รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

3.3 ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ : 0401-0731

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
100
100 / 100
2
40.00
100
100 / 100
3
70.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

กองงานผู้ตรวจราชการได้จัดทำร่างแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของหน่วยงานให้หน่วยงานพิจารณาเพิ่มเติมหรือแก้ไขเพื่อจัดทำแบบสอบถามที่ใช้ประเมินแต่ละหน่วยงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

สลป.ทราบผลคะแนนการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการครั้งที่ 1 และเตรียมการดำเนินการปรับปรุงการให้บริการสำหรับครั้งที่ 2 ต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว (สลป.ได้รับทราบรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 แล้ว)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการบริการของหน่วยงานกรุงเทพมหานครหมายถึงการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการโดยตรง หรือข้าราชการและบุคลากรจากหน่วยงาน/ส่วนราชการทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร ที่หน่วยงานนั้นๆ ให้บริการ สำรวจครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น 1.ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ 2.ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ 3.ความพึงพอใจด้านการบริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ 4.ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5.ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของหน่วยงาน 6.ความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาของหน่วยงาน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

(ผลสำรวจความพึงพอใจฯ ครั้งที่ 1 + ผลสำรวจความพึงพอใจฯ ครั้งที่ 2) / จำนวนครั้งของการสำรวจความพึงพอใจฯ แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับคะแนน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

การดำเนินการ 1.ให้ทุกหน่วยงานให้บริการข้อมูลข่าวสารหรือบริการทั่วๆไปกับประชาชน หรือข้าราชการและบุคลากรของหน่วยงานหรือส่วนราชการทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร โดยต้องปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการทุกด้าน เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจสูงสุด 2.ผู้ประเมินทำการประเมินผลความพึงพอใจผู้รับบริการของหน่วยงานต่างๆ โดยอาจร่วมมือกับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก ตามกรอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดที่ 3.3 ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อนำเสนอคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการพิจารณา 3.แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการให้เป็นไปตามที่ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครกำหนด เอกสาร/ข้อมูล ให้หน่วยงานผู้รับการประเมินจัดเตรียมเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการของหน่วยงานนั้นๆ ไว้ที่หน่วยงานพร้อมให้ผู้ประเมินผลตรวจสอบหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการวิเคราะห์และประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล%
:๗.๓.๒.๒ การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลและระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง