รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องมือการสรรหา คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับงานและมีศักยภาพสูง : 0300-0799

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
0
0 / 0
4
0.00
0
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ไม่สามารถดำเนินการได้ในไตรมาสแรก เนื่องจากอยู่ระหว่างการสอบแข่งขันฯ ครั้งที่ 1/2563 (กำหนดการเดิมเสร็จสิ้นวันที่ 21 มกราคม 2564)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ได้รับอนุมัติที่ปรึกษาโครงการจำนวน 2 ท่าน จากปลัดกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 64 ตามหนังสือที่ กท 0302/407 ลงวันที่ 11 มีนาคม 64 ขณะนี้กำลังทำหนังสือเชิญที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ และจะได้เรียนปรึกษากับที่ปรึกษาโครงการทั้งสองท่านเพื่อดำเนินการตามโครงการต่อไป คาดว่าน่าจะจัดประชุมครั้งแรกได้ในเดือน เมษายน 2564

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ได้จัดประชุมทางออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Application Cisco Webex ไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 โดยไม่มีการเบิกค่าอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม ทั้ง 2 ครั้ง คาดว่าน่าจะดำเนินการได้ตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ได้นำกรอบทัศนคติสำหรับการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เสนอผู้บริหารสำนักงาน ก.ก. โดยหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ได้โปรดให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 และนำเสนอต่อ อ.ก.ก.วิสามัญเกี่ยวกับการสรรหา พัฒนาบุคลากร และการประเมิน ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 มีมติเห็นชอบ หลังจากนั้นได้นำเสนอ ก.ก. เพื่อทราบ ในการประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนเครื่องมือวัดและประเมินบุคคล ตามกรอบทัศนคติสำหรับการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ โดยวิพากย์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ได้เสร็จสิ้นแล้วเช่นเดียวกัน ทำให้ กรุงเทพมหานครมีเครื่องมือวัดและประเมินบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ก. กำหนด ซึ่งมีคุณภาพตามหลักวิชาการจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ชุด ภายในเดือนกันยายน 2564 ซึ่งเป็นไปตามตัวชี้วัดของโครงการเรียบร้อยแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องมือการสรรหา คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับงานและมีศักยภาพสูง ประกอบด้วย การปรับปรุงระบบการสรรหาให้เป็นการสรรหาเชิงรุกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้น ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการสรรหาและคัดเลือกให้มีความหลากหลายมากขึ้น สร้างและ แสวงหาเครื่องมือในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลให้มีความทันสมัย รวมทั้งการปรับปรุงหลักเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกบุคคลให้มีความเหมาะสมกับงาน และสอดคล้องกับบริบทของโลกเพื่อคัดสรรบุคคล ระยะยาว ได้แก่ การสร้างแบรนด์กรุงเทพมหานคร (BMA Branding) การพัฒนาให้เป็นองค์กรในฝัน Employer of Choice) และการสร้างความรู้สึกผูกพัน (Employee Engagement)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

มีเครื่องมือวัดและประเมินบุคคลที่มีคุณภาพด้านความเชื่อมั่น เที่ยงตรง ซึ่งสามารถคัดกรองบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกได้

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. เอกสารหลักฐานการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติสำหรับการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ 2. รายงานการนำเครื่องมือวัดและประเมินบุคคลวิพากษ์หารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ 3. หนังสือที่นำเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 4. รายงานการประชุม อ.ก.ก. วิสามัญที่เกี่ยวข้อง 5. รายงานการประชุม ก.ก. 6. มีเครื่องมือวัดและประเมินบุคคลที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมกับงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล%
:๗.๓.๒.๒ การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลและระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง