ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในงานตรวจสอบภายใน โดยใช้แบบสำรวจที่เป็น QR Code เพื่อดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแนวทางที่กำหนด
วางแผนการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน จำนวน 6 ครั้ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดโครงการเสียงคนกรุง มุ่งสู่การพัฒนา (We Hear You) ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดที่มัสยิดอิดด์ฮาร์ดอูลูมูดีน สำนักงานเขตมีนบุรี และครั้งที่ 2 จัดที่สวนสาธารณะหน้าชุมชนซอยสวนเงิน สำนักงานเขตราชเทวี
ดำเนินการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนครั้งที่ 3 จัดที่ชุมชนบ่อนไก่ สำนักงานเขตปทุมวัน สำเร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากมีมาตรการป้องกันการจัดงานที่มีคนชุมนุมจำนวนมาก
งดการจัดกิจกรรม จำนวน 3 ครั้งที่เหลือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ เจ้าหน้าที่ของหน่วยรับตรวจ และประชาชน เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย แบบสำรวจ (QR Code) การประชุมกับผู้แทนจากกลุ่มเขต (6 กลุ่ม) และการประชุมปิดการตรวจสอบ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ
พิจารณาจากระดับความสำเร็จของการดำเนินการ ดังนี้ ระดับที่ 1 กำหนดแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในงานตรวจสอบภายในอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การสำรวจโดยใช้แบบสำรวจที่เป็น QR Code การประชุมกับผู้แทนจากกลุ่มเขต จำนวน 6 กลุ่ม ฯลฯ ระดับที่ 2 ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแนวทางที่กำหนด ระดับที่ 3 รวบรวมและสรุปข้อเสนอแนะที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระดับที่ 4 พิจารณาเลือกข้อเสนอแนะที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าวไปจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี พ.ศ. 2565 ระดับที่ 5 สำนักงานตรวจสอบภายในสามารถดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมได้ทันทีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
1. แบบสอบถามหรือแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2. รายงานสรุปผลการสํารวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3. รายงานสรุปผลการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นกับผู้แทนของ 6 กลุ่มเขต 4. แผนการตรวจสอบประจำปี พ.ศ. 2565 5. รายงานสรุปผลการดําเนินการตามข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ |
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ% |
:๗.๔.๑.๔ ปรับปรุงมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านการเงินการบัญชี และการตรวจสอบ |