนะนำและส่งเสริมให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตลาด มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร จำนวน 30 แห่ง ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการขอป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครไปแล้ว 112 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 30

** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-

** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-12-30)

20.00

12/30/2020 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. ตรวจสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร มินิมาร์ท ตลาด จำนวน 70 แห่ง 2. ตรวจคุณภาพอาหารทางด้านเคมี และจุลชีววิทยา จำนวน 70 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-27)

10.00

27/11/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1.รวบรวมข้อมูลสถานประกอบการด้านอาหาร 2.ขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยในรายที่ผ่านเกฑณฑ์ 3.ตรวจสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร 4.ตรวจคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น ทางด้านเคมี

** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-

** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-29)

5.00

29/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ระหว่างขออนุมัติเงินงวดและรวบรวมข้อมูลสถานประกอบการอาหาร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:รวบรวมข้อมูลสถานประกอบการอาหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำแผนการตรวจสุขลักษณะทางกายภาพและด้านคุณภาพอาหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ดำเนินการตรวจสุขลักษณะทางภายภาพและด้านคุณภาพอาหาร
:50.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:สรุปผลการตรวจ
:20.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50450000-3220

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50450000-3220

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5045-859

ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 1.25

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
1.25

100 / 100
2
1.25

100 / 100
3
1.25

100 / 100
4
1.25

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **